Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21529
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วม สำหรับเด็กพิการก่อนวัยเรียน
Other Titles: A development of a model of mainstreamed instruction for disabled preschoolers
Authors: ศรินธร วิทยะสิรินันท์
Advisors: ทศนา แขมมณี
พัฒน ภาสบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการก่อนวัยเรียน กระบวนการวิจัย มี 4 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนารูปแบบฉบับร่าง 3) การทดลองใช้รูปแบบ : กรณีศึกษา และ 4) การแก้ไขปรับปรุงรูปแบบ ผลการวิจัย คือ 1) รูปแบบที่พัฒนาประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ คือ ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ จุดมุ่งหมาย ความหมายและขอบเขต ความเชื่อพื้นฐาน หลักการในการพัฒนารูปแบบ แนวคิดพื้นฐานหลักการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการก่อนวัยเรียน ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ 2) รูปแบบนี้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 1) กระบวนการและเครื่องมือของรูปแบบมีลักษณะบูรณาการเข้าไปในกระบวนการจัดการเรียนการสอนชั้นเด็กเล็กปกติ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยไม่แยกออกเป็นงานการสอนเด็กปกติและงานการสอนเด็กพิการ 2) กระบวนการของรูปแบบมีโครงสร้างที่ชัดเจน (Structured) มีลักษณะเป็นการสั่งความ (Prescriptive) และมีการจัดทำเครื่องมือของรูปแบบที่มีลักษณะสำเร็จรูป สามารถใช้ได้ทันที (Instant) ทั้งนี้เพื่อให้ครูผู้ใช้รูปแบบสามารถปฎิบัติตามได้ง่าย โดยไม่ต้องมีคุณสมบัติที่จำเป็น (Prerequisite) มากกว่าการเป็นครูชั้นเด็กเล็กทั่วไป และ 3) รูปแบบนี้มีลักษณะยืดหยุ่น สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ ความต้องการและความสนใจต่างกันได้ถึง 3 ระดับ คือ ครูชั้นเด็กเล็กทั่วไป ครูชั้นเด็กเล็กที่มีความต้องการและความสนใจเกี่ยวกับการสอนเด็กพิการก่อนวัยเรียน และนักวิชาการ นักการศึกษาพิเศษ ทั้งนี้โดยได้จัดทำเอกสารต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของบุคคลทั้งสามกลุ่ม 3) เอกสารรูปแบบและเครื่องมือของรูปแบบ ประกอบด้วยเอกสารแม่บทฉบับสมบูรณ์ จำนวน 1 เล่ม เอกสารแม่บทฉบับสรุป จำนวน 1 เล่ม คู่มือการใช้รูปแบบ จำนวน 6 เล่ม เครื่องมือของรูปแบบ จำนวน 2 ชุด คือ สมุดบันทึกพัฒนาการของเด็กพิการและแบบฟอร์มบันทึกการสอนแบบเรียนร่วมในชั้นเด็กเล็ก และเอกสารประกอบการใช้รูปแบบ จำนวน 15 เล่ม 4) ผลการทดลองใช้รูปแบบเป็นกรณีศึกษา ในชั้นเด็กเล็ก โรงเรียนบ้านทุ่ง จ.กระบี่ พบว่ารูปแบบมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ เด็กพิการที่เป็นกรณีศึกษามีพัฒนาการสูงขึ้นในทุกด้าน และระดับความบกพร่องลดลง ครูผู้ทดลองใช้รูปแบบสามารถใช้รูปแบบด้วยตัวเองอย่างถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดในรูปแบบ และบุคคลต่างๆ ทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รูปแบบพอใจในรูปแบบในระดับมากถึงมากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this study were to develop and testify a model of mainstreamed instruction for disabled preschoolers. The procedures of the study had 4 stages : -1) studying background information, 2) designing the model, 3) testifying the model : a case study, and 4) revising the model. The results of the study were as follows : 1) The components of the developed model were rationale of the model, goals, definitions, assumptions, principles for developing the model, theories and principles of mainstreamed instruction for disabled preschoolers, exo and endo factors of the model, and instructional procedures ; 2) The distinguished features of the model were (1) the instructional procedures and the model instruments were designed to be integrated into regular instructional procedures, (2) the instructional procedures were designed to be structured, prescriptive, and instant, and not to require other prerequisites rather than the normal quality of a preschool teacher, and (3) the model provided materials to meet different needs of regular preschool teachers, needy and interested preschool teachers, and special educators. 3) The model documents consisted of 1 complete text on the model, 1 booklet of the summarized model, 5 booklets of teacher manual, and 15 books of supplementary materials ; and the model instruments were consisted of a disabled preschooler’s report book and a from of the lesson plan for a mainstreamed preschool classroom ; and 4) The findings from testifying the model as a case study in preschool classroom at Bhantung School, Krabi Privince, was that the model was found to be effective according to the defined criteria : - the disabled preschooler who was the case had satisfactorily developed physically, intellectually (also including language), emotionally and socially ; the teacher who was the case implement the model correctly and appropriately as prescribed in the model ; and those who were involved with the model were satisfied with the model at the high to highest level of rating.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21529
ISBN: 9745816078
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarinthorn_Vi_front.pdf561.45 kBAdobe PDFView/Open
Sarinthorn_Vi_ch1.pdf878.06 kBAdobe PDFView/Open
Sarinthorn_Vi_ch2.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Sarinthorn_Vi_ch3.pdf821.9 kBAdobe PDFView/Open
Sarinthorn_Vi_ch4.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Sarinthorn_Vi_ch5.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Sarinthorn_Vi_back.pdf12.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.