Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21524
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรัฐ ศิลปอนันต์ | - |
dc.contributor.author | พูลสุข ศรียรรยงค์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-18T04:51:08Z | - |
dc.date.available | 2012-08-18T04:51:08Z | - |
dc.date.issued | 2520 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21524 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของครูในภาคกลางเกี่ยวกับบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของของครูในภาคกลางเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานของคุรุสภา โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูในภาคกลางเกี่ยวกับความต้องการของครูที่มีต่อบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 4. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างครูในภาคกลางซึ่งมีหน้าที่ต่างกันและวุฒิต่างกัน เกี่ยวกับบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้บริหารการศึกษา และครูประจำการ โดยใช้ตัวอย่างประชากร ผู้บริหารการศึกษาร้อยละ 100 ครูประจำการร้อยละ 20 จากประชากรที่สุ่มได้ ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified Random Sampling Technique สุ่มจังหวัด อำเภอ และโรงเรียนในภาคกลางของประเทศไทย ได้กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารการศึกษาจำนวน 100 คน ครูประจำการจำนวน 362 คน รวมตัวอย่างทั้งสิ้น 462 คน ซึ่งอยู่ในจังหวัด ชลบุรี ปทุมธานี เพชรบุรี สระบุรี และสิงห์บุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามความคิดเห็นสมาชิกคุรุสภา ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง เป็นแบบสอบถาม Close-ended ชนิด Multiple Choice และ Rating Scale และแบบสอบถาม Open-ended ก่อนจะนำไปใช้จริงได้ทำการทดลองแบบสอบถาม(pre-test) ในท้องถิ่นที่ไม่ได้ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ 1. สถานภาพของผู้ตอบ 2. ความคิดเห็นของสมาชิกคุรุสภาที่มีต่อบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา 3. ความคิดเห็นของสมาชิกคุรุสภาที่มีต่องานต่าง ๆ ซึ่งคุรุสภาได้จัดบริการให้แก่สมาชิกมาแล้ว 4. ความคิดเห็นโดยเสรีของสมาชิกเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ สวัสดิการและบริหารบุคคลของคุรุสภา วิธีการทางสถิติที่ใช้ ใช้ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา กับครูประจำการและระหว่างสมาชิกคุรุสภาที่มีวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปกับสมาชิกคุรุสภาที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี เกี่ยวกับงาน ด้านวิชาการ สวัสดิการ และงานบริหารบุคคลโดยใช้ t-test สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยที่สำคัญอาจสรุปได้ดังนี้ 1. งานบริการด้านต่าง ๆ ทั้งสามด้านคุรุสภา สมาชิกคุรุสภาให้ความสำคัญเรียงตามลำดับดังนี้คือ 1.1 งานด้านวิชาการ 1.2 งานด้านสวัสดิการ 1.3 งานด้านบริหารบุคคลแทน ก.พ. และ ก.จ.2. งานด้านวิชาการที่สมาชิกคุรุสภาเห็นว่าคุรุสภาทำได้ดีได้แก่ การจัดอบรมเพื่อการศึกษาระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน (อ.ศ.ร.) การอบรมเพื่อเตรียมสอบวิชาชุด ป.กศ. และป.ม. การจัดพิมพ์ตำราชุดครูวิชาต่าง ๆ และจัดพิมพ์หนังสือชุดภาษาไทย ส่วนงานด้านวิชาการที่สมาชิกเห็นว่าคุรุสภายังทำน้อยไปได้แก่ การเผยแพร่วิชาการแก่สมาชิกในส่วนภูมิภาค การดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อรับทุนไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ตามความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการ 3. งานด้านสวัสดิการที่สมาชิกคุรุสภาเห็นว่าคุรุสภาทำได้ดี ได้แก่ องค์การช่วยเหลือสมาชิกคุรุสภา (ช.พ.ก.) ชุมนุมดนตรี ชุมนุมละครของคุรุสภา ช.พ.ส. การช่วยเหลือสมาชิกคุรุสภาในวัยชรา และการจัดตั้งมูลนิธิช่วยครูอาวุโสในพระบรมราชูปถัมภ์การช่วยเหลือบุตรครูและการจัดตั้งมูลนิธิ ช่วยการศึกษาบุตรสมาชิกคุรุสภา ส่วนงานด้านสวัสดิการที่สมาชิกคุรุสภาเห็นว่าคุรุสภายังทำไม่ดีนักได้แก่การสร้างบ้านพักตากอากาศ สำหรับสมาชิกคุรุสภา การจัดสร้างบ้านพักสมาชิกคุรุสภาในต่างจังหวัดการจัดสรรที่ดินสำหรับสมาชิกคุรุสภา การขอลดค่าโดยสารรถไฟ และเครื่องบินให้แก่สมาชิกคุรุสภา 4. งานด้านการบริหารงานบุคคลแทน ก.พ.และก.จ. ที่คุรุสภาจัดทำนั้น งานที่สมาชิกคุรุสภาเห็นว่าคุรุสภาทำได้ดี ได้แก่ งานเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย งานเกี่ยวกับการใช้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ งานบรรจุข้าราชการที่ออกจากราชการไปแล้วกลับเข้ารับราชการ งานบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนงานการบริหารงานบุคคลที่สมาชิกครุสภาเห็นว่าคุรุสภาทำน้อยได้แก่ งานแต่งตั้งข้าราชการอื่นมาเป็นข้าราชการครู งานเกี่ยวกับการร้องทุกข์ และอุทธรณ์ของครู งานกำหนดตำแหน่งและงานเลื่อนตำแหน่ง 5. ปัญหาใหญ่ของคุรุสภาคือ สมาชิกคุรุสภาจำนวนมากไม่ทราบ ไม่สนใจ และไม่เห็นความสำคัญในงานต่าง ๆ ของคุรุสภาเลย มีสมาชิกจำนวนน้อยที่ทราบและสนใจและเคยขอรับบริการด้านต่าง ๆ ของคุรุสภา 6. สมาชิกคุรุสภาต้องการให้คุรุสภาปรับปรุงงานด้านประชาสัมพันธ์ เพื่อสมาชิกจะได้ทราบข่างความเคลื่อนไหวของคุรุสภา ได้ทราบระเบียบวิธีการขอรับบริการของคุรุสภาและยังต้องการให้คุรุสภาปรับปรุงงานบริการด้านวิชาการและสวัสดิการให้ดีและทั่วถึงแก่สมาชิกทุกสังกัด และทุกภูมิภาค 7. ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา และครูประจำการที่มีต่องานบริการด้านสวัสดิการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทางด้านวิชาการ และการบริหารบุคคล 8. ความคิดเห็นของคุรุสภาที่มีวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป และที่มีวุฒิกว่าปริญญาตรีที่มีต่องานบริการทั้ง 3 ด้านของคุรุสภา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes of the Study 1. To anlyse the opinions of the teachers in Central Region on the roles and activities of Teacher Institute. 