Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22037
Title: | การสร้างอารมณ์ขันในละครชุดทางโทรทัศน์แนวระทึกขวัญเชิงสืบสวนเรื่องซูเปอร์เนเชอรัล |
Other Titles: | Humour creation in detective/horror “Supernatural” T.V. series |
Authors: | ชลดา พรหมชาติสุนทร |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thiranan.A@chula.ac.th |
Subjects: | ละครโทรทัศน์ -- อารมณ์ขัน |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสร้างและประสานอารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่อง ซูเปอร์เนเชอรัล ซึ่งเป็นละครประเภทสยองขวัญเชิงสืบสวน โดยศึกษาจากละครที่ออกอากาศทุกตอน (นับถึงวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554) รวมทั้งสิ้น 6 ฤดูกาล จำนวน 126 ตอน และศึกษาทัศนคติสุนทรียรส ของผู้ชมต่ออารมณ์ขันที่ปรากฏในละครโทรทัศน์ โดยใช้แบบสอบถามอิเล็กทรอนิคส์ จำนวน 58 ชุด ร่วมกับการสังเกตการณ์เชิงมีส่วนร่วมในชุมชนออนไลน์ เว็บไซต์พันทิป.คอม และทัมเบรอะ.คอม ผลการวิจัยพบว่า ละครโทรทัศน์ชุดซูเปอร์เนเชอรัลประสานอารมณ์ขันเข้ากับแนวเรื่องสยองขวัญได้โดยการใช้องค์ประกอบของละคร ได้แก่ ตัวละคร นักแสดง และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละคร เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบฉาก แสง สีและขาวดำ เสียง การจัดองค์ประกอบของภาพและฉาก พบว่าการเกิดอารมณ์ขันนั้นสามารถเกิดได้จาก องค์ประกอบสอดคล้องกัน นั่นคือมีความสัมพันธ์กันและสร้างอารมณ์ไปในทิศทางเดียว และองค์ประกอบขัดแย้งกัน ซึ่งเกิดขึ้นจากหลักของคู่ตรงข้าม (Binary Opposite) ซึ่งสร้างความขัดแย้ง ความไม่เป็นไปตามกฎ ไม่เป็นปกติจึงเกิดอารมณ์ขันขึ้น โดยใช้กลวิธีการสร้างอารมณ์ขัน 10 รูปแบบได้แก่ เสียดสี เหน็บแนม ล้อสังคม ทำให้เป็นเรื่องสัปดน นำภาพยนตร์หรือละครมาทำให้ขำขัน นำเรื่องของตนเองแทรกไว้ในเรื่อง ทำให้เรื่องจบแบบผิดความคาดหมาย กำหนดให้บุคคลในเรื่องตีความประสบการณ์ผิด สร้างความขัดแย้งในตนเอง ลวงให้คิด ใช้ตรรกะวิทยาผิดๆ ใช้คำศัพท์แสลงหรือศัพท์วัยรุ่น จากการสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับอารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัล พบว่า อารมณ์ขันในละครโทรทัศน์เรื่องซูเปอร์เนเชอรัลเพิ่มอรรถรสให้กับเรื่องในระดับมาก องค์ประกอบของละครที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์ขันมากที่สุดคือ ตัวละคร กลวิธีการสร้างสรรค์อารมณ์ขันที่ส่งผลให้เกิดอารมณ์ขันมากที่สุดคือ การนำภาพยนตร์หรือละครเรื่องอื่นมาทำให้ขำขัน และฤดูกาลที่ปรากฏอารมณ์ขันมากที่สุดคือ ฤดูกาลที่ 5 จังหวะของการใช้อารมณ์ขันที่พบ ได้แก่ ความเดิมตอนที่แล้ว ไตเติ้ล ใช้เปิดเรื่อง ก่อนสถานการณ์คับขัน ขณะอยู่ในสถานการณ์คับขัน หลังสถานการณ์คับขัน และพบว่าผู้ชมได้รับสุนทรียะจากการประสานอารมณ์ขันเข้ากับแนวเรื่องสยองขวัญ ซึ่งกลวิธีการสร้างอารมณ์ขันนั้นมีความใกล้เคียงกับการสร้างความระทึกขวัญและความสยองขวัญ นั่นคือลวงให้ผู้ชมคิดไปอีกทาง ก่อนจะหักกลับไปอีกทางหนึ่ง |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study humour creation in detective/horror “SUPERNATURAL” T.V.series, which has been on-aired since 2005. (126 episodes, until 22 September, 2011) The research also aims to study how to harmonize humour in horror-themed T.V. series and how the audience’s perception towards the humour in the series can be understood. The research is a consensus research, collected from every on-aired episode. To study audiences, mixed methods are applied to in this study by using 58 online questionnaires and observation in online communities: seriesclub.pantipmember.com and tumblr.com Research result of this study shows that the “SUPERNATURAL” T.V. series creates humour from drama elements: characters, costumes and props, light / colours and black and white, mise-en-scene and setting by using 10 strategies: sarcastic dialogue, sexual subtext, parody of another T.V. series / film, parody of cast and crew, self-conflict, plot twist, illogical logic and fallacy, misinterpret of character, slang / colloquialisms and specific jokes based on “SUPERNATURAL” T.V. series The study about audiences shows that humour creation in “SUPERNATURAL” can amuse audiences in high level. The most effective drama element that can create humour is “Character”. The humour creation strategie, “Parody”, affects the audiences the most. The funniest season is “Season 5”. The study also shows that mood of humour appears in these following timings: previous-episode teaser, card title, opening scene, crisis and closure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22037 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.560 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.560 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chonlada_pr.pdf | 7.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.