Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22063
Title: | ผลของการสอนวาดเส้นโดยใช้รูปแบบกิจกรรมของ เบ็ตตี เอ็ดเวิร์ดส์ ที่มีต่อความสามารถในการวาดเส้นแบบเหมือนจริงของเด็กอายุ 15-17 ปี |
Other Titles: | Effects of drawing teaching using Betty Edwards’ activity model on realistic drawing ability of 15-17 year-old children |
Authors: | กิตติคุณ เย็นกล่ำ |
Advisors: | อภิชาติ พลประเสริฐ สันติ คุณประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Apichart.P@Chula.ac.th Santi.K@Chula.ac.th |
Subjects: | เอ็ดเวิร์ดส์, เบตตี, ค.ศ. 1926- ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การวาดเส้น -- เทคนิค Edwards, Betty, 1926- Art -- Study and teaching (secondary) Drawing -- Technique |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของการสอนวาดเส้นโดยใช้รูปแบบกิจกรรมของ เบ็ตตี เอ็ดเวิร์ดส์ ที่มีต่อความสามารถในการวาดเส้นแบบเหมือนจริงของเด็กอายุ 15-17 ปี โดยมีสมมติฐานที่ตั้งไว้คือ หลังการเรียนวาดเส้นโดยใช้รูปแบบกิจกรรมของ เบ็ตตี เอ็ดเวิร์ดส์ ผู้เรียนจะมีความสามารถในการวาดเส้นแบบเหมือนจริงสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กอายุ 15-17 ปี โรงเรียนาด้วงวิทยา จังหวัดเลย ที่มีผลการเรียนวิชาศิลปศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 20 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการวาดเส้นแบบเหมือนจริงโดยใช้รูปแบบกิจกรรมของ เบ็ตตี เอ็ดเวิร์ดส์ จำนวน 4 แผน 2) แบบประเมินผลงานการวาดเส้นแบบเหมือนจริง 3) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการวาดเส้นแบบเหมือนจริง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการสอนวาดเส้นแบบเหมือนจริง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า เด็กอายุ 15-17 ปี ที่เรียนวาดเส้นแบบเหมือนจริงโดยใช้รูปแบบกิจกรรมของ เบ็ตตี เอ็ดเวิร์ดส์ มีทักษะความสามารถในการวาดเส้นแบบเหมือนจริงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีคะแนนค่ามัชฌิมเลขคณิตคือ 1) แบบประเมินผลงาน มีค่าทักษะการวาดเส้นแบบเหมือนจริงสูงกว่าก่อนเรียน อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความรู้ความเข้าใจในการวาดเส้นแบบเหมือนจริง มีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อยู่ในระดับดี และ 3) ความคิดเห็นที่มีต่อการสอนวาดเส้นแบบเหมือนจริง มีค่าอยู่ในระดับดี สรุปได้ว่า การทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของการสอนได้อย่างสมบูรณ์นั้น ผู้สอนควรมีการจัดเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทักษะพิสัย พุทธิพิสัย และจิตพิสัย เพราะว่าแต่ละด้านมีส่วนสนับสนุน ส่งเสริมซึ่งกันและกัน สำหรับการสอนวาดเส้นโดยใช้รูปแบบกิจกรรมของ เบ็ตตี เอ็ดเวิร์ดส์ ถือเป็นรูปแบบที่ช่วยให้เด็กพัฒนาความสามารถทั้งในด้านทักษะการวาดเส้นแบบเหมือนจริง การมีความรู้ความเข้าใจในการวาดเส้นแบบเหมือนจริง และมีเจตคติที่ดีต่อการวาดเส้นแบบเหมือนจริง |
Other Abstract: | To study the effects of drawing teaching using Betty Edwards’ activity model, to teach realistic drawing to 15-17 year-old children. The sample group was a purposed group of 20 children who had the same basic average grades of art education subject at middle level. The hypothesis of this research was that, after the teaching of Betty Edwards’ activity model, the children’s realistic drawing ability will be higher than before at the statistical significance level of .05. The research instruments were: 1) Four lesson plans of realistic drawing, 2) An evaluation form of realistic drawing skill, 3) An evaluation form of realistic drawing knowledge, 4) A set of children opinion questionnaires upon the learning of realistic drawing lessons. The data were analyzed by using the arithmetic mean (X-bar), standard deviation (S.D.), percentage frequency, and t-test. The result found that the children’s realistic drawing ability were higher than before at the statistical significance level of .05. The statistic value showed that: 1) Children’s realistic drawing skills were higher at the medium level, 2) Children’s realistic drawing knowledge were higher at the good level, 3) Children’s opinions upon the learning activity of four lesson plans were at the good level. It can be concluded that teaching of realistic drawing by using Betty Edwards’ activity model can improve the children’s learning skills in three learning domains: 1) psychomotor, 2) cognitive, and 3) affective. In order to the make children’s learning behavior changes for the purposive results, teachers should be aware to include all three learning domains in their lesson plans. Each domain has an important aspect which supports each other. The three-domain integrative lessen plans can help teachers to acquire the successful teaching of realistic drawing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22063 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.679 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.679 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kittikoon_ye.pdf | 15.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.