Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22228
Title: | ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและข้าราชการที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด ในภาคกลาง |
Other Titles: | Opinions of education administrators and officers responsible for educational management concerning organizational structure of educational administtration at the provincial level in the central region |
Authors: | สถิตย์ เกษมทะเล |
Advisors: | สงัด อุทรานันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การบริหารการศึกษา |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัดในปัจจุบันและที่ควรจะเป็นในอนาคต 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในจังหวัด 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริหารการศึกษากับกลุ่มข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาที่มีต่อโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ โดยกระทำกับกลุ่มตัวอย่างประชากรซึ่งอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ประกอบด้วยผู้บริหารการศึกษา จำนวน 578 คน และข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษา จำนวน 163 คน รวมกลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น 741 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 สอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า ตอนที่ 3 สอบถามปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิด ส่งแบบสอบถามไปจำนวน 741 ฉบับ ได้รับคืนและใช้ในการวิจัยได้ จำนวน 635 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85.69 การวิเคราะห์ข้อมูล ทำโดยคำนวณหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t ผลการวิจัย 1. การแบ่งหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัดในปัจจุบันพบว่า ผู้บริหารการศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยปานกลาง ส่วนข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยน้อย โดยเฉพาะในเรื่องหน่วยงานทางการศึกษา ที่ตั้งอยู่ภายในจังหวัดแต่สังกัดราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนในอนาคตนั้น ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่จะให้มีการรวมหน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับทุกประเภทภายในจังหวัดเข้าเป็นหน่วยงานเดียวหรือรวมหน่วยงานทางการศึกษาระดับเดียวกันเข้าเป็นหน่วยงานเดียว 2. อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัดในปัจจุบัน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยน้อยในเรื่องการบริหารการศึกษาระดับจังหวัด อำนาจในการตัดสินใจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับส่วนกลาง ส่วนในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยมากในเรื่องควรมีผู้บริหารการศึกษาระดับจังหวัดสูงสุดสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเพียงคนเดียว และเรื่องควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการการศึกษาขึ้นเพื่อกำหนดนโยบายและควบคุมดูแลการจัดการศึกษาทุกระดับทุกประเภทภายในจังหวัด 3. ความสัมพันธ์ของหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าหน่วยงานทางการศึกษาระดับจังหวัดมีการประสานงานกันน้อย ส่วนในอนาคตผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยมากที่สุด ที่จะให้มีการประสานร่วมมือกัน 4. ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัดในปัจจุบัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เกือบทุกเรื่อง ความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาและข้าราชการที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัดในอนาคตไม่แตกต่างกันเกือบทุกเรื่อง 5. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารการศึกษาระดับจังหวัดในปัจจุบันพบว่ามีปัญหาในเรื่องขาดเอกภาพในการบริหารการศึกษา ขาดการกระจายอำนาจเท่าที่ควร และขาดการประสานงาน ข้อเสนอแนะคือ ให้ปรับปรุงระบบโครงสร้าง การบริหารให้มีเอกภาพ โดยรวมหน่วยงานทางการศึกษาเข้าด้วยกัน และกระจายอำนาจการบริหารการศึกษาให้จังหวัดมากขึ้น |
Other Abstract: | Research Purposes : 1. To study the opinions of educational administrators and officers responsible for educational management concerning organizational structure of educational administration at the provincial level at present and future. 2. To study the problems and the obstacles concerning the organizational structure of educational administrators and officers responsible for educational management at the provincial level. 3. To compare the opinions of the educational administrators and officers responsible for educational management concerning the organizational structure of educational administration at the provincial level. Research Procedure: Survey method was used in this research. The subject involved in this research were 578 educational administrators and 163 officers responsible for educational management at the provincial level in the central region which make the total to be 741 in numbers. The instrument used was a set of questionnaire which composed of three parts: the first was the personal information which was instructed in the form of check-lists, the second part was a rating –scale questions concerning the organizational structure of educational administration at the provincial level, and the third part was an open – ended questions. Out of 741 copies of the questionnaire sent out, 635 or 85.69 percent were completed and returned. The statistical analysis included frequenoy, percentage, mean, S.D. and t-test. Research Findings: 1. Concern with the division of provincial educational unit, most of educational administrators agreed at the medium level and most of the officers responsible for educational management agreed at the low level with the present structure educational unit due to too many units were responsible for the provincial management of every level and type of education and educational units which located within the province but controlled by the central official administration. Most of respondents agreed with combining educational units for every level and type of education in the province into one unit in the future. 2. Concern with authorities of the provincial education units, masts of respondents agreed with the decision making in the educational administration at the provincial level had to depend on the central office administration at the low level. In the future, most of respondents agreed with the provincial level should have only one educational administration who came from the Ministry of Education and appointing of a Board of Provincial Education to be responsible for policy-making and controlling the provincial management of every level and type of education. (except universities) 3. Concern with the relations of the provincial educational units, most of respondents responded that the provincial education units have had more co-operation among these units in the future. 4. There were statistical significant differences of the .05 level between the opinions of educational administrators and officers responsible for educational management concerning organizational structure of educational administration at the provincial level in at present in almost every aspect. There were statistical not significant differences between the opinions of educational administrators and officers responsible for educational management concerning organizational structure of educational administration at provincial level at future in almost aspect. 5. There were many problems and obstacles concern with structure of educational administration at the provincial level which included lacking of the unity of commandant, lacking of decentralization and lacking of the co-operation among the educational units. The suggestion was given as to how to adjust the structure of administration into unity by combining all education units and decentralization of educational administration to the province. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22228 |
ISBN: | 9745643254 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sathid_Ka_front.pdf | 554.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ka_ch1.pdf | 617.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ka_ch2.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ka_ch3.pdf | 517.55 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ka_ch4.pdf | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ka_ch5.pdf | 898.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathid_Ka_back.pdf | 933.38 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.