Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์-
dc.contributor.authorปราณี นิลเหม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
dc.date.accessioned2012-07-22T14:26:54Z-
dc.date.available2012-07-22T14:26:54Z-
dc.date.issued2525-
dc.identifier.isbn9745609323-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21100-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาครูเกี่ยวกับโปรแกรมสังคมศึกษาระดับปริญญาตรี ในด้านจุดมุ่งหมายของวิชาสังคมศึกษา เนื้อหาวิชาและเวลาที่กำหนดในหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการสอนโดยเป็นครูประจำการแล้วกับนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับหลักสูตรวิชาสังคมศึกษา ระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกวิทยาลัยครู 7 แห่ง จากจำนวนทั้งหมด 8 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดสอนวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาเอก ส่วนแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองไปยังนักศึกษาที่มีประสบการณ์ในการสอนโดยเป็นครูประจำการแล้ว จำนวน 140 คน และนักศึกษาที่ไม่มีประสบการณ์ในการสอนจำนวน 140 คน ในวิทยาลัยครู 7 แห่ง ซึ่งคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) นักศึกษาทั้ง 2 ประเภทนี้เลือกวิชาสังคมศึกษาเป็นวิชาเอก แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมีจำนวน 247 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.21 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ( x ̅ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที่ (t – test) และนำเสนอในรูปตารางและอธิบายประกอบ ผลการวิจัย นักศึกษาทั้งสองประเภทได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโปรแกรมสังคมศึกษาระดับปริญญาตรีในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. จุดมุ่งหมายของวิชาสังคมศึกษา นักศึกษาทั้งสองประเภทแสดงความคิดเห็นในระดับมากเกี่ยวกับความชัดเจนและความเหมาะสมของจุดมุ่งหมายที่ระบุใช้ในหลักสูตร แต่มีความคิดเห็นระดับน้อยเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน 2. เนื้อหาวิชาและเวลาที่กำหนดในหลักสูตร นักศึกษาทั้งสองประเภทแสดงความคิดเห็นในระดับมากเกี่ยวกับเรื่องต่อไปนี้คือ เนื้อหาวิชาให้ความรู้และทักษะที่เป็นพื้นฐานในการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ช่วยให้เข้าใจบทบาทของสมาชิกที่ดีในสังคม และเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา วิชาที่เหมาะสมเป็นวิชาบังคับได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายสำหรับประชาชน เศรษฐกิจประเทศไทยและปัญหาสังคมไทย แต่ความคิดเห็นในระดับน้อยเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นและความสมดุลย์ของเนื้อหาวิชากับเวลาเรียน 3. กระบวนการเรียนการสอน นักศึกษาทั้งสองประเภทแสดงความคิดเห็นในระดับมากเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน และทักษะในการค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งวิทยาการ วิธีการสอนส่วนใหญ่เป็นการบรรยาย เน้นภาคทฤษฏีมากกว่าภาคปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอนมุ่งพัฒนาความรู้ความจำ การมองโลกในแง่ดีการมีมนุษย์สัมพันธ์ แต่มีความคิดเห็นในระดับน้อยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนเหล่านี้คือ การเชิญวิทยากรมาบรรยาย การใช้ชุดการสอน การจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรการศึกษานอกสถานที่และการใช้บทบาทสมมุติ 4. วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน นักศึกษาทั้งสองประเภท แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับในระดับความต้องการเอกสารในการค้นคว้า แต่มีความคิดเห็นในระดับน้อยเกี่ยวกับอาจารย์ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การนำโสตทัศนูปกรณ์และสื่อการสอนมาใช้ได้แก่ภาพยนตร์ ฟิล์มสตริป สไลด์ ภาพถ่ายทางอากาศ กราฟสถิติ หุ่นจำลอง ของจริง โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะแหล่งความรู้และวิทยากรในท้องถิ่น และวัสดุอุปกรณ์นำมาใช้มากได้แก่ แผนที่ แผนภูมิ และรูปภาพ 5. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน นักศึกษาทั้งสองประเภทแสดงความคิดเห็นในระดับมากเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลจากการทำรายงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม การค้นคว้า อภิปราย การทดสอบกลางภาค และปลายภาคโดยใช้วิธีวัดแบบอิงกลุ่ม ข้อสอบวัดในด้านความรู้ความจำใช้แบบทดสอบแบบปรนัยที่ครอบคลุมเนื้อหาครบแต่มีความคิดเห็นในระดับน้อยเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล จากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการพัฒนาเจตคติ ความสนใจ และบุคลิกภาพทั่วไปของผู้เรียน เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาทั้งสองประเภท ปรากฏว่าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของวิชาสังคมศึกษา เนื้อหาวิชา และเวลาที่กำหนดในหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน นักศึกษาทั้งสองประเภทส่วนใหญ่มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05-
