Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22198
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ของกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษา ของกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opinions of educational administrators and involved personnel concerning the educaitonal administrative structure of Bangkok metropolis
Authors: สนั่น แก้วปู่วัด
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษา -- กรุงเทพฯ
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการศึกษา ตามโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบงาย จากประชากร 2 กลุ่ม ได้แก่ผู้บริหารการศึกษา ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศึกษาเขต และผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 440 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ประกอบด้วยรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฝ่ายการศึกษา รองปลัดกรุงเทพมหานครฝ่ายการศึกษา หัวหน้าเขต และผู้ช่วยหัวหน้าเขตฝ่ายการศึกษา จำนวน 50 คน ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารการศึกษา 205 คน ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist) ตอนที่ 2 เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) และตอนที่ 3 เกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการศึกษาตามโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) และแบบคำถามปลายเปิด (open-ended) การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปส่งและเก็บคืนด้วยตนเองส่วนหนึ่ง และส่งทางไปรษณีย์อีกส่วนหนึ่งในจำนวนแบบสอบถามที่ส่งไป 249 ฉบับ ได้รับคืนเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 213 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.54 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ ผลการวิจัย 1. ผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มผู้บริหารการศึกษา เป็นชายมากกว่าหญิง ส่วนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นชายทั้งหมด และผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่มีวุฒิปริญญาตรี มีอายุตั้งแต่ 41 ปีขึ้นไป และมีอายุราชการตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้งในระดับกรุงเทพมหานคร ระดับเขต และระดับโรงเรียน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นไปในทางเห็นด้วยกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานครที่ใช้ในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นไม่แน่ใจ คือเรื่องที่จะให้คณะกรรมการการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการการศึกษาเขตมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการการศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและเรื่องที่ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 2 กลุ่ม มีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ได้แก่เรื่องสายการบังคับบัญชา และความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นผู้บริหารการศึกษาไม่แน่ใจว่าโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ควรมีสายการบังคับบัญชาที่ขึ้นตรงต่อสำนักการศึกษาโดยไม่ต้องผ่านเขตดีหรือไม่ แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาไม่เห็นด้วย เป็นต้น 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารการศึกษา ตามโครงสร้างการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ปรากฏว่าเรื่องที่ผู้บริหารการศึกษาเห็นว่ามีปัญหามากที่สุด โดยมีความถี่ของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในอันดับสูงสุด ได้แก่ เขตมักเรียกครูไปปฏิบัติงานอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาอยู่เสมอ ส่วนเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเห็นว่าเป็นปัญหามากที่สุด และผู้บริหารการศึกษาเห็นว่าเป็นปัญหาโดยมีความถี่รองลงมาจากปัญหาเขตเรียกครูไปปฏิบัติงานอื่น ได้แก่ ปัญหาความสับสนในสายการบังคับบัญชาระหว่างสำนักการศึกษาและเขต จนทำให้โรงเรียนเกิดความสับสนในการปฏิบัติงาน
Other Abstract: Purpose of the study : 1. To compare the opinions of educational administrators and involved personnel concerning the educational administrative structure of Bangkok Metropolis. 2. To study the opinions of educational administrators and involved personnel concerning problems and obstacles in the educational administration under Bangkok Metropolis educational administrative structure. Research Methodology : The samples used in the study were selected by the simple random sampling technique from two groups of population : 440 educational administrators and 50 involved personnel. The educational administrators were composed of the Director of the Department of Education, the Deputy Governor for Education, District Education Officer, and school administrators. The involved personnel were the Deputy Governor for Education, the Deputy Permanent Secretary for Education, Chief of District and Assistant Chief of District for Education. The selected samples were 205 educational administrators and 44 involved personnel. The instrument used in the study was a self-constructed questionnaire, divided into three parts : the first part was in the form of a checklist concerning background of the samples ; the second part was composed of rating scale questions regarding the respondents’ opinions concerning the administrative structure of Bangkok Metropolis ; and the third part was composed of rating scale and open-ended questions concerning the problems and obstacles in the educational administrative structure. As for data collection, 249 copies of the questionnaire were delivered both by mail and by hand. Out of 249 copies, 213 complete copies were returned and analysed by using percentage, means, standard deviation and frequency distribution. Findings1. Most of the educational administrators and all the involved personnel were male. Most of the respondents in both groups held bachelor’s degree, were over 41 years of age and over 21 years of service. 2. As for the opinions concerning the educational administrative structure of Bangkok Metropolis at the Bangkok Metropolis, district and school levels, it was found that most of the respondents in both groups agreed with the existing structure. However, they were uncertain whether the educational committees at the Bangkok Metropolis and district levels should have the same authority and responsibilities as the educational committees under the office of the National Primary Education Commission or not. Besides, they had different ideas about the hierarchy and the relationship among the agencies concerned, for examples, educational administrators were uncertain whether the schools in Bangkok Metropolis should bypass the district administration and be directly responsible to the Department of Education while the involved personnel disagreed in these matters. 3. According to the opinions concerning the problems and obstacles in educational administration under Bangkok Metropolis administrative structure, it was found that the problem mentioned with highest frequencies by educational administrators was that the district often assigned teachers with the duties outside educational. The most important problems with highest frequencies as viewed by the involved personnel were the confusion in the hierarchy between the Department of Education and districts which caused confusion at the school level. This problem was views as second to the problem of teachers misassignment by education administrators.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22198
ISBN: 9745634964
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanan_Ke_front.pdf572.97 kBAdobe PDFView/Open
Sanan_Ke_ch1.pdf527.79 kBAdobe PDFView/Open
Sanan_Ke_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_Ke_ch3.pdf370.53 kBAdobe PDFView/Open
Sanan_Ke_ch4.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_Ke_ch5.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_Ke_back.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.