Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22452
Title: La Femme dans la vie et l'oeuvre de Baudelaire
Other Titles: ผู้หญิง "ในชีวิตและงานของโบดแลร์"
Authors: สุภาวดี วีระชาติพลี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Inspiratrice nee, la femme exerce une influence profonde sur beaucoup de poetes; le fait se manifeste depuis les temps les plus lointains, mais il est devenu plus net au XIXᵉ siecle, epoque du romantisme. La Femme joue done un grand role dans la literature. Chaque poete a sa facon particuliere de presenter sa bien-aimee. Cela depend de l’ influence qu’elle a exerce sur lui ; importante ou minime, parfois optimiste, et dans d’ autres cas pessimste. Etudier la vie de Baudelaire, grand poete du XIXᵉ siècle, et “oracle” de la poesie modern francaise, amene a constater que la Femme exerce une influence primordial sur sa vie, depuis sa plus tender enfance jusqu’ a sa mort. La mere, les maitresses et beaucoup d’ autres femmes qu’il a connues ont eu une grande influence sur sa metalite et sa pensee. Baudelaire sent qu’il est frappe par un Mal moral et que son destin est singulier. Ainsi, il se sent toujours solitaire, meme lorsqu’il se trouve en pleine foule. Pendant toute sa vie il cherche a se debarrasser de ce Mal. L’amour et la Femme vont-ils le delivrer? Il l’espere. Le poete donne d’abord tout son amour a sa mere. Il se sent d’ autant plus frustre quand elle se remarie. C’ est pour lui une trahison impardonnable qui entraine la haine, sans reconciliation possible. Il espere donc trouver chez d’ autres femmes l’amour qui le consolerait. Quelques-unes sont des “anges” qui semblent pouvoir le mener au bonheur ideal tandis que certaines sont des “demons” qui le precipitant de plus en plus dans le Mal. Baudelaire ne s’en defend pas, bien au contraire. Pour lui, le Mal est le complement indispensable de la Beaute. It oscille toujours entre le bien et le Mal. L’amour qu’il connait n’est jamais un amour pur et ideal. Il garde toujours des attraits morbides et souffre de l’infidelite, du mensonge et de la mechancete feminins. Apres son experience amere de l’ amour et de la Femme, il reste persuade qu’il ne pourra jamais triompher du desespoir et de l’ Ennui. Son pessimism s’ approfondit de jour en jour. Il en vient a considerer la mort comme son dernier refuge. Il est naturel que ses sentiments et sa pensee se refletent dans ses oeuvres et que les critiques reconnaissent dans sa poesie un chant nouveau. Et son influence en France et a l’ etranger le prolongera en echo. Ce memoire essaie d’analyser minutieusement la pensee de Baudelaire a l’agard de la Femme. Ceux qui s’interessent a la literature compare cherchent peut-etre en quoi la pensee de Baudelaire sur la Femme ressemble a celle des autres poetes, ou s’en distingue. Puissent-ils y trouver une certain aide.
Other Abstract: ผู้หญิงเป็นแรงดลใจที่สำคัญให้กวีจำนวนไม่น้อยได้แต่งบทประพันธ์อันไพเราะขึ้นมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว โดยเฉพาะในระยะศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นสมัยของวรรณคดีประเภทโรแมนติคนั้น ผู้หญิงก็ได้มีบทบาทอย่างมากต่อวรรณคดี กวีแต่ละคนมีวิธีพรรณาถึงผู้หญิงของตนแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอิทธิพลที่เขาเหล่านั้นได้รับจากผู้หญิงว่ามากน้อยเพียงใด และเป็นอิทธิพลที่ก่อให้เกิดทัศนคติในด้านดีหรือร้าย การศึกษาชีวประวัติของ ชาลส์ โบดแลร์ ซึ่งเป็นกวีที่สำคัญที่ศตวรรษที่ 19 