Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์-
dc.contributor.authorจิรายุ บุญตัน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-09-08T08:33:48Z-
dc.date.available2012-09-08T08:33:48Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22034-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractห้องตรวจรักษาที่มีการปรับอากาศของโรงพยาบาล เป็นสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการกระจายเชื้อโรคทางอากาศ หากแต่การออกแบบห้องตรวจรักษาในปัจจุบัน มักไม่ได้มีการคำนึงถึงการระบายอากาศที่จะส่งเสริมการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศ ดังนั้น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการระบายอากาศของห้องตรวจรักษาในปัจจุบัน และวิเคราะห์รูปแบบการระบายอากาศของห้องตรวจรักษาตัวอย่างขนาด 3 x 4 x 3 เมตร เน้นที่ปัจจัยตำแหน่งช่องปล่อยลมเข้า ตำแหน่งช่องปล่อยลมออก อัตราการถ่ายเทอากาศภายใน และลักษณะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ที่ส่งผลต่อลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศภายในห้องและการระบายเชื้อโรคออกจากพื้นที่ โดยใช้วิธีการจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม SolidWorks Flow Simulation 2011 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการประเมินความผันผวนของอากาศจากรอบการหมุนของอากาศแบบไหลวน จากผลการวิจัยพบว่ารูปแบบของห้องที่มีลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศที่มีความผันผวนน้อยที่สุดและมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อน้อยที่สุดได้แก่ห้องตรวจรักษาที่ติดตั้งช่องปล่อยลมเข้าบริเวณกึ่งกลางเพดานของห้องซึ่งมีอัตราการถ่ายเทอากาศเท่ากับ 12 ACH (ความเร็วลม ณ ช่องปล่อยลมเข้า 0.6 เมตรต่อวินาที) และติดตั้งช่องปล่อยลมออกขนาด 10 นิ้วในบริเวณผนังด้านที่อยู่ใกล้กับผู้ป่วยมากที่สุด จากผลการวิจัยสรุปได้ว่าเพื่อการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศด้วยระบบระบายอากาศที่ดี ผู้ออกแบบควรกำหนดให้ช่องปล่อยลมออกอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับผู้ป่วยมากที่สุด และควรกำหนดให้อัตราความเร็วลม ณ ช่องปล่อยลมเข้าอยู่ในระดับต่ำเพื่อลดความผันผวนของอากาศ และเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศด้วยระบบระบายอากาศในห้องตรวจรักษามากขึ้น งานวิจัยชิ้นนี้เสนอให้มีการศึกษาเพิ่มเติมในปัจจัยที่อาจส่งผลต่อลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศภายในห้องตรวจรักษา โดยเฉพาะปัจจัยด้านขนาดของช่องปล่อยลมเข้า ลักษณะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ และแนวทางการติดตั้งระบบระบายอากาศในสถานที่จริงen
dc.description.abstractalternativeAir-conditioned hospital examination rooms are areas prone to airborne infection. However, at present, the design process of examination rooms in general has not taken into consideration factors regarding the ventilation system that will enhance the control of airborne infection. Therefore, this research aimed to evaluate the effectiveness of ventilation systems in such areas using a 3 x 4 x 3 meter hospital examination room as a case study. The factors analyzed were the position of air inlet, the position of air outlet, the rate of air change, and the furniture layout, which affected the flow of air inside the room and the release of microorganisms out of the room. A simulation was carried out using the 2011 SolidWords Flow Simulation program. The data were analyzed by evaluating air variability based on the occurrence of air turbulence in simulated space. The results showed that the type of hospital examination rooms with the least degree of airturbulance, and thus the lowest risk of airborne infection, was one where an air inlet had been installed near the center of the ceiling and a 10-inch air outlet had been set up on the wall nearest the patient. In these rooms, the air flow rate was 12 ACH when the speed of air flow at the air inlet was 0.6 m/s. It can be concluded from the results that a ventilation system that controls airborne infection effectively has an air outlet fixed nearest the patient with the speed of air flow at the air inlet remaining low, all of which will reduce air turbulance. It is recommended that to create a better understanding of the installation of ventilation systems of airborne infection control in hospital examination rooms, further research be conducted on the factors influencing the air flow inside such quarters, particularly those concerning the size of air inlets, furniture layouts, and the installation of ventilation systems in actual settings.en
dc.format.extent11860339 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.557-
dc.subjectโรงพยาบาล -- การระบายอากาศen
dc.subjectอาคารโรงพยาบาล -- การระบายอากาศen
dc.subjectโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล -- การควบคุมen
dc.titleการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อโรคทางอากาศด้วยระบบระบายอากาศในห้องตรวจโรคen
dc.title.alternativeVentilation system for airborne infection control in hospital examination roomen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVorapat.I@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.557-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jirayu_bo.pdf11.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.