Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21775
Title: การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นชาติในกีฬามวยไทย
Other Titles: Communicating national identities in Muay Thai
Authors: ทิฆัมพร เอี่ยมเรไร
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@Chula.ac.th
Subjects: มวยไทย -- การสื่อสาร
อัตลักษณ์ -- การสื่อสาร
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. วิเคราะห์ความหมาย และกระบวนการประกอบสร้างความหมายของมวยไทยที่เกี่ยวข้องกับ “ความเป็นชาติ” ในอดีต 2. วิเคราะห์ความหมาย และกระบวนการประกอบสร้างความหมายเพื่อการสื่อสารอัตลักษณ์ “ความเป็นชาติ” ของ “สื่อมวยไทย” ในปัจจุบัน 3. วิเคราะห์บทบาทของ “สื่อมวยไทย” ในปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร “ความเป็นไทย” โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และแบ่งการวิเคราะห์ไว้ 2 แนวทางคือ 1. วิเคราะห์เชิงพัฒนาการ ใช้การวิเคราะห์เอกสาร และ 2. วิเคราะห์ภาคตัดขวาง ใช้การวิเคราะห์ตัวบท โดยเก็บข้อมูล 4 กลุ่มแยกตามลักษณะของสื่อคือ 1) ภาพยนตร์ไทยเกี่ยวกับมวยไทย 2) การแข่งขันมวยไทยทางโทรทัศน์ 3) คลิปวีดีโอการแข่งขันมวยไทยจาก youtube.com และ 4) การแข่งขันมวยไทยที่เวทีมวยลุมพินี ผลการวิจัยพบว่า 1. มวยไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันแบ่งได้ 4 ยุค คือ (1) ยุคนักรบ (2) ยุคนักรบพระราชา (3) ยุคนักกีฬา และ (4) ยุคสินค้าและอัตลักษณ์ชาติ โดยแต่ละยุคสัมพันธ์กับบริบทสังคม ที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากปัจจัยภายใน และภายนอกที่มีส่วนผลักดัน โดยยุคที่มวยไทยถูกใช้สร้างอัตลักษณ์ชาติตามแนวคิดตะวันตกคือ ยุคปัจจุบัน (ยุคสินค้าและอัตลักษณ์ชาติ) 2. "สื่อมวยไทย" ทั้ง 4 ประเภทมีระดับในการสร้างอัตลักษณ์ "ความเป็นชาติ" ต่างกัน มวยไทยที่ลุมพินีสร้าง "ความเป็นไทย" มากที่สุด ตามมาด้วยมวยไทยทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์มวยไทย และคลิปมวยไทยใน youtube.com ขณะที่คลิปมวยไทยใน youtube.com สร้าง "ความเป็นอื่น" มากที่สุดตามมาด้วย ภาพยนตร์มวยไทย มวยไทยทางโทรทัศน์ และมวยไทยที่เวทีลุมพินี 3. บทบาทของมวยไทยต่อการสร้างอัตลักษณ์ “ความเป็นไทย” มี 5 บทบาทด้วยกันคือ (1) บทบาทแบบเดิมเพื่อ “บอกกับตัวเอง” (2) บทบาทเพื่อ “บอกกับคนอื่น” (3) บทบาทด้านเศรษฐกิจ (4) บทบาทในการสร้างอัตลักษณ์ “รสนิยมแบบไทยๆ” และ (5) บทบาทที่ “ปรับตัว” เพื่อปรับประสาน (articulation) เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์
Other Abstract: Three objectives of this research project is to analyse the production process of nationalism in “Muay Thai” from the past to present, as well as to examine how “Muay Thai” communicate “Thai national identity” in contemporary society. Using a qualitative research methodology, two approaches are conducted, analyzing documents historically and investigating media texts cross-sectionally. The data collection includes not only “Muay Thai” matches from Lumpinee stadium, but also film texts, television sport programmes, and video clips on youtube.com, all of whose story is about “Muay Thai”. The findings revealed that : 1. There were 4 historical phases of “Muay Thai” : (1) the Warrior era (2) the King’s Warrior era (3) the Sportman era and (4) the Commodization and National Identity, which have changed in accordance with social and cultural factors in each phase. Especially in the final phase of Commodization and National Identity, “Muay Thai” adopts the concept of “nationalism” from the West. 2. The construction of “Thai national identity” varies according to different “Media-Muay Thai”. The process of “Thainess” is most significantly constructed in Lumpinee stadium in relation to “Muay Thai” film texts, television sport programmes, and video clips on youtube.com. On contrary, the construction of “otherness” is most apparent in the case of video clips on youtube.com in comparison with film texts television sport programmes and Lumpinee stadium. 3. Five significant functions of Muay Thai in the construction of “Thai national identity” are to 1) ascribe “ourselves”, 2) generate “otherness”, 3) support creative economy, 4) construct the taste of Thai entertainment, and 5) articulate “Thainess” into the process of globalization.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21775
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.473
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.473
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tikamporn_ei.pdf4.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.