Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21103
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระพงษ์ บุญโญภาส | - |
dc.contributor.advisor | มุรธา วัฒนะชีวะกุล | - |
dc.contributor.author | ปรานี เสฐจินตนิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-22T14:38:55Z | - |
dc.date.available | 2012-07-22T14:38:55Z | - |
dc.date.issued | 2528 | - |
dc.identifier.isbn | 9745646423 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21103 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | เมื่อมีการกระทำของบุคคลเกิดขึ้นอาจมีผลมากมายจนเหลือวิสัยจะนับได้และถ้าจะค้นคว้าสืบสาวหาผลทั้งหมดที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมต้องใช้ความเพียรและเวลาไม่มีที่สิ้นสุด กฎหมายประสงค์จะรักษาผลประโยชน์ของคนด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุดผู้ที่ต้องเสียประโยชน์กฎหมายก็ให้สิทธิ ผู้ที่ทำให้เสียประโยชน์ก็บังคับให้มีหน้าที่ต่อผู้ที่ตนทำให้เสียประโยชน์ แต่เห็นได้ว่าไม่เป็นการยุติธรรมที่จะให้คนหนึ่งต้องรับผิดในผลทุกอย่างอันพึงเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของตน จำต้องจำกัดผลแต่เท่าที่เห็นว่าเป็นการสมควรจะเอาผิดแก่ผู้กระทำได้ โดยเฉพาะเมื่อเป็นการกระทำความผิดอาญาซึ่งทำให้บุคคลต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำนั้นด้วยแล้ว จึงจะต้องมีการค้นหาสาเหตุแห่งผลนั้น และจะต้องพิจารณาด้วยว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างการกระทำและผลนั้นหรือไม่ การบังคับโทษแก่บุคคลจะต้องเป็นการลงโทษเฉพาะบุคคลที่จะต้องรับผิดชอบในผลอันเนื่องมาจากกระทำของเขาเท่านั้น ผู้กระทำไม่ต้องรับผิดในผลที่เกิด โดยไม่มีความสัมพันธ์หรือห่างไกลจากการกระทำของเขา ทั้งนี้มีทฤษฏีที่สำคัญและนำมาใช้มากที่สุดในการวินิจฉัยคดี คือ 1. ทฤษฏีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฏีเงื่อนไข มีหลักอยู่ว่า แม้ผลที่เกิดขึ้นจะเกิดจากเหตุหลายเหตุ ถ้าเหตุหนึ่งเกิดจากการกระทำของจำเลย จำเลยจะต้องรับผิดในผล คือ ความตาย บาดเจ็บ ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่างๆ นั้น ไม่ว่าความเสียหายจะมีมากเพียงใด เพราะถ้าไม่มีการกระทำของจำเลย ผลเสียหายเช่นนั้นย่อมจะไม่เกิดขึ้น ทฤษฏีนี้มีข้อดีที่เป็นหลักตรงกับความจริงตามธรรมชาติ ซึ่งทำให้วินิจฉัยได้ง่ายว่าผลเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยหรือไม่ โดยพิจารณาแต่เพียงว่า ถ้าไม่มีการกระทำของจำเลยจะเกิดผลขึ้นเช่นนั้นหรือไม่ ถ้าตอบว่าไม่เกิดก็แสดงว่าผลเกิดจากการกระทำของจำเลย 2. ทฤษฏีมูลเหตุเหมาะสม มีหลักอยู่ว่า บรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลเสียหายนั้น ผู้กระทำจะต้องรับผิดเฉพาะเหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้น ความเสียหายนอกเหนือจากนั้น แม้จะเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยจำเลยไม่ต้องรับผิด ทฤษฏีนี้เทียบได้กับมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าผลของการกระทำความผิดใดทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น ผลของการกระทำความผิดนั้นต้องเป็นผลที่ตามธรรมดาย่อมเกิดขึ้นได้” การใช้ทฤษฏีร่วมกัน ทฤษฏีทั้งสองทฤษฏีดังกล่าวข้างต้นต่างมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือ ทฤษฏีความเท่ากันแห่งเหตุประโยชน์แก่ผู้เสียหายมากกว่าทฤษฏีมูลเหตุเหมาะสม แต่ก็อาจทำให้จำเลยต้องรับผิดมากเกินไปโดยไม่มีขอบเขตจำกัดดังนั้น จึงมีการนำหลักจากสองทฤษฏีมาใช้ร่วมกัน โดยนำทฤษฏีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฏีเงื่อนไขมาใช้ในตอนต้นแล้วนำทฤษฏีมูลเหตุเหมาะสมมาใช้ในตอนปลายกล่าวคือ จะดูผลที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องๆ ว่าผลต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุแรกเหตุเดียวหรือมีเหตุอื่นแทรกซ้อนเข้าไปด้วย ถ้าปรากฏว่ามีเหตุอื่นแทรกซ้อนจนกระทั่งเหตุแรกหมดความสำคัญลง เช่นนี้ถือว่า ผลที่เกิดขึ้นต่อๆ ไปนั้น ผู้ก่อเหตุแรกไม่ต้องรับผิดชอบ คงรับผิดเพียงเฉพาะเหตุที่ตนเป็นผู้ก่อขึ้นเท่านั้น โดยถือว่าความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำกับผลของการกระทำ หรือความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลขาดตอนลง หลักที่ใช้ในศาลไทย พอสรุปได้จากแนววินิจฉัยของศาลฎีกาได้ว่า ความตายหรือความเสียหายต้องเป็นผลโดยตรงของการกระทำ ต้องไม่ไกลกว่าเหตุ ที่ว่าเป็นผลโดยตรงของการกระทำ หมายถึง หลักตามทฤษฏีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฏีเงื่อนไขส่วนที่ว่าไม่ไกลกว่าเหตุ หมายความว่า ไม่มีเหตุแทรกซ้อนหรือเหตุแทรกแซงอื่นมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลขาดตอนลง ทฤษฏีเหมาะสมและทฤษฏีเงื่อนไขนี้ เป็นทฤษฏีที่มีการนำมาใช้มากที่สุดในการวินิจฉัยคดี ตามหลักในกฎหมายอาญาแล้วมีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ มาตรา 63 ซึ่งเทียบได้กับเรื่องของทฤษฏีมูลเหตุเหมาะสมว่า การกระทำของผู้กระทำเป็นผลธรรมดาที่เกิดจากการกระทำหรือไม่ต้องแยกมองเป็น 2 นัย กล่าวคือ 1. ในแง่อัตวิสัย (subjective) คือ การดูว่าผู้กระทำสามารถอาจเห็นผลได้หรือไม่ หากไม่สามารถจะเล็งเห็นได้ก็ไม่ใช่ผลธรรมดา แต่การคิดเช่นนี้อาจกลายเป็นการกระทำโดยเจตนาได้ เพราะเป็นการกระทำโดยรู้ข้อเท็จจริงว่าจะเกิดผลอย่างใดขึ้น และเมื่อผู้กระทำรู้ถึงข้อบกพร่องของผู้ตายแล้วยังขืนทำลงบุคคลโดยทั่วๆ ไป ก็ย่อมเห็นได้ว่าเป็นผลธรรมดาที่เกิดได้จากการกระทำแก่บุคคลที่อยู่ในสภาพเช่นนั้น 2. ในแง่ภาวะวิสัย (objective) กล่าวคือ ผู้กระทำอาจมองไม่เห็นว่าการกระทำของตนจะส่งผลเช่นใด แต่ผู้กระทำควรจะทราบได้ การวินิจฉัยเช่นนี้ต้องอาศัยความนึกคิดของบุคคลที่มีความรู้และความจัดเจนแห่งชีวิตปานกลาง ที่เรียกว่าวิญญูชนเป็นหลักว่า นอกจากพฤติกรรมที่ผู้กระทำได้รู้จริงๆ แล้ว ยังควรรู้ถึงพฤติการณ์อันใดอีกบ้าง และพฤติการณ์ที่ควรรู้เช่นนั้นผลที่เป็นปกติควรเป็นอย่างที่เกิดขึ้นหรือไม่การเห็นผลดังกล่าวนี้จึงตรงกับหลักในมาตรา 63 หมายถึง เป็นการพิจารณาในแง่ของการกระทำว่า การกระทำนั้นๆ ได้ก่อให้เกิดผลเช่นนั้นมาหลายครั้งแล้ว จนกระทั่งผู้กระทำเองหรือบุคคลโดยทั่วๆ ไปที่วิญญูชนค่อนข้างแน่ใจได้ว่า ถ้ามีการกระทำเช่นนั้นอีกก็จะมีผลอย่างนั้นเกิดขึ้นอีก อันเป็นการคาดเห็นได้ ตามความรู้โดยปกติของบุคคลทั่วๆ ไป เหตุที่ผู้กระทำกระทำลงจะเหมาะสมกับผลที่เกิดขึ้นหรือไม่ ตามทฤษฎีเหตุที่เหมาะสม กล่าวคือ ถ้าวิญญูชนหรือบุคคลทั่วๆ ไป สามารถคาดเห็นได้จึงสมควรลงโทษผู้กระทำในผลที่เขาก่อขึ้นนั้นเอง ฉะนั้น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลเป็นเรื่องมีรายละเอียดแนวความคิด เนื้อหาสาระมาก จึงไม่ใช้เรื่องที่จะให้กระทำได้โดยการบัญญัติเป็นกฎหมายให้กะทัดรัดตามลักษณะของประมวลกฎหมาย และเป็นเรื่องที่หาข้อยุติแน่นอนไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไป สิ่งที่นับว่าสำคัญที่สุดสำหรับผู้ศึกษาค้นคว้ากฎหมาย ผู้ใช้กฎหมายจะกระทำเพื่อให้เป็นมาตรการทางกฎหมายในการกำหนดขอบเขตความรับผิดทางอาญาได้ ก็คือการนำแนวความคิดทฤษฎีต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสมกับเรื่อง และกำหนดตัวผู้ที่ต้องรับผิดชอบในผลเสียหายที่เกิดขึ้นให้ได้ทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล จึงมีขึ้นเพื่อพิจารณาผลของการกระทำให้เกิดความสมดุลในความรับผิดชอบของบุคคล กับความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ให้กว้างหรือแคบเกินไป จนผู้กระทำหลุดพ้นความรับผิดไปหมด | - |
dc.description.abstractalternative | When there is action it may consist of various consequences and if someone wishes to know their causes it will take both effort and time. As the matter of fact the nature of law is to protect every persons as much as possible and if he is aggrieved he can have his remedy by the law against the culprit. But it can be said that liability for all consequences are unjustice because it should be limited only specific consequence especially in criminal liability and causation in such offence is very necessary. However, a person shall be punished for any act done by him if he has responsibility in his consequence. In contrary he shall not be punished if there is no causation or it is remote cause. There are two substantial theories of causation involved they are. 1.Theory of equivalence of causes or theory of conditional factors - the principle of this theory is that if there are various consequences difference cause of actions and one of them is really defendant's action, the defendant in such case will have liability on the death, injury or damage that occured because if there is no such action from the defendant there will not have that consequence or "causa sine qua non" This theory has simple rule according to "law of nature" which can be easily used and only defendant's consequence is needed to consider the guilt. 