Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2182
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาพลศึกษา | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | ญี่ปุ่น | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-24T12:24:31Z | - |
dc.date.available | 2006-08-24T12:24:31Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2182 | - |
dc.description.abstract | การวิจัย เรื่อง "การเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการแนะแนวสุขภาพระหว่างโรงเรียนประถมศึกษาในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย" (A Comparison of State and Problems of Health Guidance between Elementary Schools in Japan and Thailand) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ชั้นเรียนละ 1 คน จำนวนรวม 360 คน จากโรงเรียนประถมศึกษา 30 โรงเรียน ในเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จำนวน 180 คน และโรงเรียนประถมศึกษา 30 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประเทศไทย จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลของโรงเรียนประถมศึกษาในประเทศไทย และอาจารย์ที่ปรึกษาของประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลของโรงเรียนประถมศึกษาในประเทศญี่ปุ่น ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นได้หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) One Way ANOVA และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้วิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศญี่ปุ่น โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเพียงด้านเดียว คือ ด้านหัวข้อเรื่องการแนะแนวสุขภาพ หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดในเรื่องการจัดหัวข้อเรื่อง "ความปลอดภัย" รองลงมาได้แก่ การจัดหัวข้อเรื่อง"สุขภาพส่วนบุคคล" และเรื่อง"การจัดให้ครูประจำชั้นเป็นผู้แนะแนวสุขภาพ" ตามลำดับ ส่วนการปฏิบัติที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ "การจัดทัศนศึกษาตามหน่วยงานที่ให้บริการทางสุขภาพ" 2. ปัญหาการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศญี่ปุ่น โดยรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่ามีปัญหามากที่สุดในเรื่อง "การจัดทัศนศึกษาตามหน่วยงานที่ให้บริการทางสุขภาพ" รองลงมาคือ เรื่อง"การจัดทำสถิติการใช้บริการแนะแนวสุขภาพ" และ "การรวบรวมข้อมูลและรายชื่อหน่วยงานหรือสถานที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับสุขภาพ" ตามลำดับ ส่วนปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือ เรื่องการจัดหัวข้อเรื่อง "สุขภาพส่วนบุคคล" 3. สภาพการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศไทย โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยในด้านกิจกรรมแนะแนวสุขภาพและด้านการบริหารงานแนะแนวสุขภาพ หากพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ เรื่อง"การสำรวจการดูแลสุขภาพของนักเรียน" และ "การสำรวจปัญหาสุขภาพของนักเรียน" ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน รองลงมาได้แก่ เรื่องการจัดหัวข้อเรื่อง "ความปลอดภัย"ส่วนการปฏิบัติที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ "การจัดทัศนศึกษาตามหน่วยงานที่ให้บริการทางสุขภาพ" 4. ปัญหาการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศไทย โดยรวมและรายด้านมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีปัญหาน้อยที่สุดในเรื่องการจัดหัวข้อเรื่อง "สิ่งเสพติด" 5. เมื่อเปรียบเทียบสภาพการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะด้าน "กิจกรรมแนะแนวสุขภาพ" เท่านั้น โดยประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิบัติมากกว่าประเทศไทย ส่วนปัญหาการแนะแนวสุขภาพนั้น พบว่า โดยรวม รายด้าน และรายข้อทุกข้อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยประเทศญี่ปุ่นมีปัญหามากกว่าประเทศไทย 6. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูประจำชั้นปีที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เกี่ยวกับสภาพการแนะแนะสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศญี่ปุ่น พบว่า โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูประจำชั้นในแต่ละช่วงชั้นมีความคิดเห็นว่า หัวข้อเรื่องการแนะแนวสุขภาพ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 กับครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 และครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 กับครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 7. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 3-4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เกี่ยวกับปัญหาการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศญี่ปุ่นพบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัญหาเรื่อง หัวข้อเรื่องการแนะแนวสุขภาพ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ระหว่างครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 กับครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 8. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.4 และชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5-6 เกี่ยวกับสภาพและปัญหาการแนะแนวสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาของประเทศไทย พบว่า โดยรวม และรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน | en |
dc.description.sponsorship | ทุนสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติและองค์การส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น | en |
dc.format.extent | 8721678 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การแนะแนวสุขภาพ--ไทย | en |
dc.subject | การแนะแนวสุขภาพ--ญี่ปุ่น | en |
dc.subject | โรงเรียนประถมศึกษา--ไทย | en |
dc.subject | โรงเรียนระถมศึกษา--ญี่ปุ่น | en |
dc.subject | โครงการสุขภาพในโรงเรียน | en |
dc.title | การเปรียบเทียบสภาพ และปัญหาการแนะแนวสุขภาพ ระหว่างโรงเรียนประถมศึกษาในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A comparison of state and problems of health guidance between elementary schools in Japan and Thailand | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Aimutcha.W@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Research Reports |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.