Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22422
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุปรีชา หิรัญโร | - |
dc.contributor.author | ปิยดา พันสนิท | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-04T09:36:13Z | - |
dc.date.available | 2012-10-04T09:36:13Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22422 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | บ้านพักข้าราชการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรที่ย้ายมาปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่นทำให้บุคลากรที่มีภูมิลำเนาต่างถิ่นบางส่วนต้องจัดหาที่อยู่อาศัยเองและเมื่อปฏิบัติงานจนเกษียณการจัดการที่อยู่อาศัยหลังเกษียณจึงเป็นปัญหาต่อบุคลากรที่มีภูมิลำเนาต่างถิ่นมากดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการอยู่อาศัย ของบุคลากรก่อนเกษียณรวมถึงความต้องการและประเภทที่อยู่อาศัยหลังบุคลากรเกษียณแล้ว เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยการวิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือศึกษา 253 ตัวอย่างที่มีอายุตั่งแต่ 50-60 ปี ไม่ใช่คนที่เกิดและมีภูมิลำเนาเดิมในจังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรต่างถิ่นที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 44.7 ส่วนมากเป็นข้าราชการสมรสแล้ว การศึกษาปริญญาโท มีรายได้บุคคลเฉลี่ยต่อเดือน 50,001-75,000 บาท ที่อยู่อาศัยเดิมส่วนใหญ่อาศัยอยู่บ้านบิดา มารดาและอยู่กับบิดา มารดา เป็นหลัก เมื่อย้ายมาทำงานส่วนมากจะอาศัยอยู่นอกมหาวิทยาลัยในบ้านตนเองโดยจะซื้อบ้านจัดสรร ร้อยละ 33.6 แบบบ้านเดี่ยวเมื่ออายุ 36- 40 ปี ที่ราคา 2,000,001-3,000,000 บาท เนื่องจากสะดวกและกู้เงินง่าย และใช้สวัสดิการเคหะสงเคราะห์ มข. คู่กับสถาบันการเงินนอกมหาวิทยาลัยเป็นหลัก รองมาคือสร้างบ้านอยู่เอง ร้อยละ 22.1 เนื่องจากกำหนดความต้องการได้ เมื่ออายุ 30 -35 ปี ราคาบ้าน มากกว่า 3,000,000 บาท โดยเริ่มซื้อที่ดินไว้ก่อนแล้วจึงสร้างบ้านอยู่เอง และใช้สถาบันการเงินนอกมหาวิทยาลัยช่วยให้มีที่อยู่อาศัย โดย5 ปัจจัยแรกในการเลือกที่อยู่อาศัยนอกมหาวิทยาลัย คือ1.ใกล้ที่ทำงาน 2.ราคาเหมาะสม 3.สภาพแวดล้อมดี 4.ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5.ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก ส่วนบุคลากรที่อยู่บ้านพักราชการ ส่วนใหญ่จะสมรสแล้วและมีบุตร 2 คน ตามลำดับ โดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มีอายุราชการ 21-30 ปี และเมื่อเกษียณอายุแล้ว พบว่า ร้อยละ 63.2 จะไม่กลับภูมิลำเนาเดิม ซึ่งเป็นคู่สมรส รองมาคือคนโสด ที่ยังคงต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณที่จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากทำงานนานจนเคยชินในสถานที่อันดับแรก รองมาคือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา มีเพียงร้อยละ14.6 ที่ต้องการกลับภูมิลำเนาเดิมซึ่งสิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจมากสุดคือ กลับไปอยู่ใกล้ญาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนโสด รองมาคือคู่สมรส ส่วนความไม่แน่ใจจะกลับหรือไม่ จำนวนร้อยละ 22.1 ส่วนใหญ่เป็นคู่สมรส รองมาคือ คนโสด สิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจ คืออนาคต รองมาคือตามบุตร การมีบ้าน 2 แห่ง ตามลำดับ ส่วนผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ 75 คนแต่ต้องการซื้อบ้านในจังหวัดขอนแก่น ร้อยละ 81.3 ส่วนใหญ่เป็นคู่สมรสที่มีบ้านแล้วจะซื้อใน 5-10 ปี เพราะเป็นบ้านพักผ่อน รองมาเป็นผู้ที่พักบ้านพักราชการจะซื้อภายใน 2-5 ปีเพราะไม่มีบ้านของตนเอง โดยผู้ซื้อบ้านใหม่จะซื้อบ้านเดี่ยว ราคา 2,000,001-3,000,000 บาท และต้องการให้หาแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำผ่อนที่อยู่อาศัยใหม่ ส่วนปัจจัยเลือกซื้อบ้านที่ต้องการอยู่หลังเกษียณ 5 อันดับแรกคือ 1.ราคาเหมาะสม 2.สภาพแวดล้อมดี 3.ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4.ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวก 5.ใกล้แหล่งทำงาน ส่วนผู้ไม่ต้องการซื้อบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.4 มีที่อยู่เดิมเหมาะสมแล้ว รองมาคือผู้ที่ปรับปรุงที่อยู่ใหม่ร้อยละ 32.6 ต้องการให้หาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซ่อมแซมปรับปรุงที่อยู่อาศัยเดิม ส่วนผู้สร้างที่อยู่เอง ร้อยละ21.3 ต้องการให้หาแหล่งเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ สร้างที่อยู่อาศัยใหม่ในที่ดินเดิม ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study the needs and the desires for housing by surveying activities and uses of living areas in the dorm buildings, and problems with living there that are in need of urgent improvement. The purpose is to recommend approaches for improving the existing housing both in physical features and service systems. This purpose was fulfilled through the synthesis of developed standard improvements based on theories of independent living and the universal design for disabled student housing in higher education institutions. In studying the problems, the travel chain analysis. Some of the sight-impaired students have problems with traffic routes in the residential halls with objects lying around in no fixed position or regularly left in different positions such as bicycles. However, most have lived in the buildings long enough to remember the area well and have no problems after 12 months on average. The movement impaired fall into two groups: those who need wheelchairs and do not. The former group has the most problems with access to the dorm building and need help in reaching and entering the building. On the other hand, those who do not need a wheelchair have the most problems with the bathroom, facing accidents from slipping and falling and standing in balance respectively. The adjustment period taken before they can live without such problems is three months on average. The problems most faced by hearing-impaired students are in communication, when there are visitors and when there are danger warnings respectively. Adjustment periods average up to one month. It was determined that the minimum standards to be improved fall into four stages as follows. The first stage requires urgent improvement to avoid accidents regarding the following Approach, bathroom and safety systems. The second stage aims at improvement to prevent the worsening or aggravation of problems resulting from the disability is electrical systems. The third stage suggests improvement according to the physical needs and desires in Drop off, main hall elevators, stairs, and bedroom. The fourth stage is improvement that meets the disabled’s psychological needs and wants. The assistive technology and facilities that should be used .Safety, including the bell for students with hearing impairment. Switch wired to the bathroom and pulled the emergency room for help. In the various areas .Service with a ramp for wheelchairs. | en |
dc.format.extent | 1349199 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.869 | - |
dc.subject | มหาวิทยาลัยขอนแก่น -- ข้าราชการ | en |
dc.subject | ข้าราชการ -- การเกษียณอายุ | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ที่อยู่อาศัย | en |
dc.title | ความต้องการที่อยู่อาศัยหลังเกษียณของบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น | en |
dc.title.alternative | Housing demand for retirement staff of Khon Kaen University | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Supreecha.H@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.869 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
piyada_pu.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.