Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22156
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรมณี สงวนดีกุล-
dc.contributor.authorปิยะนันท์ ชื่อเสียง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-09-24T02:54:57Z-
dc.date.available2012-09-24T02:54:57Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22156-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากโครง ปลานิล และโครงปลากะพง ให้มีสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (วิเคราะห์ โดยวิธี DPPH, metal chelating activity และวิธี TBA) และยับยั้งการทำงานของ ACE (% ACE inhibition) โดยย่อยสลายโปรตีนจากโครงปลานิล และโครงปลากะพงบด ด้วยเอนไซม์ Flavourzyme® 1000 L ในปริมาณ 0, 1, 2 และ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัวอย่าง เป็นเวลา 0, 1, 2 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า การเพิ่มปริมาณเอนไซม์ และเวลาในการย่อยส่งผลให้ % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio และ % ACE inhibition ของโปรตีนไฮโดรไลเซทมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) จากสภาวะที่ไม่ผ่านการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ โดยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากโครงปลานิล คือ สภาวะที่ย่อยสลายด้วยเอนไซม์ ปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัวอย่าง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง โปรตีนไฮโดรไลเซทที่ได้มีค่า % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio และ % ACE inhibition เท่ากับ 90.38, 91.80, 70.54 และ 81.90 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่สภาวะที่เหมาะสมสำหรับการผลิตโปรตีนไฮโดรไลเซทจากโครงปลากะพง คือสภาวะที่ย่อยสลายโดยใช้ปริมาณเอนไซม์ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัวอย่าง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง มีค่า % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio และ % ACE inhibition เท่ากับ 96.80, 92.54, 90.12 และ 92.59 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ จากนั้นเตรียมโปรตีนไฮโดรไลเซทจากสภาวะที่คัดเลือกสำหรับโปรตีนไฮโดรไลเซทจากโครงปลานิลและโครงปลากะพงด้วยการทำแห้งแบบพ่นกระจาย บรรจุถุงลามิเนตชนิด PP/ AL/ PE เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 90 วัน และติดตามการเปลี่ยนแปลงสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการทำงานของ ACE ของผงโปรตีนไฮโดรไลเซทจากโครงปลานิลที่ผ่านการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ปริมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัวอย่าง เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และผงโปรตีนไฮโดรไลเซทโครงปลากะพงที่ผ่านการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ปริมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ต่อน้ำหนักตัวอย่าง เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio และ % ACE inhibition มีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p ≤ 0.05) เมื่อระยะเวลาในการเก็บรักษายาวนานขึ้น โดยสมบัติในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการทำงานของ ACE จะลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเก็บรักษาเป็นระยะเวลา 15 วัน และ 60 วัน ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe optimum condition to produce protein hydrolysate from tilapia and perch frame with antioxidant (analyzed by DPPH method, metal chelating activity method and TBA assay) and ACE inhibitory properties were investigated. Minced fish frame was enzymatically hydrolyzed by using Flavourzyme® 1000 L at different concentration (0, 1, 2 and 3 % w/w) and hydrolysis time (0, 1, 2 and 3 hrs). The results showed that enzyme concentration and hydrolysis time affected the % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio and % ACE inhibition significantly (P ≤ 0.05). Tilapia frame protein hydrolysate obtained by using 2 % Flavourzyme® 1000 L hydrolyzed for 1 hour and perch frame protein hydrolysate obtained by using 3% Flavourzyme® 1000 L for 2 hours were the selected conditions due to the high value of % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio and % ACE inhibition which were 90.38, 91.80, 70.54 and 81.90% for the selected tilapia frame protein hydrolysate, respectively. And % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio and % ACE inhibition were 96.80, 92.54, 90.12 and 92.59 % for the selected perch frame protein hydrolysate, respectively. Spray-dried of the selected protein hydrolysates from tilapia and perch frame were made. The powder protein hydrolysate were stored in laminated PP / Al / PE at room temperature for 90 days. The results showed that storage time significantly (p ≤ 0.05) affected the decreasing of % DPPH radical scavenging, % metal chelating activity, % TBA activity ratio and % ACE inhibition of spray dried tilapia and perch frame protein hydrolysate. Antioxidant and ACE inhibitor properties decreased 50% when stored for 15 days and 60 days, respectively.en
dc.format.extent2087571 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.820-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไฮโดรไลซิสen
dc.subjectปลานิลen
dc.subjectปลากระพงen
dc.subjectแอนติออกซิแดนท์en
dc.titleโปรตีนไฮโดรไลเซทจากโครงปลานิล และปลากะพง: สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการทำงานของเอซีอีen
dc.title.alternativeProtein hydrolysate from tilapia and perch frame : antioxidant and ace - inhibitor propertiesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีทางอาหารes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRomanee.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.820-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanan_Ch.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.