Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22931
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ | - |
dc.contributor.author | อุบลศรี รัตนภพ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-10-29T03:15:19Z | - |
dc.date.available | 2012-10-29T03:15:19Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22931 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและรูปแบบการนำเสนอสื่อใหม่ที่ผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวายเปิดรับ (2) ศึกษาความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็น ในกลุ่มเจเนอเรชันวายที่มีต่อสื่อใหม่ (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อใหม่ จำนวน 3 รายการ ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อใหม่สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 7 ท่าน และการสนทนากลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ราย ผลการวิจัยพบว่า สภาพและรูปแบบการนำเสนอสื่อใหม่ที่มีอยู่ในทุกวันนี้ยังไม่เอื้อต่อการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวายนัก เพราะแม้จะมีเนื้อหา ที่สอดคล้องกับความต้องการ แต่ผู้พิการทางการมองเห็นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก สื่อเหล่านั้น ทั้งในด้านการออกแบบเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีการจัดวางองค์ประกอบซับซ้อน มีรูปภาพที่เครื่องอ่านเสียงไม่สามารถอ่านได้ ฯลฯ ด้านการติดตั้งโปรแกรมอ่านจอภาพ ที่ยังไม่เพียงพอทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทั้งนี้ผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย มีความต้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สื่อใหม่เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่มีความพิการทางการมองเห็น แต่เนื่องจากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้พิการทางการมองเห็นไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์สื่อใหม่ ได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นแนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวายคือการปรับรูปแบบการนำเสนอให้เรียบง่าย มีคำอธิบายรูปภาพประกอบ มีเสียงประกอบ แต่ต้องไม่เป็นการเล่นเสียงแบบอัตโนมัติ เพราะจะกระทบต่อโปรแกรมอ่านหน้าจอ กล่าวคือเสียงที่เล่นอัตโนมัติจะรบกวนเนื้อหาที่โปรแกรมอ่านหน้าจอกำลังอ่าน นอกจากนี้ควรพัฒนาโปรแกรมอ่านหน้าจอให้ดียิ่งขึ้นและติดตั้งทั่วถึงขึ้น แต่ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบ สื่อใหม่ตามแนวทางดังกล่าว สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกคนในสังคมควรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของผู้พิการทางการมองเห็น ซึ่งการตระหนักนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่ เพื่อผู้พิการทางการมองเห็นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were (1) to identify the conditions and patterns of new media presentation that the visually-impaired in generation Y exposure to, (2) to identify the need of the visually-impaired in generation Y regarding new media and (3) to propose development guidelines of new media forms that conform to the need of the visually-impaired in generation Y. By implementing a qualitative research method, the researcher conducted content analysis in 3 websites and combined with an in-depth interview with 6 academicians and experts. Moreover, the researcher conducted three focus group interviews with 4 representative visually-impaired in each group. The results indicated that nowadays, conditions and forms of new media’s presentation were not convenient for accessibility and utilization of visual disabilities person in generation Y. Although the contents conformed to the need of the visually-impaired in generation Y, the target group had limitation with accessibility and utilization of the new media. One was design with complex components, usage images that screen reader could not read and so on, another was screen reader program installed is neither quantitatively or qualitatively appropriate. Although the visually-impaired in generation Y had the need in accessibility and utilization like non visually-impaired, the existing problems had a negative influence on the visually-impaired in generation Y until the target group could not absolutely accessible and utilize the new media. Therefore development of new media pattern guideline that conform to the need of the visually-impaired in generation Y is adjustment of presentation with simplelization, adding tags of image description and adding audio files - - do not play the files automatically because the sound might disturb running of text-to-speech program. In addition, participants should develop more effective screen reader programs and text-to-speech programs and distribute installation of the programs thoroughly. The last of all and the most important, before developing the new media forms, everybody in society should realize about value and emphasis of the visually-impaired for continuously and sustainably carry forward development new media forms for the visually-impaired in generation Y. | en |
dc.format.extent | 5923537 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.941 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | คนตาบอด | en |
dc.subject | เจนเนอเรชันวาย | en |
dc.subject | การสื่อสารแบบสื่อประสม | en |
dc.subject | สื่ออิเล็กทรอนิกส์ | en |
dc.subject | เทคโนโลยีสารสนเทศ | en |
dc.title | แนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย | en |
dc.title.alternative | Development of new media forms for the visually-impaired in generation Y | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Yubol.B@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.941 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ubonsri_ra.pdf | 5.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.