dc.description.abstractalternativePurposes: The purposes of this research were 1. to study the student teachers' opinions concerning in the undergraduate social studies programs in teachers colleges on the objectives, content and time allotment, process of instruction, instructional materials and evaluation procedures. 2. to compare the opinions concerning the undergraduate social studies programs of the student teachers with teaching experience and without teaching experience from the northeastern teachers' colleges. Procedures: The researcher selected seven from eight teachers colleges in the northeastern region which offer social studies as a major subject. A set of questionnaires constructed by the researcher was sent to 140 student teachers of the inservice education program and 140 unexperienced ones chosen by simple random sampling. Two hundred and forty seven questionnaires were sent back. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, t - test and presented in tables with explanation. Conclusions: Both groups of student teachers expressed their opinions concerning five aspects of the social studies programs as follows: 1. Objectives: Both groups of student teachers agreed at high level about the definite and proper statements of the objectives but they agreed at low level for their daily life application. 2. Content and time allotment: Both groups of student teachers agreed at high level concerning the following aspects; the accuracy of content in providing them basic knowledge and study skills, roles of good member in society, and good attitudes in teaching social studies. Courses that should be compulsory as suggested by both groups were Constitution and Public Law, Thai Economics and Thai Social Problems. They agreed at low level about the relationship and application of the centent to the needs, and the proper time alloment. 3. Process of Instruction: It appeared that both groups of the samples expressed their opinions at high level that they could often participate in instructional activities and they could develop skills in extra study from community resources. The teaching methods were mostly lectures, emphasizing theories rather than applications. They also stressed memory development and human relationships. Both groups of student teachers showed low degree of opinions concerning the following aspects; resource persons, using instructional package, extra curricula activities, field trips and role. playing. 4. Instructional Materials: Both groups of student teachers agreed at high level about the needs for educational materials and supplementary but at low level about the opportunity to use audio visual materials e.g. film, filmstrip, slide, photodrammetry, statistical graph model, specimens, radio, television, tape recorder, overhead projector, the educational resource and resources persons in the community. Map, chart, and picture were also frequently used. 5. Evaluation Procedure: Both groups of student teachers expressed high level of opinions about evaluation techniques; individual or group report, supplementary reading, discussion, formative test, summative test, and norm referenced evaluation. Objective type tests were utilized for evaluating content mem orization. They showed low degree of opinions about technique of observation behavioral changes, attitudes develop¬ment, students interests and personality development. To compare the opinions concerning five aspects of curriculum previously mentioned both groups of student teachers expressed indifferent opinions significantly at 0.05 level.-
dc.format.extent481938 bytes-
dc.format.extent565179 bytes-
dc.format.extent1444132 bytes-
dc.format.extent360703 bytes-
dc.format.extent1514292 bytes-
dc.format.extent883429 bytes-
dc.format.extent979372 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสังคมศึกษา -- หลักสูตรen
dc.subjectสังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleความคิดเห็นของนักศึกษาครูเกี่ยวกับโปรแกรมสังคมศึกษาระดับปริญญาตรี ในวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือen
dc.title.alternativeStudent-teachers' opinions concerning undergraduate social studies programs in teachers colleges in the Northeastern Provincesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมัธยมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_Ni_front.pdf470.64 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ni_ch1.pdf551.93 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ni_ch2.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ni_ch3.pdf352.25 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ni_ch4.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ni_ch5.pdf862.72 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_Ni_back.pdf956.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.