Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22623
Title: ผลของการปนเปื้อนน้ำลายเทียมและควันบุหรี่ต่อเสถียรภาพของสีของเรซินซีเมนต์
Other Titles: The effects of artificial saliva contamination and cigarette smoke on color stability of resin cements
Authors: สุเธียร อัมพรสิริรัตน์
Advisors: นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: niyom.t@chula.ac.th
Subjects: เรซินทางทันตกรรม
การวัดสี
น้ำลาย
ทันตวัสดุ -- การทดสอบ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือเพื่อประเมินผลของการปนเปื้อนน้ำลายเทียม และผลของควันบุหรี่ต่อเสถียรภาพของสีของเรซินซีเมนต์ในแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งทำการทดสอบเป็น 2 ตอน การทดสอบตอนที่หนึ่ง เรซินซีเมนต์จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ (Nexus 3, Variolink Veneer, Superbond C&B, Clearfil SA Cement, Panavia F2.0 และ Multilink Speed) ได้ถูกเลือกนำมาทดสอบ เรซินซีเมนต์แต่ละผลิตภัณฑ์จะแยกออกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มเรซินซีเมนต์ที่ไม่ปนเปื้อนน้ำลายเทียมก่อนเกิดปฏิกิริยาการก่อตัว (N) และกลุ่มเรซินซีเมนต์ที่ปนเปื้อนน้ำลายเทียมก่อนการเกิดปฏิกิริยาการก่อตัว (S) เตรียมชิ้นตัวอย่างจากเรซินซีเมนต์จำนวน 10 ชิ้นในแต่ละกลุ่ม จำนวน 12 กลุ่มโดยใช้แม่แบบอะคริลิก นำชิ้นตัวอย่างมาผ่านการเร่งอายุด้วยเครื่องทดสอบการเร่งอายุเป็นเวลา 120 ชั่วโมง ทำการวัดสีก่อนและหลังผ่านการเร่งอายุด้วยเครื่องวัดสี ผลของการทดสอบตอนที่หนึ่งพบว่าการปนเปื้อนน้ำลายเทียมไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของสีของเรซินซีเมนต์ ในขณะที่กลุ่ม Multilink Speed และกลุ่ม Superbond C&B มีการเปลี่ยนสีอย่างเห็นได้ชัดมากที่สุดตามลำดับ ส่วนกลุ่ม Variolink Veneer มีการเปลี่ยนสีที่น้อยที่สุด ส่วนการทดสอบตอนที่สอง นำชิ้นตัวอย่างจำนวน 10 ชิ้นของแต่ละผลิตภัณฑ์จากเรซินซีเมนต์จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์มาทำการรมควันบุหรี่อย่างต่อเนื่องจำนวน 12 มวน โดยใช้บุหรี่ 1 มวนในการรมควันในกล่องนาน 6 นาที ใช้เวลารวมทั้งหมด 72 นาที แล้วจึงนำมาทำความสะอาดคราบควันบุหรี่ด้วยเครื่อง อัลตราโซนิก โดยทำการวัดสีจำนวน 3 ครั้งคือ การวัดสีก่อนการรมควันบุหรี่ การวัดสีหลังการรมควันบุหรี่ และการวัดสีหลังทำความสะอาดคราบควันบุหรี่ แล้วจึงคำนวณผลต่างเฉลี่ยของสีก่อนกับหลังการรมควันบุหรี่ (ΔE12) และผลต่างเฉลี่ยของสีก่อนการรมควันบุหรี่กับหลังทำความสะอาดคราบควันบุหรี่ (ΔE13) ผลของการทดสอบตอนที่สองพบว่าหลังการรมควันบุหรี่ สามารถสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนสีของเรซินซีเมนต์ด้วยสายตามนุษย์ได้ (ΔE12≥ 3.3) ยกเว้นกลุ่ม Clearfil SA Luting และกลุ่ม Panavia F2.0 และเมื่อทำความสะอาดคราบควันบุหรี่ที่ชิ้นตัวอย่างด้วยเครื่องอัลตราโซนิก พบว่ามีการติดสีจากคราบควันบุหรี่ลดน้อยลงในเรซินซีเมนต์ทุกผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบ (p≤0.05) ความรู้ที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางเบื้องต้นในการเลือกใช้เรซินซีเมนต์ให้เหมาะสมกับงานทันตกรรมด้านความสวยงาม และอาจใช้เป็นข้อมูลในการนำไปใช้ศึกษางานวิจัยขั้นต่อไปในอนาคตได้
Other Abstract: The purpose of this in vitro study was to investigate the effects of artificial saliva contamination and cigarette smoke on color stability of resin cements. The tests were divided into two parts. In first part, Six resin cements (Nexus 3, Variolink Veneer, Superbond C&B, Clearfil SA Cement, Panavia F2.0 and Multilink Speed) were selected for this study. Each product of resin cements was divided into two groups; specimen group that was not contaminated with artificial saliva (N) and specimen group that was contaminated with artificial saliva (S) before polymerization of resin cements. Ten specimen disks of twelve groups were prepared using an acrylic mold. The specimen disks were subjected to accelerated aging for 120 hours. The color was measured before and after accelerated aging by using Spectrophotometer. The results of this part revealed that the artificial saliva contamination did not affect color stability of resin cements. Multilink Speed and Superbond C&B had the most obvious color change, respectively, while Variolink Veneer had the least color change. In second part, ten specimen disks of six resin cements were subjected to continuous smoke of twelve cigarettes at the rate of 1 cigarette/6 min for a total exposure time of 72 minutes. The specimen disks were cleaned with ultrasonic cleaner. The color was measured before smoke exposure (baseline), after smoke exposure, and after ultrasonic cleaning. Color changes were calculated between baseline and after smoke exposure measurements (ΔE12), and between baseline and after ultrasonic cleaning measurements (ΔE13). The results showed that after exposure to cigarette, Most resin cements had perceptible color changes (ΔE12≥3.3) except Clearfil SA Luting and Panavia F2.0. While ultrasonic cleaning could reduce stains from cigarette smoke attached on all tested resin cements (p≤0.05). The knowledge from this study can be a preliminary suggestion for selection of resin cements for esthetic dentistry, and may be used for further research in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22623
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.895
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.895
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suthean_um.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.