Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22263
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ | - |
dc.contributor.author | เอกรินทร์ ศรีผ่อง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-01T09:19:18Z | - |
dc.date.available | 2012-10-01T09:19:18Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22263 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการเรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนแตกต่างกันที่เรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนที่มีระดับผลการเรียนแตกต่างกันกับการเรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบแฟคทอเรียล 2x3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมพวงศึกษา อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 110 คน จัดกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่มๆ ละ 55 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลสร้างผังงานแบบมีระบบตรวจสอบกระบวนการทำงานของผังงานโดยอัตโนมัติ กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลสร้างผังงาน แต่ละกลุ่มทดลองแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับผลการเรียนสูง ปานกลาง และต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูล แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทาง(Two-Way MANOVA) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนแตกต่างกันเมื่อเรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับผลการเรียนกับแบบคอคนิทีฟทูลในการเรียนแก้ปัญหาด้วยเว็บคอมไพเลอร์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research study were: 1) to study the effects of web-based compiler using different cognitive tools upon learning achievement and problem-solving skills in computer programming, 2) to compare the effects of different levels of academic achievement with web-based compiler using different cognitive tools upon learning achievement and problem-solving skills in computer programming, and 3) to study the interaction effects between different levels of academic achievement and web-based compiler using different cognitive tools upon learning achievement and problem-solving skills in computer programming. This experimental research design was a 2x3 factorial design. The samples were 110 tenth grade students and were assigned into two experimental groups; 55 students in each group. The first group studied on web-based compiler using the cognitive tool for creating and tracing the execution through the flowchart and the second group studied on web-based compiler using the cognitive tool for creating the flowchart. Each group was divided into 3 levels of academic achievement as high medium and low. The research instruments were a web-based compiler using cognitive tools, an achievement test and a problem-solving skill test. The data were analyzed using arithmetic mean, standard deviation, Two-Way Multivariate Analysis of Variance and LSD. The research results were as follows: 1. There were statistically significant difference at .05 level of learning achievement and problem-solving skills between web-based compiler using different cognitive tools. 2. There were statistically significant differences at .05 level of learning achievement and problem-solving skills between the different levels of academic achievement students when studied problem-solving with web-based compiler using different cognitive tools. 3. There were no interaction effects between the different levels of academic achievement and different cognitive tools upon learning achievement and problem-solving skills. | en |
dc.format.extent | 2198212 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.864 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คอมไพเลอร์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) | en |
dc.subject | การเขียนโปรแกรม (คอมพิวเตอร์) | en |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en |
dc.title | ผลของเว็บคอมไพเลอร์ที่ใช้คอคนิทีฟทูลที่แตกต่างกันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีระดับผลการเรียนแตกต่างกัน | en |
dc.title.alternative | Effects of web-based compiler using different cognitive tools upon learning achievement and problem-solving skills in computer programming of tenth grade students with different levels of academic achievement | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Praweenya.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.864 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ekkarin_sr.pdf | 2.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.