Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21159
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาโนช โลหเตปานนท์-
dc.contributor.authorขจาริน โตรักตระกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-26T07:15:47Z-
dc.date.available2012-07-26T07:15:47Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21159-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractปัจจุบันการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นการขนส่งทางเรือตู้คอนเทนเนอร์เป็นรูปแบบหลัก และในปัจจุบันมีสายเรือเป็นจำนวนมาก ทำให้การแข่งขันในตลาดมีอยู่สูง ดังนั้นการจัดการรายได้ซึ่งเป็นการจัดการการรับจองระวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดรายได้สูงสุด จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่สายเรือได้ การศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการรายได้ของสายเรือยังมีอยู่ไม่มาก เมื่อเทียบกับการจัดการรายได้ของสายการบิน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์สำหรับแก้ปัญหาการจัดการรายได้ของสายเรือ โดยวิธีหนึ่งในการจัดการรายได้ของสายเรือคือ การจัดสรรระวางตู้คอนเทนเนอร์บนเรือ ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์โดยมีพื้นฐานแบบจำลอง มาจากแบบจำลองแบบเส้นทางเพื่อจัดสรรตู้บรรจุสินค้าบนเรือ โดยพิจารณาการไหลของตู้เปล่า ความสามารถในการให้บริการของเรือ ลักษณะเฉพาะของเรือ และความต้องการตู้บรรจุสินค้าทั้งที่บรรจุสินค้าและตู้เปล่า และนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้มาทดลองกับข้อมูลที่ดัดแปลงจากข้อมูลจริง และยังได้นำแบบจำลองการจัดสรรระวางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์บนเรือ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการรับจองระวางการขนส่งด้วยวิธีการหาราคาประมูลด้วย ผลลัพธ์ที่ได้แสดงให้เห็นว่า แบบจำลองการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นในงานวิจัยนี้ สามารถลดการใช้ทรัพยากรในการแก้ปัญหาได้ และเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหาก็สามารถลดลง เมื่อเทียบกับแบบจำลองเดิม ส่วนผลลัพธ์ในส่วนของการรับจองระวางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์สินค้านั้น ผลแสดงให้เห็นว่า รายได้ที่เกิดจากการรับจองระวางจากราคาประมูล จากแบบจำลองจัดสรรระวางการขนส่งที่มีสมการวัตถุประสงค์แบบมาตรฐาน และแบบเส้นทางนั้นมีค่าใกล้เคียงกัน แต่เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรายได้ที่เกิดจากการจัดสรรระวางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะมีค่าแตกต่างกันค่อนข้างมากen
dc.description.abstractalternativeThe major mode for international cargo transportation is container shipping. Because there are many container liners in the market, the competition is often fierce. Revenue management, which aims to maximize the liner’s revenue based on optimal allocation of container slots, is an appropriate tool for container liners. The container slot allocation problem asks how carriers should allocate the available container slots to cargo containers from different origin-destination pairs efficiently to maximize the total revenue for the network. The objective of this paper is to propose a new modeling approach for the container slot allocation problem using key-path variables. Slot capacity of vessel, characteristics of vessel, cargo demands, and empty container positioning are considered in this model. Then take the new model to manage in reservation system by bid price method. The results shown this model can reduction in resource and solve time. And this model can manage booking control in reservation system. But revenue from booking control simulation and allocation model quite different.en
dc.format.extent3496280 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.120-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการขนส่งทางน้ำen
dc.subjectการจัดการรายได้en
dc.subjectเรือคอนเทนเนอร์en
dc.subjectค่าระวางen
dc.titleการจัดสรรระวางการขนส่งสินค้าเพื่อจัดการรายได้สำหรับสายเรือคอนเทนเนอร์en
dc.title.alternativeContainer liner revenue management with slot allocationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorManoj.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.120-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kajarin_to.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.