Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22488
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศจี จันวิมล-
dc.contributor.authorเสาวนีย์ นุชนาฏนนท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-10-09T07:43:18Z-
dc.date.available2012-10-09T07:43:18Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745621137-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22488-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าเหล่านั้น วิธีดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีค้นคว้าจากหนังสือ วารสาร และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยแบ่งแบบสอบถามเป็น 3 ตอน คือ 1. ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม 2. แบบสอบถามความพึงพอใจในการทำงาน ซึ่งใช้แนวของแบบสอบถาม HSQ อันเป็นแบบสอบถามมาตรฐานที่ใช้วัดความพึงพอใจของมหาวิทยาลัยมินิโซตา ประกอบด้วยคำถาม 100 ข้อ แบ่งเป็น 20 ปัจจัย 3. แบบสอบถามความคิดเห็น ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามด้วยตนเองให้แก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ หอสมุดกลาง และห้องสมุดคณะและสถาบัน 18 แห่ง เป็นจำนวน 110 ฉบับ และได้รับแบบสอบถามที่ใช้การได้คืน 102 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.72 ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาโดยเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดทั้ง 2 กลุ่ม และวิเคราะห์ผลโดยใช้สูตรมัชฌิมเลขคณิต (Mean) และแสดงด้วยกราฟแท่ง ดังผลการวิจัยซึ่งสรุปได้ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่เจ้าหน้าที่ในหอสมุดกลางมีความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างสูง คือ ผู้ร่วมงาน ส่วนปัจจัยที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดคณะและสถาบันมีความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างสูงได้แก่ การบริการสังคม และความสำเร็จในการทำงาน 3. ปัจจัยที่เจ้าหน้าที่ในหอสมุดกลางมีความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คือ ความก้าวหน้าในการทำงาน นโยบายและการปฏิบัติงานในห้องสมุด และความมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ส่วนปัจจัยที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดคณะและสถาบันมีความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ คือ ความก้าวหน้าในการทำงาน และค่าตอบแทน ปัจจัยที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำนั้น เป็นปัญหาของห้องสมุดซึ่งผู้บังคับบัญชาทุกระดับที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนใจและแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างแท้จริง ผู้วิจัยขอสรุปข้อเสนอแนะเพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับงานห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพิจารณาดังนี้ 1. ควรส่งเสริมความก้าวหน้าของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โดยให้เจ้าหน้าที่ได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านความรู้ความสามารถ ด้วยการให้ได้รับการฝึกอบรม หรือศึกษาต่อ เพื่อเพิ่มวุฒิ ปรับตำแหน่งและระดับ โดยขจัดเงื่อนไขที่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดต้องโอนไปสังกัดหอสมุดกลางก่อนการพิจารณากำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้น 2. จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความชอบของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดอย่างมีหลักเกณฑ์ คือ มีเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถวัดและประเมินผลได้อย่างยุติธรรม 3. ปรับปรุงนโยบาย และการปฏิบัติงานในห้องสมุดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะหอสมุดกลาง ให้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม กระจายงานแก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดอย่างยุติธรรม และเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยจ้างนิสิตช่วยงาน และวางแผนระยะยาว เพื่อขออัตรากำลังเพิ่มขึ้น 4. พยายามขจัดอคติของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดที่มีต่อผู้บังคับบัญชา โดยการสร้างความมีมนุษย์สัมพันธ์ให้เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย 5. ควรปรับปรุงอัตราค่าตอบแทนแก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุดผู้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยกำหนดค่าตอนแทนเป็น 1.5 เท่าของอัตราเงินเดือนขั้นต่ำของเจ้าหน้าที่ระดับ 1 และ 3-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the level of job satisfaction and the factors which influenced the level of job satisfaction among the non-professional staffs in Chulalongkorn University Libraries. The research methods used in this thesis were both documentary research and survey research by using a questionnaire for collecting data. The questionnaire contained 3 categories : 1. Personnel information 2. Job satisfaction : By using the Minnesota Satisfaction Questionnaire (MSQ) as the main instrument for collecting data. It contained 100 questions and was divided into 20 dimensions. 3. Opinion concerning problems at work. The 110 questionnaires were distributed by self-delivered method to the non-professional staffs in Chulalongkorn University Libraries which were divided into 2 groups : Central Library and 18 Faculty and Institute Libraries. The total number of answers used as data was 102 copies or 92.72 percent. In this study, the writer presented the findings by comparing the level of job satisfaction of each factor which influenced non-professional staffs’ work conditions. Statistical analysis of data consisted of the application of arithmetic mean (Mean) and graphic scales. The results of the research were as follows : 1. Job satisfaction of the non-professional staffs in Chulalongkorn University Libraries was moderate. 2. The important factor which influenced high level of job satisfaction of non-professional in the Central Library was Co-workers, while the factors which influenced high level of job satisfaction of non-professional staffs in Faculty and Institute Libraries were Social Service and Achievement. 3. The factors which caused the low level of job satisfaction of non-professional staffs in the Central Library were Advancement, Library Policies and Practices, and Supervision Human Relations, while the factors which caused the low level of job satisfaction of non-professional staffs in the Faculty and Institute Libraries were Advancement and Compensation. The factors which influenced low level of job satisfaction of non-professional staffs in Chulalongkorn University Libraries were the problems within the Libraries to which ad administrator and supervisors of all levels concerned should pay more attention to try to find ways to solve them. The writer would like to sum up some recommendation for Chulalongkorn University Libraries administrators of all levels to take into consideration. They are as follows : 1. The non-professional staffs in Chulalongkorn University Libraries should be given a chance to develop their ability and competence. This promotion could be given in the form of further training or further studies for higher qualifications, ranks and working status. More importantly, the existing condition which requires that the non-professional staffs in Faculty and Institute Libraries transfer their positions to the Central Library before any promotion for a higher position could be made should be abolished first. 2. There should be a fair, systematic and standardized job evaluation and promotion for the non-professional staffs in Chulalongkorn University Libraries. That is, there should be some criteria on which staffs could be fairly evaluated. 3. There should be improvement in Chulalongkorn University Libraries’ policies and practices especially those of the Central Library so that they would be appropriately flexible. Also job distribution should be fairly arranges. It has also been recommended that the number of non-professional staffs should be increased by means of employing part-time staffs (like students) and asking for more man-power in the long-run planning. 4. It was suggested that the staffs’ bias towards their supervisors should be rid of . This could be done by establishing human relations between the two sides. 5. There should be improvement in compensation for the staffs who work over-tome. This means that the compensation should be appropriately considered alongside with the present economic situation for instance, the compensation should be 1.5 times of the lowest salary of the staffs whose ranks are on the first and third level.-
dc.format.extent525541 bytes-
dc.format.extent592300 bytes-
dc.format.extent638912 bytes-
dc.format.extent1649865 bytes-
dc.format.extent1131083 bytes-
dc.format.extent654675 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความพึงพอใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeJob statisfaction of non-professional staffs in Chulalongkorn University librariesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowanee_Nu_front.pdf513.22 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Nu_ch1.pdf578.42 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Nu_ch2.pdf623.94 kBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Nu_ch3.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Nu_ch4.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Saowanee_Nu_back.pdf639.33 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.