Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22730
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมโรช ศรีรองเมือง | - |
dc.contributor.advisor | นราศรี ไววนิชกุล | - |
dc.contributor.author | อรุณีพันธุ์ หังสนาวิน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-19T02:49:44Z | - |
dc.date.available | 2012-10-19T02:49:44Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22730 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | ป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ามหาศาล เปรียบเสมือนหนึ่งหลักทรัพย์ของชาติเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรอื่นๆ เป็นแหล่งผลิตไม้และของป่าต่างๆ ซึ่งนำมาใช้และดัดแปลงเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องมือเครื่องใช้ ยารักษาโรค เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่ให้ประโยชน์แก่มนุษย์ ป่าไม้เสมือนโรงงานฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ ช่วยให้เกิดความเย็นขึ้นในอากาศ ป่าไม้เป็นแหล่งสะสมน้ำและปุ๋ยพืชไว้ในดิน โดยเฉพาะในบริเวณต้นน้ำลำธาร และยังช่วยกำบังบม ช่วยบรรเทาความร้อนแรงของอากาศให้น้อยลง ช่วยรักษาดุลยธรรมชาติไม่ให้เกิดมลภาวะ นอกจากนี้มนุษย์ยังได้อาศัยป่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้เกิดสุขภาพจิตที่ดี การนำผลิตผลป่าไม้มาใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดผลดีทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม เพราะผลิตผลป่าไม้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญของอุตสาหกรรมต่างๆ หลายประเภท ยังผลประโยชน์ให้เกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีรายได้ดี ยกฐานะการครองชีพให้สูงขึ้น จึงสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่ประชาชนและแก่ประเทศชาติ นับได้ว่าป่าไม้มีส่วนเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์อย่างมากมายทั้งทางตรงและทางอ้อม การรู้จักนำทรัพยากรป่าไม้ออกมาใช้ประโยชน์ด้วยวิธีอันชาญฉลาดและระมัดระวังมิให้เกิดผลเสียหายโดยเปล่าประโยชน์ จะสามารถใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดคุณค่าและได้มูลค่าสูงสุดเป็นเวลายาวนานต่อเนื่องกัน การรู้จักดูแลป้องกันรักษาป่าไม้มิให้ถูกทำลายเสียหาย มีผลถึงการอนุรักษ์ป่าไม้ให้มีอายุยืนยาวต่อไป ถ้ามีการเพิ่มผลผลิตของป่าให้สูงขึ้นด้วยการปลูกบำรุงป่าทดแทนส่วนที่ถูกนำออกมาใช้ประโยชน์แล้ว จะทำให้มีทรัพยากรป่าไม้ไว้ใช้ได้ตลอดไป เพื่อให้การนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องตามหลักวิชาและเกิดคุณค่ามากที่สุดแก่ประชาชน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดป่าไว้หลายประเภท เช่น ป่าเพื่อผลิตผล ป่าต้นน้ำลำธาร ป่าเพื่อสงวนพันธุ์สัตว์ป่า ป่าเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นต้น สำหรับป่าเพื่อผลิตผล รัฐบาลได้อนุญาตให้เอกชนและรัฐวิสาหกิจดำเนินการทำไม้ โดยยึดหลักปฏิบัติตามกฏหมายระเบียบ กฏข้องบังคับของทางราชการป่าไม้ ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด การศึกษาเกี่ยวกับงานทำไม้ของรัฐวิสาหกิจ คืองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และบริษัทไม้อัดไทย จำกัดในครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึงวิธีการทำไม้ออกจากป่าอย่างถูกต้องตามหลักวิชา ระเบียบ กฏหมาย ซ่งรัฐวิสหกิจได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับมาโดยตลอด ยังผลให้สามารถนำไม้ออกจากป่ามาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่าและประหยัดต้นทุนการผลิต นำรายได้มาสู่รัฐอย่างมากมาย นอกจานี้ ยังได้ศึกษาถึงการวางแผนและการจัดการเกี่ยวกับงานทำไม้ ซึ่งมีความสำคัญ หากผู้รับผิดชอบสามารถวางแผนงานและจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาหรืออุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ ได้อย่างดี ทำให้ทำงานบรรลุผลตามที่ต้องการและยังให้มูลค่าสูงสุดโดยเสียต้นทุนผลิตต่ำ ผลจากการศึกษาครั้งนี้ทำให้ได้ทราบถึงระเบียบ กฏหมาย กฏข้อบังคับ ตลอดจนวิธีปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานทำไม้ ได้ทราบถึงวิธีการวางแผนงาน การจัดการ และการแก้ไขอุสรรคในการทำไม้ พร้อมกับการนำความรู้ความชำนาญมาเป็นส่วนประกอบในการดำเนินงานด้วยจนได้รับผลดีตามเป้าหมาย ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในทางเศรษฐกิจและสังคมของชาติ โดยไม่ทำให้สภาพป่าเดิมสูญเสียไป ยิ่งกว่านั้น ยังได้ทราบถึงข้อกำหนดและวิธีการที่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับการทำไม้ต้องปลูกป่าชิ้นทดแทนไม้ที่ถูกตัดฟันออกไป และยังเป็นการเพิ่มพูนเนื้อที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุกทำลายลงไปด้วย ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น รัฐวิสาหกิจทั้งสองสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจนถือเป็นแบบอย่างที่ดีได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Forests are invaluable natural resources of the nation. Forests provide an important link between geological resources, water, and other resources. Forests are the source of timber and forest products used for various objects e.g., houses, tools and medicines. Forests provide shelters for wild lives which are beneficial to mankind. Forests act as air-purifying factories, providing the necessary air humidity. Forests provide the earth with continual accumulation of water and natural