Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21141
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอก ตั้งทรัพย์วัฒนา-
dc.contributor.authorจารุวรรณ แก้วมะโน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-25T16:24:18Z-
dc.date.available2012-07-25T16:24:18Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21141-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองของ "ชาวบ้าน" ที่เชื่อกันว่ายังมีอัตราต่ำและไม่ค่อยมีประสิทธิภาพว่าเป็นเพราะอะไร โดยเห็นว่าแนวคิดวัฒนธรรมทางการเมืองมีข้อจำกัดจึงนำแนวคิดเรื่องตัวตนและอำนาจ (the subject & power) ของ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) มาเป็นแนวทางศึกษาร่วมกับแนวคิดเรื่องอำนาจ 3 มิติ โดยมีสมมุติฐานว่ารัฐประกอบสร้างตัวตนและความหมายของคำว่า "ชาวบ้าน" ในเชิงด้อยศักยภาพขึ้น เพื่อก่อร่างสำนึกความด้อยศักยภาพทางการเมืองให้แก่ชาวบ้าน ชาวบ้านจึงมีพฤติกรรมจำกัดบทบาทของตนเองในการมีส่วนร่วมทางการเมือง นอกจากการศึกษาเอกสาร(documentary research)แล้ว งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง(semi-structured interview)ในพื้นที่ชนบทจังหวัดลำปางและพื้นที่เมืองกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกัน เพื่อให้ทราบว่าผลลัพธ์ของปฏิบัติการในการประกอบสร้างตัวตนของ "ชาวบ้าน" ในสองพื้นที่นี้ แตกต่างกันหรือไม่อย่างไร ในแง่ของการรับรู้ตนเองในเชิงด้อยศักยภาพ และของพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของชาวบ้าน ผลจากการศึกษาพบว่า มีสหสัมพันธ์กันระหว่างการประกอบสร้างตัวตนของชาวบ้านกับความรู้สึกด้อยศักยภาพและการจำกัดตนเองในการมีส่วนร่วมทางการเมือง กระนั้น สหสัมพันธ์ดังกล่าวก็ไม่ได้ปรากฏอยู่อย่างสม่ำเสมอ กล่าวคือ ไม่จำเป็นเสมอไปที่ชาวบ้านจะต้องรู้สึกด้อยศักยภาพ หรือจำกัดตนเองอันเนื่องมาจากความรู้สึกดังกล่าว เพราะการแสดงพฤติกรรมยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆเข้ามาเป็นตัวคั่นกลางระหว่างการรับรู้กับพฤติกรรมด้วย ขณะเดียวกันก็พบว่าชาวบ้านมีพฤติกรรมท้าทายอำนาจรัฐในหลายรูปแบบ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าชาวบ้านไม่ใช่ฝ่ายที่ถูกรัฐกระทำอยู่ฝ่ายเดียว พวกเขามียุทธวิธีในการตอบโต้รัฐด้วย แต่ก็มิได้หมายความว่าชาวบ้านไม่มีพฤติกรรมจำกัดตนเองในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เพียงแต่รูปแบบในการจำกัดตนเองนั้นมีความซับซ้อนen
dc.description.abstractalternativeThis study sought to explain the supposedly low level and ineffectiveness of political participation of 'Chaoban' (ordinary people) in Thailand. Deeming political cultural explanations to be inadequate, it made use of Michel Foucault's concept of 'the Subject and Power' together with the concept of three faces of power in doing so. The hypothesis was that the state constructed the meaning of 'Chaoban' in such a way as to have made the 'Chaoban' feel politically inadequate such that they limited their own political participatory roles. Apart from documentary research, field research involving semi-structured interviews was conducted in a rural area in Lampang Province and an urban area in the Bangkok Metropolis. This was order to discover locality differences, if any, in the outcomes of the process of construction of the self on Chaoban's self-perceptions of inadequacy and political participatory behaviour. The finings were that there were correlations between the state's construction of the self in 'Choaban' and their self-perception of inadequacy including their self-limiting political participatory behaviour. However, the correlations did not always obtain. It was not always the case that the 'Chaoban' would perceive their inadequacy nor would limit their own political participation. The behavioural stage depended on other environmental factors which mediated between perception and behaviour. It was found also that the 'Chaoban' exhibited many forms of resistance to state power. This indicated that they were not mere objects of state action but had their own tactics in responding to the state. None the less, this did not mean that the 'Chaoban' did not exhibit self-limiting political behaviour. It was rather that such self-limitation involved a complex processen
dc.format.extent2542463 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1072-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมืองen
dc.subjectการพัฒนาสังคม -- แง่การเมืองen
dc.subjectวจนะวิเคราะห์ -- ไทย-
dc.subjectวจนะวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ -- ไทย-
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย-
dc.subjectการพัฒนาสังคม -- แง่การเมือง -- ไทย-
dc.subjectDiscourse analysis -- Thailand-
dc.subjectCritical discourse analysis -- Thailand-
dc.subjectPolitical participation -- Thailand-
dc.subjectSocial development -- Political aspects -- Thailand-
dc.titleวาทกรรม "ชาวบ้าน" กับการจำกัดตนเองในการมีส่วนร่วมทางการเมืองen
dc.title.alternative"Chaoban" : discourse and self-limiting political participationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปกครองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAke.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1072-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jaruwan_ka.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.