Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21546
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิ่นกร ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorวีระ รอดชีวัน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-18T09:12:36Z-
dc.date.available2012-08-18T09:12:36Z-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21546-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en
dc.description.abstractในปัจจุบัน ประเทศไทยมีรูปการปกครองท้องถิ่นอยู่ทั้งหมด 4 รูปด้วยกัน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และกรุงเทพมหานคร ในบรรดาองค์กรท้องถิ่นทั้ง 4 รูป เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้ถ้าไม่พิจารณากรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นองค์กรท้องถิ่นนครหลวงรูปพิเศษแล้ว กล่าวได้ว่า ถ้าจะพิจารณาเฉพาะทางด้านโครงสร้างที่เป็นทางการแล้วเทศบาลเป็นองค์กรท้องถิ่นที่สมบูรณ์แบบที่สุด มีความเป็นอิสระมากที่สุด และมีกำเนิดมานานที่สุด อย่างไรก็ตามเทศบาลซึ่งมีกำเนิดมานาน 40 กว่าปีแล้ว แต่ก็ยังไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะมีปัญหาทางการบริหารมากมาย ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ ปัญหาทางการคลังของเทศบาล โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับการที่เทศบาลมีรายได้น้อยไม่พอกับรายจ่าย ในการบริหารงานประจำ หรือเทศบาลมีรายได้ไม่พอที่จะนำไปพัฒนาท้องถิ่นโดยเฉพาะการพัฒนาท้องถิ่นโครงการระยะยาวได้ ซึ่งปัญหาทางการคลังของเทศบาลดังที่กล่าวนี้ มีความสำคัญต่อการบริหารการปกครองท้องถิ่นของประเทศ โดยเฉพาะองค์กรท้องถิ่นในรูปเทศบาลเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้หยิบยกเอาเรื่องการคลังของเทศบาลเป็นปัญหาสำคัญในการศึกษา ในการศึกษาการคลังของเทศบาลนี้ ผู้วิจัยต้องการมุ่งศึกษาเพื่อค้นหาว่าเทศบาลมีปัญหาทางการคลัง โดยเฉพาะเกี่ยวกับรายได้อย่างไร ปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุมาจากอะไรและมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลให้เจริญมากน้อยแค่ไหนเพียงไร ทั้งนี้โดยต้องการศึกษาว่า ประการแรก การทีส่วนกลางควบคุมทางการคลังของเทศบาลมากเกินไป ประการที่สอง การที่ระบบการจัดสรรเงินอุดหนุนจากส่วนกลางยังไม่เป็นธรรมและประการที่สาม การที่เทศบาลมีแหล่งเงินกู้น้อยทั้งสามประการนี้มีส่วนที่ทำให้เทศบาลมีรายได้น้อย ไม่พอกับรายจ่ายอย่างไร หรือมีส่วนที่ทำให้เทศบาลมีรายได้ไม่พอที่จะนำไปพัฒนาท้องถิ่นได้ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะโครงการระยะยาวได้อย่างไร ในการดำเนินการศึกษา การศึกษานี้ใช้วิธีแบบพรรณนาและวิเคราะห์เป็นส่วนใหญ่โดยค้นคว้าวิจัยจากเอกสารตำรากฎหมายระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะการคลังของเทศบาล และแนวความคิดของนักวิชาการปกครองท้องถิ่น ประกอบกับใช้วิธีแบบการศึกษาด้วยข้อมูลจริงในบางส่วนในส่วนนี้ได้เลือกตัวอย่างของการศึกษาตามแบบวิธี (Purposive Samples) จำนวนเทศบาลที่ใช้เป็นตัวอย่าง มีรวมทั้งสิ้น 15 เทศบาล และในจำนวน 15 เทศบาลได้พิจารณาจัดจำแนกขนาดของเทศบาลโดยพิจารณารายได้จริง 5 หมวดของเทศบาล (ไม่รวมเงินกู้ เงินอุดหนุน เงินสะสม และเงินอื่นๆ) ในสถิติปีงบประมาณ 2518 และ 2519 ทั้งนี้ได้แบ่งเป็นเทศบาล 3 ขนาด คือเทศบาลขนาดใหญ่ เทศบาลขนาดกลาง และเทศบาลขนาดเล็ก ทั้งนี้ข้อมูลตัวเลขจริงได้ใช้สถิติตัวเลขเกี่ยวกับรายได้รายจ่ายของเทศบาลทุกประเภทในปีงบประมาณ 2518 และ 2519 ประกอบกับมีการทอดแบบสอบถามโดยใช้ลักษณะแบบสอบถามชนิดมุ่งเข้าสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดให้ (Focused Interview) โดยได้ใช้ในการประกอบการพิจารณาในการปรับปรุงรายได้เทศบาล ผลจากการวิจัย ได้พบว่าสาเหตุใหญ่ที่ทำให้รายได้ของเทศบาลไม่พอกับรายจ่าย คือ ประการแรก ส่วนกลางควบคุมทางการคลังของเทศบาลในแง่ออกกฎหมายกำหนดประเภทของรายได้ และกำหนดลักษณะที่มาแห่งรายได้ทุกประเภทของเทศบาลอยู่ในวงจำกัด โดยเฉพาะรายได้จากภาษีอากร ซึ่งเป็นประเภทรายได้สำคัญอันดับ 1 และค่าธรรมเนียม ค่าปรับและค่าใบอนุญาต ส่วนกลางได้กำหนดอัตราจัดเก็บภาษีตามกฎหมายอยู่ในอัตราต่ำ หรือฐานภาษีต่ำ ประการที่สอง ในจำนวนรายได้ประเภทภาษีอากรที่เทศบาลมีอยู่ก็ยังถูกจำกัดโดยส่วนกลางอีกว่า จะกำหนดแบ่งสรรให้เทศบาลได้รับเป็นจำนวนมากน้อยเท่าไร ประการที่สาม ส่วนกลางกำหนดประเภทรายได้ ประเภทภาษีอากรให้แก่เทศบาลมีจำนวนน้อยประเภท ผลจากการวิจัยพบว่า สาเหตุใหญ่ที่ทำให้เทศบาลมีรายได้ไม่พอที่จะนำไปพัฒนาท้องถิ่นได้ดีเท่าที่ควร คือประการแรก ส่วนกลางกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินอุดหนุน โดยเฉพาะเงินอุดหนุนเทศบาลเพื่อการบูรณะท้องถิ่นและกิจการอื่นทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจเทศบาลไม่เป็นธรรม กล่าวคือ หลังจากเทศบาลได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลทำให้เทศบาลสามารถมีรายได้พอที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารงานประจำได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาท้องถิ่นได้มากมายเท่าไรนัก หรือบางแห่งไม่สามารถนำไปพัฒนาท้องถิ่นได้เลย ประการที่สอง ส่วนกลางควบคุมเทศบาลในการหาแหล่งเงินกู้ให้เทศบาล กล่าวคือ ส่วนกลางกำหนดให้เทศบาลมีแหล่งเงินกู้ได้เพียงแหล่งเดียว คือ กู้ได้จากกองเงินทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล (ก.ส.ท.) จะกู้จากองค์การธุรกิจเอกชนหรือองค์การรัฐบาลก็ไม่ได้ ทั้งๆ ที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดให้เทศบาลมีสิทธิกู้เงินจาก กระทรวง ทบวง กรม หรือองค์การอื่นๆ ซึ่งในทางปฎิบัติ เทศบาลก็กู้เงินจาก ก.ส.ท. เพียงแห่งเดียวเท่านั้น นอกจากนี้เทศบาลก็ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกู้เงินจาก ก.ส.ท. นี้เท่าไรนัก เพราะว่าหลักเกณฑ์กำหนดให้เทศบาลกู้เงินได้ในอัตราที่น้อย ดอกเบี้ยเงินฝากที่เกิดจากเงินสะสมของเทศบาล ก็ได้รับในอัตราที่น้อย สาเหตุที่ส่วนกลางทำการควบคุมเทศบาลในลักษณะดังกล่าวข้างต้นนี้ สืบเนื่องมาจากว่า รัฐบาลและรัฐสภาไม่มีความสนใจต่อปัญหาการปกครองท้องถิ่น จึงไม่ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาการปกครองท้องถิ่น ทั้งนี้ดูได้จากนโยบายของรัฐบาลเกือบทุกๆ รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายในเรื่องการพัฒนา การปกครองท้องถิ่นเลย.-
