Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21192
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุดมลักษณ์ กุลพิจิตร-
dc.contributor.authorพิมพ์กานต์ ไม้วัฒนา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-27T07:10:48Z-
dc.date.available2012-07-27T07:10:48Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21192-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหา การดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 32 คน ครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 32 คน และตัวแทนชุมชน 32 คน รวมทั้งสิ้น 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารจัดการ: 1) ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการวางแผนและนโยบายที่สอดคล้องกับความต้องการในสภาพปัจจุบันและความพร้อมของศูนย์เพื่อให้งานมีความสะดวก รวดเร็ว ทันสมัยและประหยัดเวลา 2) การพิจารณาคัดเลือกบุคลากรคำนึงถึงความสามารถ และความสนใจ 3) การจัดสรรงบประมาณในการจัดเตรียมอาคาร สถานที่ และการจัดหาสื่อ อุปกรณ์ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด 4) การสนับสนุนบุคลากรด้วยการจัดให้ได้เข้ารับการอบรม สัมมนา หรือประชุมเชิงวิชาการโดยจัดให้มีการหมุนเวียนกันไปอบรม ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน: 1) การจัดกิจกรรมยึดตามหลักพัฒนาการและความสนใจของเด็ก กิจกรรมมีลักษณะเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ มีระยะเวลาที่เหมาะสม และสามารถยืดหยุ่นได้ 2) บทบาทครูผู้ดูแลเด็กมีการคัดเลือก จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับวัยและสอดคล้องกับหน่วยการเรียน ครูผู้ดูแลเด็กเอาใจใส่ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดในขณะที่เด็กทำกิจกรรม และส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก และเด็กกับเด็กในขณะที่ทำกิจกรรมร่วมกัน ด้านการจัดสภาพแวดล้อม: 1) พื้นที่และบริเวณในการทำกิจกรรมและสื่อ อุปกรณ์มีการจัดวางเป็นสัดส่วนโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวกต่อการใช้งานของเด็กปฐมวัย 2) สื่อ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการตรวจสอบสภาพอย่างสม่ำเสมอ ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน: 1) การวางแผนและนโยบาย ชุมชนสนับสนุนงบประมาณในการจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ และการจัดส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม 2) ชุมชนมีส่วนร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คัดเลือกสื่อ อุปกรณ์ และเป็นวิทยากรพิเศษ 3) การจัดสภาพแวดล้อมได้รับการสนับสนุนจากชุมชนในด้านงบประมาณ การจัดสรรพื้นที่ และการติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย ปัญหาที่พบคือ: 1) ด้านการบริหารจัดการ ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง งบประมาณมีจำกัดไม่เพียงพอต่อการจัดเตรียมอาคาร สถานที่ สื่อและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งบุคลากรมีภาระงานที่ต้องรับผิดชอบมาก 2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้ดูแลเด็กไม่มีการนำสื่อและอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากกิจกรรมที่เคยเข้ารับการอบรม สื่อและอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และเด็กไม่แบ่งสื่อ อุปกรณ์ให้เพื่อนร่วมกันใช้ 3) ด้านการจัดสภาพแวดล้อม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีพื้นที่จำกัด และขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุงสื่อ อุปกรณ์ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากชุมชน พบว่างบประมาณในการร่วมจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ และการสนับสนุนบุคลากรมีจำกัดขาดข้อมูลที่เกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ รวมทั้งยังไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเท่าที่ควรen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the state and problems of operation on information technology used in the child development centers under local administrative organization. The samples of this research were 32 local administrators, 32 caregivers, and 32 community representatives, total of 96 persons. The research tools were questionnaires, interview, survey, and observation forms. The research results were as follows: Concerning administration: 1) The policy and planning of information technology used for operation by the local administrators was set out in accordance with the current needs and the status of the child development centers for convenience, rapid, modern, and time saving. 2) Selection of personnel concerned for capabilities and interests. 3) Budget allocation for preparation of facilities, and supplying of materials and equipment were supported by the main organization. 4) Personnels were supported by arranging for taking turn to attend workshops, seminars or conferences. Concerning teaching and learning activities: 1) Activities providing was based on child development and child’s interest, being individualized and organized into small and large groups with appropriate and flexible time management. 2) The role of caregiver included material and equipment selection based on developmental appropriateness and curriculum. Caregivers paid closely attention and encouraged the interaction of adult – child and child - child relationships during activities. Concerning environmental arrangement: 1) Activity area and material arrangement were well allocated for accessibility. 2) Information technology materials and equipments were under regularly check and maintenance. Concerning cooperation and support from community: 1) Community cooperation and policy planning through budget support in the preparation of material, equipment, building, and staff training. 2) Community participation in planning of learning activities, selection of materials, equipments and guest speakers. 3) Environmental arrangement being supported by community through budget funding, area allocating, and security equipment installation. Problems found were as follows: 1) Concerning administration: lack of specialists, insufficient budget for organizing facilities, and information technology materials and equipments including high staff workload. 2) Concerning teaching and learning activities: caregiver did not utilize material and equipment in the activities rather than being trained, insuffienciency of information technology material and equipment to be used, and no sharing among children. 3) Concerning environmental arrangement: limitation of space in the centers and lacks of budget for repair and maintenance and 4) concerning cooperation and support from community: insufficient funding for preparation of material and equipment, building, and personnel support; lack of information on standard criteria, including insufficient support from community.en
dc.format.extent2109104 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.193-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศูนย์พัฒนาเด็กเล็กen
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศen
dc.titleสภาพและปัญหาการดำเนินงานในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen
dc.title.alternativeState and problems of operation on information technology used in the child development centers under local administrative organizationen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการศึกษาปฐมวัยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUdomluck.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.193-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimkarn_Ma.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.