Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21534
Title: แบบจำลองการตัดสินใจเลือกวิธีสำหรับการก่อสร้าง และบำรุงรักษาถนนชนบท
Other Titles: Decision model for selection of rural road construction and maintenance programs
Authors: ศรศักดิ์ แสนสมบัติ
Advisors: ครรชิต ผิวนวล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การว่างงานในชนบทของประเทศไทย เป็นปัญหาหลักของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลได้ริเริ่มให้มีโครงการสร้างงานในชนบท (Rural Job Creation Program) เพื่อจัดให้มีการจ้างงานและกระจายรายได้ให้แก่ชาวชนบท แต่เนื่องจากโครงการมีขนาดใหญ่ประกอบกับขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางช่าง และการบริหารโครงการ จึงทำให้ผลงานที่ได้ขาดคุณภาพ และเป็นการไม่คุ้มทุน ดังนั้นการวิจัยนี้จึงพยายามสร้างวิธีการในการตัดสินใจว่างานโครงการใดมีความเหมาะสมที่จะใช้วิธีการก่อสร้าง (Labour Based Construction) โดยเริ่มรวบรวมศึกษา ข้อจำกัด ข้อดี ข้อเสีย ของการก่อสร้าง โดยวิธีใช้แรงงานเป็นหลัก มาใช้ร่วมกับเทคนิคของการ Ranking และ Weighting ประกอบทฤษฎี Utility การศึกษาได้เลือกทำการศึกษาที่จังหวัดลำพูน โดยทำการแจกแบบสอบถามให้แก่กลุ่มบุคคลต่างๆ 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มข้าราชการ กรรมกร, ลูกจ้าง และพนักงาน ผู้นำ, ผู้มีบทบาทตามตำบล และกลุ่มประชาชนทั่วไป จากแบบสอบถามได้นำมาวิเคราะห์หาค่า Vj โดยอาศัยวิธี Raw Ranking แล้วจึงนำมาทำเป็น Composite Ranking จากนั้นจึง Normalized ค่าทั้งหมดเพื่อปรับเป็น Relative Weight ของแต่ละข้อพิจารณา (R i) ส่วนค่า Wi มีขอบเขตตั้งแต่ 1 ถึง 5 ผลของการศึกษาครั้งนี้ แบบจำลองเพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกวิธีในการก่อสร้างถนนชนบทเขตจังหวัดลำพูน ดังนี้ U (R 1, R2, …R7) = (23.43) (W1)+ (18.81) (W2) (W2) + (14.19) (W3)+ (12.22) (W4) + (11.39) (W5)+ (12.17) (W6)+ (7.79) (W7) สมการนี้ได้ทดลองใช้กับโครงการทดลองศึกษาที่จังหวัดลำพูนทั้งสามโครงการได้ค่า Utility ระหว่าง 350 – 410 จากการประเมินผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้ผลกำไร อีกทั้งทางด้านวิศวกรรมก็เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้เพราะค่า Wj ของทั้งสามโครงการได้รับคะแนนที่สูง ในทางตรงกันข้าม หากว่าในพื้นที่จะไปดำเนินการก่อสร้าง ประชากรมีรายได้ดี ไม่มีปัญหาการว่างงานและด้านอื่นๆ ค่า Wj ก็จะต่ำลง ซึ่งทำให้ค่า Utility ลดต่ำลงด้วย แต่อย่างไรก็ตามค่า Utility เป็นเพียงตัวเลขเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกวิธีการใช้แรงงานเป็นหลักในการก่อสร้าง ถ้าหากว่าโครงการใดมีค่า Utility ต่ำ แต่นโยบายต้องการที่จะใช้วิธีการก่อสร้างโดยใช้แรงงานเป็นหลัก ผลที่ได้รับอย่างไรก็มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในบริเวณทั้งมากกว่าวิธีการก่อสร้างแบบอื่นๆ แต่ผลกำไรทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ย่อมไม่อาจเทียบได้กับโครงการที่มีค่า Utility 350 หรือมากกว่า ซึ่งได้ผลดีมาก
Other Abstract: The unemployment problem in rural Thailand is one major concern for any related agencies the Rural Employment Generation Programme (REGP) has been established to create jobs and distribute income to the rural population. Nevertheless, as most REGP projects are of considerable size and lack sufficient technical and administrative staff, the quality of work and cost – effectness are reduced. This study, therefore, aim to find a method to determine which projects ought to be carried out by means of labour- based construction the limitations, advantages, and disadvantages of the labour – based construction method were analysed in conjunction with the techniques of ranking and weighting, and the utility theory The Lampoon Province was chosen as the location under study the subjects who served as respondents to the questionnaires were divided into four gaps, government officials, labourers and wagemakers, community leaders, and people in general. The response data were analysed and the Vj value was calculated by the method of Raw Ranking and Composite Ranking respectively. The derived value was normalized to be used as a relative weight for each item (R i) .The W i value ranged from 1 to 5. U (R 1, R2, …R7) = (23.43) (W1)+ (18.81) (W2) (W2) + (14.19) (W3)+ (12.22) (W4) + (11.39) (W5)+ (12.17) (W6)+ (7.79) (W7) This equation was experimentally used with the three pilot labour – based road construction projects in Lampoon. The derived utility values ranged from 350 to 410. By economic and social evaluations, the projects were considered profitable. They were also approved in the engineering aspect as the W j values were high all across the three projects. On the contrary, it was discovered that in the areas where people are better off and encounter no unemployment or any serious problems, the W j values were low, reducing the utility value accordingly. However, the utility value is only an index to assure planner’ s decision to use the labour – based construction method. If decision was made to use labour – based construction method for a project with low utility value, there will still be economic and social gain but the benefit will not be as high as those of which the utility value is 350 or higher.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21534
ISBN: 9745661376
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorasak_Sa_front.pdf570.14 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch1.pdf864.82 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch2.pdf650.03 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch3.pdf853.45 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch4.pdf444.09 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch5.pdf708.07 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch6.pdf581.77 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_ch7.pdf606.83 kBAdobe PDFView/Open
Sorasak_Sa_back.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.