fertilizers, especially in stream and riverhead areas. Forests provide protection against wind, and reduce the heated air temperature. Forests help to protect the balance of nature against pollution. Forests also provide mankind with facilities for relaxation which is an inherent factor for good mental health. Effective utilization of forest products is beneficial to the economy as well as to the economy as well as to the society. Various types of raw materials used in many manufacturing and industrial processes are forest products. Such utilization creates chain benefits whereby employment and good income opportunities are provided for, and standards of living are raised resulting in economic stability within the nation. Forests therefore provide mankind with both direct and indirect benefits. Wise and careful exploitation of forest resources so as to avoid unnecessary loss of benefits will enable mankind to continue to extract most from such resources in terms of quantity, quality and value. The exercise of proper care and security measures so as to safeguards against improper or unwanted destruction of forests will help to extend the life of forests. Increased productivity through reforestations will result in unlimited forest resources. In order that forest resources may be exploited fully and by theoretically acceptable method, the government has necessarily established various classifications of the national forests, for example, productive forests, forests for water conservation, forests for conservation of wild live, and forest for recreation. With regard to productive forests, the government has been allowing both the private sector and state enterprises to operate timber business under concessions and under the laws and regulation prescribed by the department of Forestry, and under close supervision of government officials. This thesis aim to study the methods employed by Forest Industry Organization, Thai Plywood Company Limited, both are state enterprises in the timber industry which are not only based on technical principles but are also in accordance with the laws and regulations pertaining to the industry, and which have enabled state enterprises to extract and utilize timber economically and efficiently thereby earning substantial income for the country. The study also covers the planning and management aspects of the timber industry which are also equally important in that through effective planning and management, problem and obstacles may be overcome and work objectives achieved in the most efficient and cost-effective manners. As a result of the study, comprehensive data have been collected and /or developed on the rules, regulations and the law pertaining to the timber industry, and the practices adopted by the industry, as well as an the planning and management procedures, and the methods employed in dealing with and solving the various problems through the application of theoretical knowledge and practical experience which leads to the achievement of planned objectives and consequently valuable and positive contributions to the economy and society whilst enabling a conservation of forests in their originality. The study also provides information regarding the regulations and requirements on reforestation to replace fallen timber as well as to increase forests area where there has been illegal deforestation, From the study, it was found that the two state enterprises engaging in the timber business have both demonstrated the ability to operate at a high efficiency such that should be recognised as a standard. | - |
dc.format.extent | 509513 bytes | - |
dc.format.extent | 528492 bytes | - |
dc.format.extent | 695257 bytes | - |
dc.format.extent | 747993 bytes | - |
dc.format.extent | 3169050 bytes | - |
dc.format.extent | 1460933 bytes | - |
dc.format.extent | 2334268 bytes | - |
dc.format.extent | 813489 bytes | - |
dc.format.extent | 1595896 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การศึกษาการดำเนินงานทำไม้ซุงของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | A study of state enterprises operation of timber harvesting in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
aruneepun_hu_front.pdf | 497.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch1.pdf | 516.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch2.pdf | 678.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch3.pdf | 730.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch4.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch5.pdf | 1.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch6.pdf | 2.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_ch7.pdf | 794.42 kB | Adobe PDF | View/Open | |
aruneepun_hu_back.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.