2. To study the opinions of the teachers on the problems concerning the operations of Teacher Institute with focus on its roles and activities. 3. To study the needs of the teachers concerning the roles and activities of Teacher Institute. 4. To compare the opinions of the teachers with different functions and academic degrees on the roles and activities of Teacher Institute. Methods of the Study The subject of this study included two groups of population educational administrators and classroom teachers in Central Region of Thailand. The samples were selected by stratified random sampling technique. One hundred percent of educational administrators and20 percent of classroom teachers in Cholburi, Patumtani, Phetchburi, Saraburi and Singburi were drawn as samples. The samples included 100 educational administrators and 362 classroom teachers which made 462 in total number. A questionnaire constructed by the researcher basing on close-ended (multiple choices and rating scale) and open- ended types was used as an instrument for data collection. The pre-test technique was administered before actual data collection. Data used in study were as followed: 1. Status of members of Teacher Institute. 2. Opinion of members on roles and activities of Teacher Institute. 3. Opinion of members on services of Teacher Institute. 4. Free-responding opinion of member on academic, welfare and personnel administration services of Teacher Institute. The data obtained were analysed by means of percentage, mean, standard-diviation, and t-test. Research Results 1. Members of Teacher Institute perceived its tasks in the following order of importance-high to low: 1.1 Academic Promotion Service. 1.2 Welfare Promotion Service 1.3 Personnel Administrative Service. 2. Academic promotion services rated by members as well done and satisfied were : summer courses for teacher’s qualification promotion, in-service training for teacher’s promotion examination, text-books publication for teacher’s promotion examination program, and thai text-book for teacher’s promotion examination program. Academic promotion services rated as poorly done and unsatisfied were: technical lecture series at regional level and selection examination arrangement for study abroad. 3. Welfare promotion services rated by member as welldone and satisfied were : death benefit program for fellow teachers, music and drama group, death benefit program for member’s spouses, assistance program for retired teachers under His Majesty’s patronage, assistance for teachers’ children. Welfare promotion services rated as poorlydone and unsatisfied were : the construction of summer hostel for member, teacher’s hotel provision in provinces. Land arrangement for members, transportation discount privilege for members. 4. Personnel administrative services rated by members as welldone and satisfied were: tasks related to disciplinary action, professional certificate and degree utilization, consideration of ex-officer returning to services, the appointment of teachers as specially qualified person. Personnel administrative services rated as poorlydone and unsatisfied were : The appointment of other officials to become teaching personnel, tasks related to grievances and complaints, manpower provision to certain educational institution, and teacher’s ranks promotion. 6. Members need to see Kuru Supa improve its public relation activities so that the members may be able to follow Kuru Sapa movements, and to know procedure to seek and enjoy Kuru Sapa services. They further suggested that Kuru Sapa improve and expand services on academic and welfare promotior covering all members under various jurisdictions and regions. 7. The educational administrators and classroom teachers’ opinions on Kuru Sapa welfare promotion program are significantly different at 95% level of confidence. But their opinions on academic promotion and personnel administration program are not statistically different at .05 level. 8. The opinion of member with high and low qualification on the three types of Kuru Sapa services programs are significantly different at 99% level of confidence. | - |
dc.format.extent | 764889 bytes | - |
dc.format.extent | 842709 bytes | - |
dc.format.extent | 1655141 bytes | - |
dc.format.extent | 468224 bytes | - |
dc.format.extent | 2868974 bytes | - |
dc.format.extent | 1523461 bytes | - |
dc.format.extent | 968868 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความคิดเห็นของครูในภาคกลางที่มีต่อบทบาทและกิจกรรมของคุรุสภา | en |
dc.title.alternative | Opinions of teachers in Central Region concerning the roles and activities of teacher institute | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Poonsuk_Sri_front.pdf | 746.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_Sri_ch1.pdf | 822.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_Sri_ch2.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_Sri_ch3.pdf | 457.25 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_Sri_ch4.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_Sri_ch5.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Poonsuk_Sri_back.pdf | 946.16 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.