Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21170
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัชนี เชยจรรยา-
dc.contributor.authorกุสุมา ภูเสตว์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-26T09:50:19Z-
dc.date.available2012-07-26T09:50:19Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21170-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนีมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (2) ศึกษาการดำเนินงานประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (3) ศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์และศึกษาจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยในส่วนของการจัดการการท่องเที่ยวพบว่า สาเหตุและที่มาในการริเริ่มจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้น เกิดจาก 2 ลักษณะ คือ (1) การที่บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกมองเห็นศักยภาพของชุมชนว่า สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ และเข้าประสานความร่วมมือกับคนในชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขึ้น (2) การที่คนในชุมชนได้มองเห็นศักยภาพของชุมชนเองและร่วมกันพัฒนา เพื่อให้เกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้น ผลการวิจัยในส่วนการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวพบว่า สื่อหลักที่ใช้คือ (1) สื่อมวลชน โดยใช้กลวิธีการประชาสัมพันธ์ดังนี้ การแถลงข่าว การจัด Press trip การส่งข่าวประชาสัมพันธ์ และการแทรกในรายการผ่านสื่อมวลชน (2) สื่อบุคคล ได้แก่ คนในชุมชน บุคคลมีชื่อเสียงของจังหวัด และนักท่องเที่ยวผ่านวิธีการบอกปากต่อปาก (3) สื่อเฉพาะกิจ (4) สื่ออินเทอร์เน็ต กลยุทธ์ที่ใช้ ได้แก่ กลยุทธ์การใช้สื่อและช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย กลยุทธ์การประสานและร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร และกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลการวิจัยในส่วนการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า เป็นการดำเนินการประชาสัมพันธ์ที่ประกอบด้วย (1) แกนนำในการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ ผู้นำชุมชน (2) สารประชาสัมพันธ์ ได้แก่ เนื้อหาเรื่องการอนุรักษ์วัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป การสร้างความภาคภูมิใจในตนเอง การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ของการท่องเที่ยว และการรักษาความสะอาด (3) สื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สื่อบุคคล และสื่อเสียงตามสาย (4) ผู้รับสาร ได้แก่ คนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ กลยุทธ์การใช้สื่อให้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย กลยุทธ์การใช้สื่อบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ กลยุทธ์การใช้เครือข่ายการสื่อสาร กลยุทธ์การสร้างความรู้สึก รักและภาคภูมิใจ และกลยุทธ์การชี้ให้เห็นประโยชน์en
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are (1) to study cultural tourism management (2) to study public relations strategies in promoting of cultural tourism (3) to study public relations strategies for community’s participation in cultural tourism management. This research is qualitative research that the information gathered from interviews and relatively documents. The research in the part of tourism management found that the causative of cultural tourism management can divided into 2 patterns include (1) the outsiders are explorer and work with people in community to develop cultural tourist site(2) the insiders or people in community are explorer and develop cultural tourism by themselves. The research in the public relations process to promote cultural tourism found that main media that use in promoting of cultural tourism include (1) mass media and relations tactics that use via mass media included press conference, press trip, press release, and to publish by insert cultural tourism in mass media program (2) personal media included the people in community and tourists by word of mouth tactic. (3) specially media and (4)internet. Public relations strategies in promoting of cultural tourism included various media and channels strategy, partnerships strategy and value added strategy. The research in the public relations process for community’s participation found that the process included (1) Sender or leader of public relations that are the leaders of community. (2) Message are focused on culture conservation, building love and feeling of pride, being good host, suggest benefit of tourism and encourage to keep clean. (3) Media or channel included local personal media and local phone link. (4) Receiver included people in community. Public relations strategies for community’s participation included media specific group strategy, strategic use of reliable person, strategic use of communications network, strategic use of building love and feeling of pride and strategy to suggest benefit of tourism.en
dc.format.extent5893040 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.148-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการประชาสัมพันธ์en
dc.subjectการสื่อสารในการพัฒนาชุมชนen
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen
dc.subjectการสื่อสารระหว่างบุคคลen
dc.subjectผู้นำชุมชนen
dc.titleการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมen
dc.title.alternativePublic relations for community's participation in promoting of cultural tourismen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPatchanee.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.148-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kusuma_ph.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.