Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22244
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร | - |
dc.contributor.author | ชัชวาลย์ ลิ้มรัชตะกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-09-28T10:59:21Z | - |
dc.date.available | 2012-09-28T10:59:21Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22244 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ คือ ผู้บริหารจำนวน 14 คน ครูอนุบาลจำนวน 50 คน และผู้ปกครองจำนวน 957 คน รวมทั้งสิ้น 1,021 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารจัดการบุคลากร: 1) การกำหนดนโยบายและการดำเนินงาน บุคลากรของโรงเรียนและชุมชนมีการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย ธรรมนูญโรงเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาล 2) การอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้บริหารเชิญวิทยากรจากหน่วยงานและเครื่อข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษามาจัดอบและสัมมนาวิชาการภายในโรงเรียน และส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) การกำหนดหน้าที่และบทบาทของบุคลากร มีการมอบหมายหน้าที่และบทบาทให้กับบุคลากรตามความสนใจและความถนัดส่วนตน และ 4) การสื่อสารภายในโรงเรียน โดยการจัดการประชุมเชิงวิชาการ จัดการอบรม สัมมนา จัดค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเผยแพร่ข้อมูลออกสู่ชุมชน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้: 1) การพัฒนาหลักสูตรยึดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 และหลักการพัฒนาการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจ และบริบทชุมชน 2) การพัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักพัฒนาการและความสนใจของเด็ก กิจกรรมที่จัดแบบบูรณาการเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ มีระยะเวลาที่เหมาะสมยืดหยุ่นได้ 3) การพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4) ผู้บริหารมีการประเมินการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ ครูร่วมกับชุมชนมีการประเมินผลการจัดกิจกรรม และพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเด็กอนุบาล ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม: 1) การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ให้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมและสื่อ อุปกรณ์มีการจัดวางเป็นสัดส่วนโดยคำนึงถึงความปลอดภัย การเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 5 R และความสะดวกสำหรับครูและเด็กอนุบาล 2) การบริหารจัดการน้ำ ส่วนใหญ่มีเครื่องกรองน้ำใช้ในโรงเรียน และมีโรงเรียนเพียง 2 แห่งที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย 3) การใช้พลังงาน มีการรณรงค์การลดการใช้พลังงานทั้งในโรงเรียนและชุมชนร่วมกัน มีเพียง 1 โรงเรียนที่มีการใช้พลังงานทดแทน คือ โซล่าเซลล์ 4) การบริหารจัดการขยะ ทุกโรงเรียนมีโครงการธนาคารขยะ การนำขยะต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนและชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา: 1) การมีส่วนร่วมภายในโรงเรียนมีการดำเนินงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2) โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คัดเลือกสื่ออุปกรณ์ การจัดบุคลากรเข้ารับการอบรม เป็นวิทยากรพิเศษและการจัดหางบประมาณ 3) การมีส่วนร่วมกับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา มีการประสานงานร่วมกันในการจัดอบรมเชิงวิชาการในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา และการจัดสรรงบประมาณรายปีจากหน่วยงานต้นสังกัดให้กับทุกโรงเรียนในโครงการฯ ปัญหาที่พบคือ: 1) ด้านการบริหารจัดการบุคลากร ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง ขาดงบประมาณในการจัดเตรียมอาคาร สถานที่ 2) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูอนุบาลขาดการสนับสนุนจากทางโรงเรียนในการส่งไปเข้าร่วมการจัดอบรม และขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาล 3) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ขาดการสนับสนุนงบประมาณ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา ผู้ปกครองไม่สามารถร่วมทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและแหล่งเรียนรู้ของเครือข่ายอยู่ห่างไกลชุมชนทำให้ใช้งบประมาณในการเดินทางมาก | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the state and problems of operation on environmental education in the preschool level of schools participating in the eco-school. The population of this research were 14 administrators, 50 teachers and 957 parents, total of 1,021 persons. The research tools were interview, questionnaires, observation form and survey. The research results were as follows: Concerning personnel management: 1) Policies and operations set up: policies, visions, and charters formulation by school's personnel and communities were consistent with environmental education in preschool level. 2) Knowledge training to personnel by administrator invited speakers from the institution and environmental education network held a conference and seminar was academic in school and sent personnel participates for environmental education training of various institutions. 3) Personnel of duties and roles set up by assigned based on interest and aptitude of staffs. 4) Communication within school by administrators, teachers and parents through organizing for conferences, seminars, environmental training camp, and disseminating information to the public. Concerning learning activity: 1) Curriculum development based on the National Education Act B.E.2546, Early Childhood Education Curriculum B.E.2546, and the principle of the development in environmental learning appropriateness concerning needs, interests and community context. 2) Learning development based on child development and child\'s interest; integrated activities were organized for individual, small, and large groups with appropriate and flexible time management. 3) Development and implementing learning resources were organized with school and community. 4) Administrators evaluated teachers’ instruction on a regular basis; teachers and community involved in assessment of learning activities and preschool children’s conservation behavior of natural resources. Concerning resource and environmental management: 1) School environmental arrangement contained activity area and well allocated material arrangement for accessibility with safety, usage of 5 R natural resources, and conveniences for school and preschool children. 2) Waste management in most schools contained water filter, and only 2 schools used waste water treatment system. 3) Reduced energy consumption was campaign in both school and community, but no implementation of other alternative energy. 4) Waste management of every school contained waste bank project, waste were reused as compost fertilizers, and became an income generating source for schools and communities. Concerning involvement and environmental education network: 1) Friendly school involvement was implemented, and contained learning exchanges from each other. 2) Participation of school and community in planning for learning activities, selecting of teaching materials, personnel managing for training, serving as special speakers and providing budget. 3) Involvement with environmental network contained academic training in each local education authority, and an annual budget from responsible agencies allocated to all schools involved in the project. Problems found were as follows: 1) Concerning personnel management: Lack of specialists and budget for provisioning facilities. 2) Concerning learning activity: Lack of supports for preschool teachers to participate in training, and lack of preschool teachers’ knowledge in environmental education. 3) Concerning resource and environmental management: Lack of ongoing support for funding. and 4) Concerning involvement and environmental education network: Parents cannot able activity consistently and resource network far away from community render use many budget for trip. | en |
dc.format.extent | 6635041 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.849 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาขั้นอนุบาล | en |
dc.subject | สิ่งแวดล้อมศึกษา | en |
dc.title | สภาพและปัญหาการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | en |
dc.title.alternative | State and problems of operation on environmental education in the preschool level of schools participating in the eco-school guide for education sustainable development | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาปฐมวัย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Udomluck.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.849 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chatchawan_li.pdf | 6.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.