2. Theory of adequate cause - the principle of this theory is that among various causes which produce consequences the defendant should have liability on such cause of ordinary consequence. Other causes even if they are direct cause the performer will not have liability. This theory can be compared with Section 63 of the Thai Penal Code which stated that "If the consequence of the commission of any offence causes the offender to recieve graver punishment such consequence must be that which may ordinarily occur" The combination of two theories - the said two theories have both good and weak points because "theory of equivalence of causes" gives more benefit to the injured person than "theory of adequate cause" but the former male more liability to the defendant than the latter. So it is better to combine these two theories by useing "the theory of conditional factors" at the beginning of the case and use "the theory of adequate cause" finally. The problem of using these two theories together is first of all it will have to consider whether the consequence is the direct cause of the action and if there is any intervening cause which reduces the power of the first action, in this case the first performer will not have liability for such consequence or we can held that there is no causation in this situation. Following to the Thai court, it can assume from the decisions of the Supreme Court that the consequence must be the direct cause of the action and it must not be the remote cause. The meaning of "direct cause" Which explained by the Supreme Court is that there will not have intervening cause in the action and consequence for that cause of action. Both theories are mostly used in the decision of Thai court and Section 63 of the Thai Penal Code can be compared with theory of adequate cause. To point out the consequence whether it may ordinarily occur in two different aspects they are ; (1) In the mean of "subjective" - it will have to consider that whether the performer contemplate for such action if not it does not ordinarily occur but it usually confuses with "intent" in criminal liability. (2) In the mean of "objective" the performer of action may not contemplate to his action for consequence but he should expect it. To judge this action we must held the opinion of 'the reasonable person in that situation. Such expectation can apply with Section 63 of the Thai Penal Code which means that reasonable person can realize whether it is adequate cause of action if it is so the performer must have liability on it. Therefore, the cause of action and consequence processes many points of view so it is impossible to enact law in every subjects. The most important for all lawyers in finding the measure to limit the scope of criminal liability is to use the right theory for the right criminal liability. | - |
dc.format.extent | 482409 bytes | - |
dc.format.extent | 319278 bytes | - |
dc.format.extent | 1159925 bytes | - |
dc.format.extent | 1427155 bytes | - |
dc.format.extent | 1461721 bytes | - |
dc.format.extent | 906769 bytes | - |
dc.format.extent | 695788 bytes | - |
dc.format.extent | 281011 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เจตนา | en |
dc.subject | ความผิดทางอาญา | en |
dc.subject | กฎหมายอาญา | en |
dc.title | ผลของการกระทำและความรับผิดในทางอาญา | en |
dc.title.alternative | Actions and consequence in criminal law | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pranee_Se_front.pdf | 471.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_ch1.pdf | 311.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_ch2.pdf | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_ch3.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_ch4.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_ch5.pdf | 885.52 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_ch6.pdf | 679.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pranee_Se_back.pdf | 274.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.