Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22825
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อภิชาติ พลประเสริฐ | - |
dc.contributor.advisor | ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ | - |
dc.contributor.author | ธนวัฒน์ กันภัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-25T08:45:58Z | - |
dc.date.available | 2012-10-25T08:45:58Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22825 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการคิดขั้นสูงในวิชาศิลปวิจารณ์ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปวิจารณ์ 4 คน นักศึกษาที่กำลังเรียนในวิชาศิลปวิจารณ์ 17 คน ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศึกษา 5 คน นักวิจารณ์ศิลปะ 5 คน และศิลปิน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศิลปวิจารณ์ ในภาคเรียนที่ 1/2554 แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศึกษา แบบสัมภาษณ์นักวิจารณ์ศิลปะ แบบสัมภาษณ์ศิลปิน แบบสังเกตกิจกรรมการเรียนการสอน ในรายวิชาศิลปวิจารณ์ และแบบการวิจารณ์ศิลปะสำหรับนักศึกษาเพื่อวัดความสามารถในการคิดขั้นสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านวัตถุประสงค์ควรกำหนดให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ศิลปะโดยบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ 2) ด้านเนื้อหาสาระต้องบูรณาการความรู้ด้านศิลปวิจารณ์ให้เชื่อมโยงกับศาสตร์ด้านต่างๆ เช่นประวัติศาสตร์ศิลป์ ปรัชญา และหลักการทางศิลปะ 3)ด้านกิจกรรมและกระบวนการเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เน้นให้เกิดสังคมการวิจารณ์ในชั้นเรียน 4) ด้านวิธีสอนควรให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา มีการใช้รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดของนักศึกษา เช่น การสอนมโนทัศน์ การสอนกระบวนการสืบสอบและหาความรู้เป็นกลุ่ม การสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สื่อที่ใช้ประกอบการสอน ได้แก่ผลงานจริง และบทวิจารณ์ศิลปะ 5) ด้านการวัดและประเมินผลควรประเมินความสามารถในการแสดงออกทางความคิดเห็น การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ผ่านการพูดปากเปล่าและงานเขียนวิจารณ์ศิลปะ โดยผู้สอนสร้างเครื่องมือการประเมินการวิจารณ์โดยตั้งเกณฑ์ยึดตามกระบวนการคิดขั้นสูงได้แก่ ขั้นการประยุกต์, ขั้นการวิเคราะห์, ขั้นการประเมินผล จนถึงขั้นการสร้างความรู้ 6) ด้านผู้สอนควรมีลักษณะของนักจัดอภิปราย เป็นผู้ฟังที่ดี และรู้จริงในเรื่องศิลปวิจารณ์ 7) ด้านผู้เรียนควรมีลักษณะของผู้แสดงความคิดเห็น และผู้ฟังที่ดี 8) บรรยากาศการเรียนการสอนควรมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะการสัมมนาในบรรยากาศที่เป็นกันเอง นอกจากนี้นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to find guidelines for art criticism instruction to enhance higher-order thinking of undergraduate students in art education. The research samples consisted of four lecturers, seventeen students, five art education specialists, five art critics, and five artists. The research instruments were interview forms for lecturers, students, art education specialists, art critics, and artists; class observation form; and art criticism writing test for evaluating students’ higher-order thinking. The results showed that guidelines of art criticism instruction to enhance higher-order thinking of undergraduate students in art education were as follows: 1) The objectives should encourage students to analyze and criticize artwork by integrating knowledge from various disciplines. 2) The contents should include the integration of art criticism with other related subject areas such as art history, philosophy and principles of art. 3) The teaching and learning activities should encourage students to express their opinions, and to build a critical society in the classroom. 4) The teaching methods that encourage students’ discussion include the following models: student-centered, concept attainment, group investigation, and synectics instructional model. Teaching media should include original works of art and examples of art criticism articles. 5) The evaluation should focus on the students’ ability to express their higher-order thinking through writing and oral presentation. The teacher should create an evaluation form that provides description and criteria for each level of thinking. 6) The instructors should be a good discussion moderator, a good listener and specialized in art criticism 7) The students should be active discussion participants as well as good listeners 8) The learning environment should be set as a friendly group discussion or seminar. Finally, the art education students should develop their skills of effective presentation and improve their ability to transfer knowledge. | en |
dc.format.extent | 2816766 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.933 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศิลปวิจารณ์ | en |
dc.subject | กิจกรรมการเรียนการสอน | en |
dc.subject | ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | ทักษะทางการคิด | en |
dc.title | การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปวิจารณ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาตรี | en |
dc.title.alternative | Proposed guidelines for art criticism instruction to enhance higher-order thinking of undergraduate students in art education | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ichart.P@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Poonarat.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.933 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanawat_ka.pdf | 2.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.