Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22266
Title: | คุณลักษณะของภาพยนตร์ผีตลกไทย ลักษณะชนชั้นและอุดมการณ์ชนชั้นทางสังคมที่ปรากฏในภาพยนตร์ผีตลกไทย |
Other Titles: | The attribute, class and class ideology in Thai ghost- comedy film |
Authors: | ทอปัด เอี่ยมอุดม |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kanjana.Ka@chula.ac.th |
Subjects: | ภาพยนตร์ไทย ชนชั้นในสังคม -- ไทย อุดมการณ์ -- ไทย |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะเด่นที่ปรากฏในภาพยนตร์ผีตลกไทย วิเคราะห์ลักษณะชนชั้นและอุดมการณ์ชนชั้นทางสังคมที่แฝงอยู่ในภาพยนตร์ผีตลกไทย โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นภาพยนตร์ผีตลกไทยที่ฉายในโรงภาพยนตร์จำนวน 10 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ผีตลกชนชั้นกลางและชนชั้นล่างอย่างละ 5 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะในการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ผีตลกไทยชนชั้นกลาง ปรากฏโครงเรื่องที่เรียบง่ายและซับซ้อน มีการสลับเวลาการเล่าเรื่อง (flashback) มีการสลับลำดับองค์ประกอบการพัฒนาการเล่าเรื่อง มีการผสมผสานแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อเดิมกับความเชื่อใหม่ และเล่าเรื่องในมุมมองของผีและของคน ส่วนคุณลักษณะเด่นในการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ผีตลกไทยชนชั้นล่างปรากฏโครงเรื่องที่เรียบง่าย มีทั้งการสลับเวลาการเล่าเรื่องและไม่สลับเวลาการเล่าเรื่อง การเล่าเรื่องเป็นไปตามลำดับองค์ประกอบการพัฒนาเรื่องราว แก่นเรื่องเป็นแนวคิดเดิม และเล่าเรื่องในมุมมองของคนเท่านั้น คุณลักษณะชนชั้นและอุดมการณ์ชนชั้นทางสังคมของภาพยนตร์ผีตลกไทยชนชั้นกลางและภาพยนตร์ผีตลกไทยชนชั้นล่าง มีลักษณะที่สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมของคนที่พบได้ในโลกจริง เช่น การมีรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบคนเมือง/คนชนบท อุดมการณ์ความสำเร็จ อุดมการณ์ความสุข อุดมการณ์ไสยศาสตร์ อุดมการณ์โชคลาภวาสนา ฯลฯ ทั้งนี้ มีการหยิบยืมแลกเปลี่ยนคุณลักษณะระหว่างกันในภาพยนตร์ผีตลกทั้งสองชนชั้นเพื่อขยายกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ภาพยนตร์ผีตลกไทยจึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1 ภาพยนตร์ผีตลกไทยที่สามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งได้อย่างชัดเจน กลุ่มที่ 2 ภาพยนตร์ผีตลกไทยที่ไม่สามารถจัดให้อยู่ในกลุ่มใดได้เนื่องจากปรากฏคุณลักษณะร่วมกันของทั้งสองชนชั้น |
Other Abstract: | The research aims to analyze the attribute, social appearance of ghost-comedy film. To analyze attribute, class and class ideology as well as similar to and different from between middle and working class of Thai ghost-comedy, the research is a qualitative research which employing the textual analysis of ten of Thai ghost-comedy film between year 2001-2010. They could be differentiated in two classes, middle-class and working class for 5 films a class. The results of research are follows: The analysis of how the portrayal presented in middle-class of Thai ghost-comedy film found both complicated and simple plot, integrates the traditional idea with present idea, alternates time of story (flashback), alternates the positioning element of plot as well as has narrator standpoint both human and ghost. While those in working class of Thai ghost-comedy film found only simple plot, has a sequence of time respectively (non-flashback), has a sequence of the positioning element of plot respectively and narrator standpoint is only ghost view. Both middle-class and working class of Thai ghost-comedy film relates to attribute, class and class ideology in community. Thai ghost-comedy film can be divided 2 groups. First, Thai ghost-comedy Film can be classified explicitly middle-class or working class. Second, Thai ghost-comedy film can not be classified in both groups because it has been sharing their attribute each other. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22266 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.866 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.866 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
torpad_ia.pdf | 8.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.