Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21197
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนทร บุญญาธิการ-
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์-
dc.contributor.authorสฤกกา พงษ์สุวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-28T12:20:02Z-
dc.date.available2012-07-28T12:20:02Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21197-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการใช้ฉนวนในอาคารมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับอาคารในประเทศไทยที่อยู่ในภูมิอากาศร้อนชื้น เพื่อป้องกันทั้งความร้อนและความชื้นเข้าสู่อาคาร ปัจจุบันผู้ใช้ฉนวนยังขาดความเข้าใจหลายด้าน ทำให้เกิดผลกระทบต่อการลงทุน และสุขภาพของผู้ใช้อาคาร ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญของฉนวนในการลดความร้อนเข้าสู่อาคาร คือ ค่าการต้านทานความร้อนหรือค่าการนำความร้อน มวลสาร และการสะท้อนรังสีความร้อน องค์ประกอบของเปลือกอาคารที่จำเป็นต้องใช้ฉนวนในประเทศไทย ได้แก่ หลังคา ผนังและพื้น เทคนิคการใช้ฉนวนในประเทศไทยมีหลายประเภท ได้แก่ 1) ฉนวนที่ใช้ช่องว่างอากาศนิ่ง 2)ฉนวนที่ใช้มวลสาร และ 3)ฉนวนที่ใช้การสะท้อนรังสีความร้อน ผลการศึกษาการใช้ฉนวนที่เหมาะสมกับองค์ประกอบเปลือกอาคารสรุปได้ ดังนี้ 1)ส่วนหลังคาใช้ฉนวนใยแก้ว หนา 12 นิ้ว (ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน 0.02 บีทียูต่อชั่วโมง ตร.ฟุต ฟาเรนไฮท์) 2) ส่วนผนังเปลือกอาคารภายนอกใช้โพลีสไตรีนหนา 4 นิ้ว (ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน 0.06 บีทียูต่อชั่วโมง ตร.ฟุต ฟาเรนไฮท์) เพื่อป้องกันการเกิดสะพานความร้อน สำหรับอาคารปรับอากาศช่วงกลางวันหรือช่วงกลางคืน ผนังภายในควรมีมวลสารน้อย เช่น ผนังยิปซั่ม สำหรับอาคารปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมงนั้น กรณีใช้ผนังเบาจะลดภาระการทำความเย็นในช่วงเปิดการปรับอากาศครั้งแรก กรณีใช้ผนังที่มีมวลสารมากจะใช้พลังงานในการลดความร้อนในมวลสารมากกว่าผนังเบา แต่สามารถสะสมความเย็นในระยะเวลาเท่ากับการลดความร้อนของมวลสาร 3)เปลือกอาคารส่วนพื้นทั้งส่วนสัมผัสดินและพื้นสัมผัสอากาศใช้ฉนวนโพลียูริเทนหรือฉนวนโพลีสไตรีน หนา 2 นิ้ว (ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน 0.12-0.14 บีทียูต่อชั่วโมง ตร.ฟุต ฟาเรนไฮท์) เมื่อใช้ฉนวนที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนต่ำช่วยลดอิทธิพลของสีเปลือกอาคาร ฉนวนที่เหมาะสมต้องมีคุณสมบัติกันความชื้นจากภายนอกอาคารเพื่อป้องกันการควบแน่นในเนื้อฉนวนหรือผนังที่ติดกับฉนวนนั้นๆ ผลการใช้ฉนวนช่วยเพิ่มความรู้สึกสบายจากอุณหภูมิพื้อผิวเฉลี่ยโดยรอบที่ลดลง อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโดยรอบแตกต่างกันจากอุณหภูมิอากาศภายในไม่เกิน 1 องศาเซลเซียสทั้งอาคารปรับอากาศและอาคารไม่ปรับอากาศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวแปรของอุณหภูมิผิวเปลือกอาคาร ค่าการแผ่รังสีดวงอาทิตย์สัมประสิทธ์การดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์และความเร็วลม สำหรับอาคารไม่ปรับอากาศฉนวนช่วยเพิ่มจำนวนชั่วโมงสภาวะน่าสบายจากอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโดยรอบของอาคารทั่วไป 1,948 ชั่วโมงต่อปี เป็น 2,111 ชั่วโมงต่อปี (ร้อยละ 1.86) สำหรับอาคารปรับอากาศช่วยลดภาวะการทำความเย็น 12 เท่า ลงทุนค่าติดตั้งฉนวนเปลือกอาคารเพิ่มขึ้น 7,000 บาทต่อตารางเมตรของพื้นใช้สอยอาคารระยะเวลาการคืนทุน 7-10 ปีen
dc.description.abstractalternativeThermal resistance (R-value) or thermal conductance (U-value), mass, and reflective air space are the important insulation factors. Using insulation on roof, exterior wall, and floor is necessary for building envelop in Thailand. Thailand has various building insulation techniques which could be grouped as 1) still air insulation, 2) thermal mass insulation, and 3) reflective cavity insulation. It is found that the appropriate insulation applications of building envelop elements are 1) 12-inch glass fiber for roof insulation (U-value 0.02 Btu/hr.ft².°F) 2) 4-inch Expanded Polystyrene (EPS) for wall insulation without thermal bridge (U-value 0.06 Btu/hr.ft².°F) 3) 2-inch Polyurethane (PU) or 2-inch EPS for floor (U-value 0.12-0.14 Btu/hr.ft².°F). For both air-conditioned building during daytime or nighttime, interior wall should have low mass such as gypsum. 24-hour air –conditioned case, low mass in interior wall reduces cooling load at the first start while high mass interior wall has higher cooling load but also can be applied as cool storage. Reduce thermal conduction value of insulation, reduce thermal heat transfer from building envelop with light or dark color. Appropriate insulation property should protect moisture penetration to prevent condensation. Using insulation wrap around building envelop increases thermal comfort condition from low MRT (within 1 degree celsius higher than inside air temperature of both air-conditioned and non air-conditioned).Sol-air temperature, radiation, and wind are still variation factors. Appling insulation to non-air-condition building, thermal comfort will increases from 1,948 hours per year to 2,111 hours per year (1.86%). Air-conditioned building with insulated building envelop decreases cooling load 12 times (7,000 Baht per sq.m. of usable area with 7-10 years pay back)en
dc.format.extent10448305 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.139-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอาคาร -- ฉนวนความร้อนen
dc.subjectภาวะสบายen
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับภูมิอากาศen
dc.titleแนวทางการใช้ฉนวนเชิงบูรณาการสำหรับอาคารในภูมิภาคร้อนชื้นen
dc.title.alternativeDesign guidelines of integrated insulation for building in hot humid climateen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorsoontorn@asia.com, Soontorn.B@Chula.ac.th-
dc.email.advisorVorasun.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.139-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarigga_po.pdf10.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.