Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22048
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง
Other Titles: Selected factors related to depression in adult patients with brain tumor
Authors: ดรุณวรรณ จันทร์แก้ว
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th
Subjects: สมอง -- เนื้องอก -- ผู้ป่วย
ความซึมเศร้า
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระยะเวลาการเจ็บป่วย การทำหน้าที่ด้านร่างกาย การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง จำนวน 105 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ที่มารับการตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมประสาทของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม แบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกาย แบบประเมินการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .72, .90, และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะซึมเศร้าเฉลี่ยโดยรวมในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเนื้องอกสมอง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.10 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.91) 2. รายได้ และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ โดยมีค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์-ไบซีเรียล (rpb) เท่ากับ -.265 และ –.375 ตามลำดับ 3. เพศ อายุ ระยะเวลาการเจ็บป่วย การทำหน้าที่ด้านร่างกาย การทำหน้าที่ด้านการ รู้คิด ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง
Other Abstract: The purpose of this study were to study depression in adult patients with brain tumor and examine the relationships between sex, age, income, length of illness, functional status, cognitive status, social support and depression in adult patients with brain tumor. The subjects were 105 out-patients with brain tumor at neurosurgery clinics of King Chulalongkorn Memorial Hospital and Police General Hospital, selected by a multi-stage sampling. The instruments used for data collection were the demographic data and the illness data form, the Karnofsky Performance Status Scale (KPS), MMSE-Thai 2002, the social support questionnaire of Brandt and Weinert ‘s concept, Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale (CES-D) questionnaire. The instruments were reviewed by a panel of experts for the content validity. Internal consistency reliability determined by Cronbach’s alpha were .72, .90, and .84 respectively. Data were analyzed using descriptive statistic and Pearson Product Moment Correlation and Chi- square test at significant level of .05. The major findings were as follows 1.Mean of depression scores in patients with brain tumor indicating depression with mean scores equal to 16.10 (SD = 8.91). 2.There were negatively statistical correlation between income, social support and depression in patients with brain tumor at the level of .05 (rpb = -.265 and –.375, respectively). 3.There were no statistical correlation between sex, age, length of illness, functional status, cognitive status, and depression in patients with brain tumor.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22048
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.668
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.668
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
darunwan_ju.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.