Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21128
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยชัย วุฒิโฆสิต-
dc.contributor.advisorปรีชญา สิทธิพันธุ์-
dc.contributor.advisorพรพรหม แม้นนนทรัตน์-
dc.contributor.authorอัศนีย์ วัฒนศิลป์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-23T14:41:08Z-
dc.date.available2012-07-23T14:41:08Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21128-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractในสังคมโลกปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านสังคม วัฒนธรรมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการค้าและการบริการในศรษฐกิจโลก ประเทศต่างๆมีการพัฒนาบทบาทเชิงการค้าและบริการอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยมีความจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของเพิ่มมากขึ้น ซึ่งงานสถาปัตยกรรมถือเป็นวิชาชีพที่ให้การบริการ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาและเตรียมความพร้อมสำหรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การปรับปรุงการรับรองปริญญาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างมาตรฐานการศึกษาสถาปัตยกรรม เป็นการสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่สถาบันการศึกษาและบุคลากรที่จะเป็นสถาปนิก ให้มีความสามารถในแข่งขันระดับสากลได้ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการการศึกษาสถาปัตยกรรมของไทย ศึกษาองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาสถาปัตยกรรม ร่วมถึงศึกษาข้อบ่งชี้ ข้อเด่นและข้อด้อยของการศึกษาสถาปัตยกรรมของประเทศไทยและนานาชาติ โดยศึกษาข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์อนุกรรมการสภาสถาปนิก สถาบันการศึกษา และสำนักงานสถาปนิก ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาสถาปัตยกรรมทั้งของไทยและนานาชาติ เลือกกรณีศึกษา คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรอังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ จากการศึกษาพบว่าการควบคุมคุณภาพของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ของประเทศไทยและนานาชาติ สามารถแบ่งโครงสร้างได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นการควบคุมคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และส่วนที่สองเป็นการควบคุมคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพสถาปัตยกรรม และมีปัจจัยในการรับรองหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ทั้งของประเทศไทยและนานาชาติ ประกอบด้วย 1)องค์กรหรือหน่วยงานที่จัดการดูแลกระบวนการให้การรับรอง 2)ระยะเวลาในการศึกษา 3)การกำหนดหน่วยกิตแต่ละหมวดวิชาที่เรียน 4)การกำหนดขอบเขตหมวดวิชาในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5)กระบวนการรับรองและตรวจเยี่ยมหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงสรุปได้ว่า การศึกษาสถาปัตยกรรมในประเทศไทยมีความแตกต่างกับนานาชาติ ด้านการจัดการขององค์กรที่กำกับดูแลรับผิดชอบ และการกำหนดหลักเกณฑ์การรับรองตรวจเยี่ยมหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมทั้งยังมีปัจจัยด้านต่างๆ ที่จะให้หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1)การให้ความสำคัญในการประสานความร่วมมือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษาสถาปัตยกรรมอย่างจริงจัง 2)การพิจารณาปรับปรุงกระบวนการรับรองหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3)การศึกษาปัจจัยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประเมินคุณภาพของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ หากสามารถพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม จะเป็นการสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งในการพัฒนาหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีในการก้าวสู่วิชาชีพสถาปัตยกรรมของไทยและระดับสากลต่อไปen
dc.description.abstractalternativePresently, present our world is under rapid economic development and change especially in trade and services. The world’s economy is open for all free countries to compete in the wide free trade arena. With new markets opening everywhere, countries are coping with their development in trade and services very quickly, forcing Thailand to improve its efficiency and competing abilities. The architectural profession is important to the construction sector of the economy and with the liberalized trade philosophy and widening of services, it has come up against more competition from various countries, making the development in practicing careers for the development of expertise in career personnel becomes more vital and inevitable. The improvement of the certification of the bachelor programs will play a part in raising architectural standards by boosting the production of personnel in society through efficient and quality education. This is deemed a firm step to bring education institutions and personnel in line with international standards. This research has the objective to analyze the development of Thai architectural education. It was found from the study that the course quality control of architectural education in Thailand and international community can be divided into 2 parts, the first part deals with the education control at the higher education level and the second part deals with the control of the architectural profession. It was found that each country has its own system regarding the standards and requirements of certifying architecture programs which differ among countries, depending on social context, economy and culture. The study found that the factors involving the certification of architecture programs in of Thailand and other countries comprises of 1) organization or supervising body in the process of certification, 2) period of course, 3) imposing of credits in each subject, 4) imposing of scope of category of subjects in architecture programs, 5) certification process and visiting of courses conducted in Thailand.en
dc.format.extent2030848 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.869-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสถาปัตยกรรมศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen
dc.subjectสถาปนิกen
dc.titleการเปรียบเทียบการรับรองปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิตเพื่อเข้าสู่วิชาชีพระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติen
dc.title.alternativeA comparative study of professional degree programs: differences in accreditation of bachelor of architecture programs between Thailand and the international communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorPreechaya.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPornprom.M@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.869-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
assanee_wa.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.