dc.description.abstractalternativeThere are four forms of local government in Thailand : Frovincial, municipality, sanitation and Bangkok Metropolitan Administration. Comparing the formal structures of the four, municipal administration has the ut most autonomy in administering its own affairs. Despite the forty – years of experience of municipal government in Thailand, several administrative problems still remain. Mainly, there is evidently a revenue financial crisis in every municipal government. Municipalities in Thailand are unable to carry on their development programs for the well- beings of the local people because they do not have a budget large enough to do so. The purposes of the author are to find out, first, what are the financial problems that any municipality has to face?; secondly, what are the causes of such problems?; thirdly, what are the consequences of those problems towards the policy – making in municipalities? In order that we can provide the above questions with appropriate answers, the author selects three major determinants : overcentralization on the part of the government, the unfair allocation of grants, and the very few existing sources of loans. Eocumentary research and survey research are two main research methods utilized in this study. Hefore the beginning of the field research, the author did an intensive study on existing literature in the area of Thai municipality. Fifteen municipalites were chosen as case studies and subdivided into three groups, small, medium and large, according to their budgets size during the years 1975 – 1976. The questionnaires were constructed by applying focused – interview techniques. There are three reasons why municipalities do not have enough income to carry on their routine activities. First of all, the central government, through legislative procedures, dictated the sources and categories of income. This is very obvious in the case of taxes and duties, the primary source of income, and fees, fines and permits, the secondary sources of income. For the above five sources of income, the central government has put rate of taxation or low ceiling of tax base? Moreover, the central government also determines the proportion of taxes and duties collected that should return to the municipalities. Lastly, the types of taxes and duties are also limited by the central government. Besides routine activities, municipalities do not have sufficient revenue to implement their development programs. The rules and regulations, as set by the central government, for allocating general and specific grants are not fair. Furthermore, the central government allows municipalities to borrow money from only one source, Municipal Grant – in – aid Fund. The rules that govern the borrowing process is also unfair. In conclusion, the main reason for municipalities’ inadequate income lies in the fact that the Central government and the parliament do not pay enough attention to the complexities of local government. Not a single government in Thailand has yet allowed municipalities to have enough administrative autonomy to carry on their own activities for the well – being of the local people.-
dc.format.extent423711 bytes-
dc.format.extent595742 bytes-
dc.format.extent755210 bytes-
dc.format.extent2070689 bytes-
dc.format.extent391956 bytes-
dc.format.extent545778 bytes-
dc.format.extent276411 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการคลังขององค์กรท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณีการคลังของเทศบาลen
dc.title.alternativeFinance of local government : a case study in some minicipalityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการปกครองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Veera_Ro_front.pdf814.2 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch1.pdf868.05 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch2.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch3.pdf891.82 kBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch4.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch5.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch6.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch7.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_ch8.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Veera_Ro_back.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.