Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21187
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนิตา รักษ์พลเมือง-
dc.contributor.advisorอุบลวรรณ หงษ์วิทยากร-
dc.contributor.authorพัชรี ดำรงสุนทรชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-27T06:21:30Z-
dc.date.available2012-07-27T06:21:30Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21187-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การจัดการความรู้ของชุมชนที่มีสุขภาวะ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของชุมชนที่มีสุขภาวะ และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยภาคสนามในชุมชนเปร็ดใน จังหวัดตราด และชุมชนลาดบอน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการสังเคราะห์ข้อมูลจากชุมชนทั้ง 2 แห่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำเสนอเป็นแนวทางการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สุขภาวะชุมชนตามการรับรู้ของชุมชน คือ ความสุขของคนในชุมชนสี่มิติ ได้แก่ สุขภาวะทางกาย ทางใจ ทางสังคม และทางปัญญา แต่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะทางสังคมเป็นอันดับแรกโดยเฉพาะการประกอบอาชีพ และความสัมพันธ์ของคนในชุมชน การจัดการความรู้จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ไขทุกขภาวะหรือปัญหาที่เกิดขึ้น ปัจจัยภายในชุมชนที่สนับสนุนให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ การสื่อสารตรงและทั่วถึง การมีเป้าหมายหรือผลประโยชน์ร่วมที่มองเห็นได้ การมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือจากผู้ตาม/ผู้ปฏิบัติการร่วมเรียนรู้ วัฒนธรรมเครือญาติ/ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน การให้การยกย่อง/รางวัล ส่วนปัจจัยภายนอกชุมชน ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานและภาคีการพัฒนาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และการมีโอกาสในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกชุมชน สำหรับอุปสรรคของการจัดการความรู้ คือ ภาระการประกอบอาชีพ การไม่เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ๆ การยึดถือผู้นำและมีความคิดให้ผู้นำเป็นผู้ดำเนินกิจการทั้งหมด 2. แนวทางการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชน พบว่ามีวิธีการดังนี้ 1) การรวมกลุ่มคนที่มีความตระหนักในทุกขภาวะ 2) การกำหนดเป้าหมายสุขภาวะร่วมกันของชุมชน 3) การใช้หน่วยงานต่างๆ ที่ให้ความร่วมมือเป็นแหล่งเรียนรู้ 4) การสร้างพื้นที่/เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน 5) การทำวิจัยโดยชุมชนเพื่อหาความรู้ที่เหมาะสมกับบริบท 6) การสกัดความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล/กลุ่มด้วยเครื่องมือเพื่อนช่วยเพื่อน 7) การขยายเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน 8) การที่ผู้นำชุมชนเป็นตัวแบบสำคัญของการเพิ่มพูนความรู้ 9) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นคลังความรู้ 10) การสร้างนักจัดการความรู้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มองข้ามเด็กและเยาวชน ส่วนองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการความรู้ คือ 1) คน ได้แก่ (1) ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ (2) คณะทำงานที่เข้มแข็ง (3) ชุมชนปฏิบัติการร่วมเรียนรู้ (4) หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/ภาคประชาชนและสื่อมวลชนผู้สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ 2) กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย (1) การแสวงหาความรู้ทั้งจากภายใน/นอกชุมชน (2) การสร้างความรู้จากการทดลองปฏิบัติ การวิจัยโดยชุมชน (3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ (4) การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลในรูปของการเล่าเรื่องและบันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องบันทึกเสียงหรือถ่ายซีดี (5) การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์ ผ่านทางสื่อสารสาธารณะของชุมชน เช่น หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านหรือเสียงตามสาย 3) เทคโนโลยี/ทรัพยากรที่มีในชุมชน เช่น บอร์ดความรู้ติดประกาศที่ศาลาประชาคม การใช้บทเพลงพื้นบ้าน การจัดทำหนังสือคู่มือแบบง่ายๆ หรืออาจใช้คอมพิวเตอร์ ซีดีมาช่วย ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดการความรู้ ได้แก่ 1) ความสอดคล้องกับบริบท/วิถีชีวิตของชุมชน 2) ความตระหนัก/ความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ของชุมชน 3) การสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนใฝ่รู้ 4) การระบุความรู้ที่ต้องการให้ชัดแจ้ง 5) การเรียนรู้/เรียนลัดจากวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 6) การจัดการความรู้ที่เชื่อมโยงกับชุมชนอื่น 7) การใช้ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ 8) การเสาะหาคนที่มีศักยภาพและสนใจทำงานด้านการจัดการความรู้ 9) การดึงองค์กรในชุมชนให้เข้ามามีบทบาท/ส่วนร่วมในการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชนen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were: 1) to analyze the knowledge management (KM) in healthy communities; 2) to analyze factors related to KM in healthy communities; 3) to propose KM guidelines for healthy community. The researcher employed qualitative research methodology and field research in 2 selected communities; namely, Pred Nai, Trad province and Ban Ladbon, Pranakron Sriayutthaya province. In-depth interview, participant and non-participant observation were used to collect data. KM guidelines for healthy community, synthesized from these 2 communities, were approved by selected experts. Research findings were as follows: 1. Healthy community, as perceived by community member, was a community where members were physical, mental, social, and spiritual healthy. However, priority was given to social health, especially occupation and social relationship. KM thus aimed at solving community problems. Supporting factors for KM in healthy community were community leader who had vision and leadership; direct communication to all members; collective goal and benefit sharing; continuous group activities; cooperative community members; kinship culture and close relationship; reward and recognition; continuous external support from organizations and development partners; as well as knowledge exchange outside community. KM might be obstructed if community members were too occupied with their own occupation, rejecting new ideas, and entirely depended on community leader. 2. KM procedures for healthy community consisted of 1) gathering community members who were aware of health issues; 2) setting collective goals concerning health community; 3) using cooperative organizations as learning resources; 4) sharing knowledge among communities 5) undertaking action research by community member; 6) extracting knowledge at individual and group levels; 7) expansion of knowledge/learning network; 8) role model of community leader as a life-long learner; 9) developing community learning resources; and 10) training community members, including children and youth, as knowledge managers. Necessary KM components were: 1) People – devoted community leader and team, community of practice (CoP), supporters from public, private, community and mass media. 2) KM process - knowledge acquisition from within and outside community, knowledge creation from practices and research, informal knowledge sharing, collection and organization of learned knowledge, knowledge transfer and utilization through community media. 3) Available technology and resources in the community such as news broadcasting tower and computer. Considering factors for KM were 1) relevancy to community context; 2) KM awareness; 3) learning community; 4) knowledge identification; 5) learning from best practices; 6) knowledge sharing with other communities; 7) informal relationship; 8) sourcing potential and interested persons in KM; and 9) encouraging community organizations to participate in KM for healthy communities.en
dc.format.extent3048806 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2175-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารองค์ความรู้en
dc.subjectชุมชน -- สุขภาพและอนามัยen
dc.titleแนวทางการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชนen
dc.title.alternativeKnowledge management guidelines for healthy communityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพัฒนศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorchanita.r@chula.ac.th-
dc.email.advisorUbonwan.H@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.2175-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_Du.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.