Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21066
Title: การปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตซอส
Other Titles: Improvement of standard procedure in sauce manufacturing process
Authors: รังสิมา ธรรมวิริยานนท์
Advisors: ประเสริฐ อัครประถมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Prasert.A@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมกระบวนการผลิต
อุตสาหกรรมซอส
การกำหนดงานการผลิต
Process control
Sauce industry
Production scheduling
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปรับปรุงมาตรฐานในกระบวนการการผลิตซอส เพื่อให้สามารถลดรอบเวลามาตรฐานในการผลิต และควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานโดยคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ต่างจากเดิม เนื่องจากโรงงานนี้มีปัญหาคือ กระบวนการผลิตตามขั้นตอนมาตรฐานในปัจจุบัน ไม่สามารถรองรับความต้องการในการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นได้เพียงพอ แนวคิดและหลักการที่ใช้เพื่อการกำหนดปัญหาและการวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุง เพื่อลดเวลาในการผลิตในขั้นตอนเริ่มต้นคือ หลักการวิเคราะห์ความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ การพิจารณาโดยการตั้งคำถาม 5W 1H แนวทางการลดเวลาปฏิบัติการ ECRS และการวิเคราะห์โดยใช้แผนผังก้างปลาเพื่อหาสาเหตุความคลาดเคลื่อนของเวลาการผลิต หลังจากนั้นแนวทางการปรับปรุงที่วิเคราะห์มาขั้นต้น ได้ถูกทดสอบโดยหลักการออกแบบการทดลอง และการทดสอบสมมติฐานตามหลักสถิติในระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อเลือกแนวทางการปรับปรุงที่ไม่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ไปนำเสนอต่อฝ่ายโรงงานเพื่อปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิต หลังจากนั้นทดสอบกระบวนการทั้งหมดในระดับโรงงานจำลอง และระดับการผลิตจริงเพื่อยืนยันคุณภาพของผลิตภัณฑ์สุดท้าย โดยตรวจสอบการทำงานและเวลามาตรฐานของทั้งกระบวนการ ก่อนการปรับเปลี่ยนกระบวนการ เมื่อทดสอบในระดับการผลิตจริงพบว่า เวลาในขั้นตอนการผสมซอสเมื่อผลิต 2 หม้อผสมต่อวันสามารถลดเวลามาตรฐานลงได้จาก 15.2 ชั่วโมง เหลือเพียง 10.2 ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็นเวลาที่ลดได้เท่ากับ 33% และเวลาการบรรจุซอสเมื่อบรรจุ 2 หม้อผสมต่อวันสามารถลดเวลามาตรฐานลงได้จาก 11.3 ชั่วโมง เหลือเพียง 10 ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็นเวลาที่ลดได้เท่ากับ 12% ผลจากงานวิจัยนี้ ได้นำไปสร้างมาตรฐานวิธีการทำงานใหม่ใช้จริงในโรงงาน หลังจากเริ่มใช้กระบวนการมาตรฐานใหม่ในการผลิตจริง พบว่าความคลาดเคลื่อนของเวลาการทำงานลดลงซึ่งเกิดจากการติดตั้งระบบควบคุมการทำงานด้วยการมองเห็นและจากการปรับปรุงกระบวนการ นอกจากนี้กระบวนการมาตรฐานใหม่ยังส่งผลต่อการลดค่าใช้จ่ายคงที่และค่าแรงงานลงไปได้ 2.27 บาท/กิโลกรัม อีกทั้งช่วยลดปริมาณของเสียในกระบวนการผลิตด้วย
Other Abstract: To improve standard procedure in sauce manufacturing aiming at reducing and controlling the standard time and quality of finish product is not affected. The initial problem of this factory is, procedure at present cannot afford for higher demand, so the theory of 7 wastes, 5W 1H, ECRS and cause and effect diagram were used in the brainstorming process to analyze ways to reduce standard time and cause of production time variation. Then, the improving directions were checked possibility by design of experiment and hypothesis testing method in laboratory process. The directions that not affect to finished product quality were proposed to factory management for development. All concluded improving direction were finally tested and verified quality of finished product, practical operation and actual standard time in actual production. From testing result in actual production, the standard time in bulk process 2 batches per day reduced from 15.2 hours to 10.2 hours which is equal to 33%. Standard time in packing process 2 batches per day reduced from 11.3 hours to 10.0 hours which is equal to 12%. The result from this study was used to establish new standard procedure. Result after implementation found that the variation of working time significantly reduced due to utilization of visual control system and process improvement. Moreover, the fixed cost and labor cost decreased by 2.27 baht/kg and loss in process also decreased.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21066
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rangsima_tu.pdf16.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.