Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21857
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดนัย ทายตะคุ-
dc.contributor.authorมานพ ศักดิ์อาธรทรัพย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-28T13:51:30Z-
dc.date.available2012-08-28T13:51:30Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21857-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินต่อระบบอุทกนิเวศ โดยการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินจากพื้นที่เกษตรกรรมร่องสวนแบบดั้งเดิมมีสวนไม้ยืนต้นและร่องสวนเปลี่ยนแปลงเป็นพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร การเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาสำคัญต่อระบบอุทกนิเวศ (Marsh, 2005) โดยเฉพาะด้านการหน่วงน้ำของพื้นที่ภูมิทัศน์ซึ่งอยู่ในกระบวนการทางอุทกนิเวศส่งผลต่อปริมาณน้ำท่า(Runoff) โดยการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของช่วงเวลาการไหลในลำน้ำหลักส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมโดยรวม กระบวนการของการวิจัยเริ่มด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินมีผลกระทบต่อกระบวนการทางอุทกนิเวศอย่างไร จากนั้นทำการศึกษากรอบแนวคิดทฤษฎีด้านนิเวศภูมิทัศน์ (Landscape ecology) และทฤษฎีด้านอุทกนิเวศ (Hydro-Ecology) และมีการเก็บข้อมูลของพื้นที่กรณีศึกษาบริเวณคลอง อ้อมนนท์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี โดยมีข้อมูลที่สำคัญ คือ ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2523 เป็นตัวแทนของรูปแบบที่ 1 พื้นที่เกษตรกรรมแบบร่องสวนและภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ.2553 เป็นตัวแทนของรูปแบบที่ 2 พื้นที่หมู่บ้านจัดสรร จากนั้นนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการสร้างรูปแบบการวิเคราะห์ โดยกำหนดเงื่อนไขสถานการณ์เชิงอุทกวิทยาเพื่อประมาณการหาปริมาณน้ำกับช่วงเวลาการหน่วงน้ำจากการดักทรงพุ่ม (Canopy interception) และการกักเก็บผิวดิน (Surface storage) เมื่อได้ผลออกมาแล้วนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบและอธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินต่อระบบอุทกนิเวศ ผลการศึกษาวิจัยเมื่อเปรียบเทียบพื้นที่เกษตรกรรมแบบร่องสวนและพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรพบว่าพื้นที่เกษตรกรรมแบบร่องสวนมีปริมาณน้ำและช่วงเวลาการหน่วงน้ำมากกว่าพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร ปริมาณน้ำดังกล่าวเมื่อไม่มีพื้นที่สำหรับหน่วงน้ำการระบายน้ำออกจากพื้นที่จึงมีระยะเวลาลดลงและทำให้เพิ่มอัตราการไหลของปริมาณน้ำท่าในลำน้ำหลักส่งผลให้บริเวณช่วงท้ายน้ำมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุทกภัยซึ่งภูมิสถาปนิกจำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินต่อระบบอุทกนิเวศและตระหนักถึงความสำคัญด้านการบริการเชิงนิเวศของภูมิทัศน์ซึ่งเสมือนเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ (Detention area)หรือพื้นที่หน่วงการไหล(Retarding area)en
dc.description.abstractalternativeThe study of impact of land covers change on hydro-ecological system compared land covers change of traditional agriculture land cover and housing land cover. The land covers change affected the hydro-ecological system (Marsh, 2005), resulted in change of rain water runoff detention capacity detention. The research question is the change of land cover effect on hydro-ecological system. Primary data are collected from Omm-Nont canal in Amphoe Bang Yai, Nonthaburi province. Secondary data including 1980 and 2012 aerial photograph, Royal Thai Survey Department. The 1890 photo represent Omm-Nont Agricultural landscape and the 2012 photo portrayed current urbanized high-density housing landscape. The analysis is situation-based hydrological simulation searching for relation between rain volume, tree canopy inception and surface detention capacity. The finding explained land cover change effect on hydro-ecological system. The research found that agricultural land cover has higher water detention capacity and longer draining period than housing land cover. The higher amount of water from housing land cover is due to lack of water detaining space. The excess water contributed to downstream flooding. Landscape architect needs to understand the importance of landscape as water retarding area.en
dc.format.extent7422914 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.500-
dc.subjectอุทกวิทยา -- นิเวศวิทยา -- นนทบุรีen
dc.subjectสิ่งปกคลุมดิน -- นนทบุรีen
dc.titleผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินต่อระบบ อุทกนิเวศ กรณีศึกษา บริเวณคลองอ้อมนนท์ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรีen
dc.title.alternativeThe impact of landcovers change on hydro-ecological system : case study of Omm-Nont Canal, Bangyai, Nonthaburien
dc.typeThesises
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorDanai.Th@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.500-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manop_sa.pdf7.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.