Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorประวิตร กิตติชาญธีระ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2012-07-21T09:01:42Z-
dc.date.available2012-07-21T09:01:42Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21063-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดพลังงานไฟฟ้าของบ้านพักอาศัยด้วยการติดตั้งอุปกรณ์กันแดดแบบผนัง 2 ชั้น, ฉนวนกันความร้อน และกระจกอนุรักษ์พลังงาน เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการลดภาระการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศของบ้านพักอาศัยในเขตร้อนชื้น พร้อมเสนอแนวทางในการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์บังแดดแบบผนัง 2 ชั้น เพื่อป้องกันแสงแดดและความร้อนที่เข้าสู่ตัวอาคารโดยการปิดแผงกันแดดทึบสนิทในเวลากลางวันและยังสามารถเปิดรับอากาศและทัศนียภาพได้เต็มที่ในเวลากลางคืน ผลการวิเคราะห์การใช้พลังงานด้วยโปรแกรม VisualDOE 4.1 ชี้ให้เห็นว่ากรณีบ้านพักอาศัยที่มีสัดส่วนพื้นที่กระจกต่อพื้นที่ผนังมาก การติดตั้งแผงกันแดดที่มีค่าการบังแดดที่สูงจะเหมาะที่สุดทางเชิงเทคนิค เพราะการใช้พลังงานจะยิ่งลดลงมากขึ้นเมื่อ WWR มีค่าสูงขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับการใช้กระจกประสิทธิภาพสูงซึ่งค่าการใช้พลังงานจะสูงขึ้นตามพื้นที่กระจกที่เพิ่มขึ้น โดยผลการจำลองการติดตั้งแผงกันแดดเมื่อเทียบกับการใช้กระจก Double Low-E พบว่าการติดตั้งแผงกันแดดที่ 100% จะทำให้สามารถประหยัดพลังงานมากกว่าการใช้กระจก Double Low-E ถึง 38% และเมื่อจำลองการใช้แผงกันแดดที่ 60% ควบคู่ไปกับผนังที่มีฉนวนกันความร้อนพบว่าตั้งแต่ WWR50 – WWR100 นั้นจะมีการใช้พลังงานคงที่ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ว่า พื้นที่กระจกยิ่งมาก พื้นที่ผนังที่เป็นฉนวนยิ่งน้อยลง ซึ่งทำให้ค่า U-Value เฉลี่ยของอาคารเริ่มสูงขึ้น ซึ่งในความรู้ของผู้ออกแบบคิดว่าจะต้องสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น แต่ผลที่พบคือ ค่า U ที่สูงขึ้น กลับไม่มีผลต่อการใช้พลังงานที่มากขึ้นเลย ดังนั้นการใช้ผนังที่มีฉนวนหนา เพื่อลดค่า U-Value ของอาคารพักอาศัยในเขตร้อนชื้นจึงไม่จำเป็น และไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้องเสมอไป จากผลการวิเคราะห์การลงทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์ของการใช้แผงกันแดดเทียบกับการใช้กระจก Double Low-E พบว่าค่า Life Cycle Cost ของแผงกันแดดจะมีค่าน้อยกว่าการใช้กระจก Double Low-E เมื่ออาคารนั้นมีค่า WWR สูง (80% ขึ้นไป) อย่างไรก็ตาม ขนาดสัดส่วนของแผงกันแดดนั้นจะมีผลโดยตรงต่อการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าการใช้แผงกันแดดที่ 100% กับอาคารต้นแบบที่มีค่า WWR30 นั้นจะสามารถประหยัดค่าการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 17% แต่เมื่อพื้นที่กระจกมีค่าสูงถึง WWR100 นั้นจะสามารถประหยัดได้ถึง 49% ในการวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนพบว่า การใช้แผงกันแดดถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดซึ่งระยะเวลาการคืนทุนจะอยู่ที่ 17 ปี ซึ่งจะเร็วกว่าการใช้กระจก Double Low-E ถึง 6 ปี-
dc.description.abstractalternativeThe first purpose of this study was to compare the effectiveness of three materials in saving electricity. The three materials were a double-skin shading device, an insulation to prevent heat from coming into the building and energy-saving glass. The second was to reduce the workload of the air-conditioners in residences in a tropical climate, and the third was to design an appropriate double-skin shading device that can be extended to protect the building from the sun and retracted during the night. Based on the VisualDOE 4.1 program used to analyze the energy use, technically, this device with high level of shading would be highly recommended for a house in which the glass area is greater than the wall area. It was found that less energy was consumed with higher levels of shading. In contrast, even with very good glass, more energy was consumed with greater areas of glass. When the double-skin shading device was compared with the double Low-E glass, the device saved more energy than the glass by 38% when level of shading used was at 100%. When the device operated with a level of shading at 60% and used in conjunction with insulated walls and the range of WWR value was from 50 to 100, the consumption of energy was stable. It was assumed that when more glass was used, less insulated wall would be used; as a result, the average U-Value of the building would be higher, thus consuming more energy. However, in fact, the high value of U did not affect the high consumption of energy. Therefore, the use of thick insulated walls to reduce the U-Value is not necessary in the tropical climate and is not always a good option. In terms of investment, the life cycle cost of the device was less than that of the Double Low-E glass when the WWR value of the building was higher than 80%. However, the proportion of the area covered by the device directly affected the energy consumption. It can be concluded that when the level of shading provided by the device is at 100% in a building whose WWR value is 30, electricity consumption can be reduced by 17%. When the WWR value of the glass area reaches 100, the electricity savings can reach 49%. The pay-back period of the device is 17 years, which is 6 years faster than that of the Double Low-E glass; consequently, the device is a good alternative.-
dc.format.extent10653584 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์กันแดดแบบผนัง 2 ชั้น: กรณีศึกษาอาคารพักอาศัยในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeEnergy saving from double-skin shading devices of residential in Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAtch.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prawit_ki.pdf10.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.