Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21289
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วัชรินทร์ ฐิติอดิศัย | - |
dc.contributor.advisor | อำไพ ตีรณสาร | - |
dc.contributor.author | อัจฉรา หนูใหม่ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-02T14:48:14Z | - |
dc.date.available | 2012-08-02T14:48:14Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21289 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปะในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาและเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามแนวพุทธศิลป์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมในด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล และสื่อการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอนวิชาศิลปะในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 100 คน ครูผู้สอนวิชาศิลปะ ผู้บริหารหรือฝ่ายวิชาการในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในการตอบแบบสัมภาษณ์จำนวน 30 คน และศิลปินผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับพุทธศิลป์ จำนวน 5 คน รวม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)และแบบปลายเปิด (Open From) แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นที่ .92 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured selection interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำเสนอในรูปแบบตารางความเรียง ผลการวิจัยพบว่าสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนโดยที่พบมากที่สุด คือ ครูผู้สอนไม่เข้าใจในกลวิธีการสอนศิลปะเนื่องจากไม่ได้จบด้านศิลปะมาโดยตรง รองลงมาคือด้านงบประมาณในการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ศิลปะที่มีราคาแพง ด้านความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษา โดยมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก สรุปสาระสำคัญด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ 1) ด้านวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรได้มีส่วนร่วมในการเผยแผ่หลักธรรมทางพุทธศาสนาอย่างเข้าใจง่ายผ่านงานพุทธศิลป์ โดยการปฏิบัติงานด้านศิลปะ หรือจัดนิทรรศการพุทธศิลป์ และเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพุทธประวัติ รวมถึงคติธรรมในงานพุทธศิลป์ เห็นคุณค่า รักและภาคภูมิใจงานพุทธศิลป์ อันนำไปสู่การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญางานพุทธศิลป์ต่อไป 2) ด้านเนื้อหาสาระ ผู้เรียนควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนางานพุทธศิลป์ในท้องถิ่นของตน รวมถึงวิธีการถ่ายทอด การสื่อความหมาย และการนำเสนองานพุทธศิลป์ทั้งแบบประเพณีดั้งเดิมและแบบสมัยใหม่ 3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนควรได้ไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ได้ศึกษาเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงานพุทธศิลป์ในท้องถิ่นและที่สำคัญในประเทศไทย และการนำเสนอโครงการพัฒนางานพุทธศิลป์โดยการบูรณาการกับศาสตร์วิชาอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางในการอนุรักษ์สืบทอดและพัฒนางานพุทธศิลป์ในท้องถิ่นของตน 4) ด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ผู้เรียนควรได้มีส่วนร่วมในการเผยแผ่หลักธรรมทางพุทธศาสนาผ่านงานพุทธศิลป์ โดยการปฏิบัติงานด้านศิลปะ หรือจัดนิทรรศการแสดงผลงานพุทธศิลป์ของตนได้ และผู้เรียนสามารถถ่ายทอดคติธรรมและสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ที่สอดคล้องกับคติธรรมในพุทธศาสนาตามแนวความคิดของตนเองได้ และ 5) ด้านสื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนได้เรียนรู้จากหนังสือเรียนพุทธศิลป์ด้านทัศนศิลป์ ทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติและแหล่งเรียนรู้พุทธศิลป์ในชุมชนได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ที่อยู่ภายในชุมชน | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are to study the circumstance of and the issues associated with art teaching in the general education program of Buddhist ecclesiastical schools; and, to provide a guideline for the development of curriculum for Buddhist visual art at such schools, covering aspects such as objectives, contents, instructional activities, evaluation and instructional materials. The sample groups used were comprised of 100 questionnaire respondents who are art teachers, 30 interviewees who are executives or academic affairs staff of general education program of Buddhist ecclesiastical schools and 5 artists with experience in Buddhist art for a total number of 35. The tools used were rating scale and open form questionnaires with confidence of .92 and semi-structured selection interviews. The data was analyzed for percentage, average and standard deviation while the contents of the interviews were analyzed and presented in an essay format. The research has found that the most frequently occurring issues are the lack of understanding of art teaching on the part of the teachers as they have not had formal study of arts; followed by budget constraints as artistic equipments are expensive. With regard to opinions of those who are involved in the management of education, it appears that their opinions are highly consistent with the needs of the institution. Key ideas can be summarized as follows. 1) Objectives: Learners should have a role in promoting simple to understand Buddhist dharma concepts through Buddhist art, Buddhist art workshops and Buddhist art exhibitions. These would allow the learners to become more accustomed to the stories of Lord Buddha and the doctrines hidden in Buddhist art, and, to develop affection for Buddhist art which would eventually lead to its preservation and furtherance. 2) Contents: Learners should have the opportunity to learn how to preserve and further Buddhist art in their locality, as well as how to relate, interpret and present traditional and contemporary Buddhist art. 3) Instructional activities: Learners should have the opportunity of a field trip to learn more about the origin of Buddhist art in different localities, particularly in Thailand, and present a Buddhist art project which is integrative with other sciences to ensure preservation and furtherance of Buddhist art in their locality. 4) Evaluation: Learners should have a role in promoting simple to understand Buddhist dharma concepts through Buddhist art, Buddhist art workshops and Buddhist art exhibitions. They should be able to relate a doctrine or produce a Buddhist art in their own concept which is consistent with a Buddhist doctrine. 5) Instruction: Learners should have the opportunity to learn from Buddhist visual art textbooks, both in theory and in practice, as well as from community Buddhist art sources such as ancient sites, artifacts and museums in the community. | en |
dc.format.extent | 4218088 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1961 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | การศึกษา -- หลักสูตร | en |
dc.subject | โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา | en |
dc.title | แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสาระทัศนศิลป์ตามแนวพุทธศิลป์ในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา | en |
dc.title.alternative | Guidelines for development of a visual art curriculum based on Buddhist art in general education program of Buddhist ecclesiastical schools | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Ampai.Ti@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1961 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
audchara_nu.pdf | 4.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.