และได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดา” แห่งวรรณคดีประเภทร้อยกรองสมัยใหม่ของฝรั่งเศสนั้น ทำให้ทราบว่า ผู้หญิงมีอิทธิพลมากต่อชีวิตของเขา นับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งในบั้นปลายของชีวิต ทั้งมารดา หญิงคนรักและผู้หญิงอื่นๆ ที่โบดแลร์ได้รู้จักก็ล้วนแต่มีบทบาทต่อสภาพจิตใจและความคิดคำนึงของเขาทั้งสิ้น โบดแลร์มีความรู้สึกว่าชีวิตของเขาถูกสาปให้ตกอยู่ในห้วงแห่งความชั่วร้ายตลอดเวลาและโชคชะตาทำให้เขาแตกต่างไปจากคนอื่น ดังนั้นโบดแลร์จึงมีแต่ความรู้สึกที่อ้างว้างโดดเดี่ยว แม้ในขณะที่เขาอยู่ท่ามกลางผู้คนมากมาย ตลอดชีวิตของเขาโบดแลร์ได้เพียรพยายามหาหนทางที่จะทำให้ตนเองหลุดพ้นจากความทุกข์ที่ครอบงำเขาอยู่นี้ ความรักและผู้หญิงเป็นสิ่งหนึ่งที่โบดแลร์หวังว่า จะช่วยให้เขาพ้นจากสภาพที่หมดหวังนี้ได้ ในวัยเด็กโบดแลร์เคยทุ่มเทความรักทั้งหมดของเขาให้แก่มารดา แต่เมื่อมารดาของเขาแต่งงานใหม่ โบดแลร์รู้สึกเศร้าเสียใจมาก ถึงแม้ว่าบิดาจะเสียชีวิตไปแล้ว โบดแลร์ก็ถือว่าการกระทำของมารดาเป็นการทรยศที่ให้อภัยไม่ได้ ความรักที่เคยมีให้มารดาก็กลายเป็นความเกลียดชัง และตั้งแต่นั้นมาเขาก็ไม่อาจจะลงรอยกับมารดาได้อีกเหมือนเดิม โบดแลร์พยายามค้นหาความรักที่จะเป็นเครื่องปลอบใจเขาได้ในผู้หญิงคนอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเขา ในบรรดาผู้หญิงเหล่านี้ ตามสายตาของโบดแลร์ซึ่งมุ่งหวังที่จะพบกับความสุขที่แท้จริงในชีวิต บางคนเปรียบเสมือนเทพธิดาซึ่งจะนำเขาไปสู่ความสุขนั้นได้ ในขณะที่บางคนเปรียบเสมือนนางปีศาจร้ายที่จะฉุดให้ชีวิตของเขาจมดิ่งสู่ความชั่วร้ายมากขึ้น แต่โบดแลร์ไม่เคยปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงให้ตนพ้นไปจากความชั่วร้ายเลย สำหรับเขาแล้ว ความชั่วเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของความงาม โบดแลร์ดำเนินชีวิตของเขาอยู่ระหว่างความดีและความชั่วตลอดเวลา ความรักที่เขารู้จักจึงไม่ใช่ความรักอันเป็นอุดมคติและบริสุทธิ์ผุดผ่องแต่อย่างเดียว เขายังคงถูกยั่วยวนโดยความรักที่ผูกพันกับกามารมณ์อยู่ตลอดเวลา โบดแลร์ต้องทนทุกข์ทรมานและขมขื่นเพราะความไม่ซื่อสัตย์, ความโกหกหลอกลวง และความชั่วร้ายของผู้หญิงที่เขายุ่งเกี่ยวด้วย และจากประสบการณ์อันขมขื่นของความรักและผู้หญิงนี้เอง ที่ทำให้โบดแลร์ตระหนักในที่สุดว่า ความรักและผู้หญิงไม่อาจทำให้เขาหลุดพ้นจากสภาพที่หมดหวังในชีวิต และพบกับความสุขอันเป็นอุดมคติของเขาได้ โบดแลร์กลายเป็นบุคคลที่มีทัศนคติต่อชีวิตในแง่ร้ายมากขึ้น และยอมรับว่าความตายเท่านั้นที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายที่แน่นอนที่สุดสำหรับเขา งานประพันธ์ของโบดแลร์ได้รับยกย่องว่าเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นความริเริ่มใหม่ๆ ของวรรณคดีประเภทร้อยกรองของฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎเกณฑ์การประพันธ์ หรือในด้านความนึกคิด ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อกวีคนสำคัญๆ ของฝรั่งเศสและกวีชาติอื่นๆ ในเวลาต่อมาไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้ซึ่งได้พยายามวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงแนวความคิดที่โบดแลร์มีต่อผู้หญิงก็จะทำให้ผู้ที่สนใจวรรณคดีเปรียบเทียบได้ศึกษาถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันระหว่างแนวคิดของโบดแลร์และแนวคิดของกวีคนอื่นๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาตะวันตก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22452
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_Wi_front.pdf509.37 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wi_ch1.pdf756.96 kBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wi_ch2.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wi_ch3.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_Wi_back.pdf328.61 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.