Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23092
Title: ความต้องการในการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ในประเทศไทย
Other Titles: The need for continuing education of the public librarians in Thailand
Authors: ภารดี รัตนอุดม
Advisors: พรรณพิมล กุลบุญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน
การศึกษาต่อเนื่อง
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแหล่งที่ให้การศึกษาต่อเนื่องแก่บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ระดับจังหวัด 70 จังหวัด สำรวจสภาพ ทัศนคติและแนวความต้องการในการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ศึกษาถึงความสนับสนุนของผู้บริหารงานห้องสมุดประชาชนที่มีต่อการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน เพื่อทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน และข้อเสนอแนะที่บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนมีให้ต่อการจัดการศึกษาต่อเนื่องทางบรรณารักษ์ศาสตร์ เพื่อเสนอแนวทางแก่สถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงหลักสูตรการสอนและจัดกิจกรรมในการศึกษาอบรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและหนังสือ จากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งให้แก่บรรณารักษ์และผู้บริหารงานห้องสมุดประชาชน ระดับจังหวัด 70 จังหวัด ทั้งหมด 140 คน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์เสนอในรูปของร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บรรณารักษ์ส่วนใหญ่ เห็นว่าการศึกษาต่อเนื่องมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพและวิชาการ ส่วนผู้บริหารมีทัศนคติว่ามีความสำคัญต่อบรรณารักษ์ในการปรับปรุงการปฏิบัติงานและการพัฒนาวิชาชีพ เหตุผลในการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ คือ เพื่อปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อุปสรรคในการศึกษาต่อเนื่อง คือ ขาดงบประมาณค่าใช้จ่ายและขาดผู้ทำงานแทน บรรณารักษ์มีความต้องการศึกษาแบบเป็นทางการมากกว่าแบบไม่เป็นทางการ กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องแบบเป็นทางการที่ต้องการ คือ การเข้ารับการอบรมวิชาบรรณารักษศาสตร์ที่มีวุฒิโดยสถาบันต่างๆ และต้องการเรียนเต็มเวลาในระดับปริญญาตรี กิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการที่ต้องการ คือ การเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ หน่วยงานที่บรรณารักษ์ต้องการให้จัดกิจกรรมทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ คือ มหาวิทยาลัยในประเทศ ระยะเวลาที่บรรณารักษ์สะดวกเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการ คือ ในเวลาราชการ จำนวนวันที่เห็นว่า เหมาะสม คือ 5-7 วัน เนื้อหาวิชาทางบรรณารักษศาสตร์ ทั้งที่บรรณารักษ์ต้องการศึกษา และผู้บริหารต้องการให้บรรณารักษ์ศึกษา คือ การบริหารงานห้องสมุดประชาชน การบริการของห้องสมุดประชาชน การจัดหมู่และทำบัตรรายการ โสตทัศน์วัสดุในห้องสมุด บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า การประชาสัมพันธ์ห้องสมุด งบประมาณของห้องสมุด วรรณกรรมสำหรับเด็ก วารสารและหนังสือพิมพ์ ความร่วมมือระหว่างห้องสมุด การสอนการใช้ห้องสมุด การทำดรรชนีและสาระสังเขปและการสัมมนาห้องสมุดประชาชน สำหรับความสนับสนุนของผู้บังคับบัญชามีต่อการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ตามทัศนะของบรรณารักษ์ เห็นว่าให้การสนับสนุนน้อย แต่ตามทัศนะของผู้บริหาร เห็นว่า ให้ความสนับสนุนมาก ข้อเสนอแนะ คือ สถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ 1) ควรเปิดหลักสูตรการอบรมที่มีวุฒิบัตรสำหรับบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนขึ้นโดยเฉพาะ 2) ควรจัดกิจกรรมการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการ การอภิปรายเพิ่มขึ้นตามเนื้อหาที่จะสนองความต้องการของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน 3) ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งควรมีการประชาสัมพันธ์แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนโดยทั่วถึงกัน 4) ควรพิจารณาจัดทำวารสารหรือบทความเกี่ยวกับห้องสมุดประชาชนให้มากขึ้น
Other Abstract: The purposes of this thesis were to survey the institutes that provided the continuing education activites in librarianship to study the needs, attitudesร motivations, problems including the library administrators’ support and the suggestion for continuing education of public librarians and library administrators. Research results would be guidelines for the library schools and other institutes to better the continuing education programs. The research was done through 140 questionnaires distributed to public librarians and their administrators in 70 Changwats in Thailand where the public libraries were established. The data were analyzed and presented in the forms of percentages, mean and standard deviation. The findings could be summed up that most of the public librarians realized that continuing education was important for their library profession and would help them to progress in their jobs. For the administrators attitudes, continuing education was neccessary for improving the public librarians working ability and their professional development. The reason of the public librariana to participate in continuing education activities was to improve their working efficiency. The problems of the continuing education were lack of budget and shortage of personnel to help with the work while librarians joined the programs. The Public librarians prefered formal continuing education to informal continuing education. For the former, 'librarians needed to praticipate in trainning activities leading to certification, and to study full-time in undergraduate program accordingly. For the informal continuing education they wanted to participate in seminars which provided locally by the universities during working hours, and around 5-7 days. The public librarians wanted to study these subjects? Library administration, Library services, Classification and cataloging, Audio-Visual materials, Reference services, Library public relations, Library budget, Children Literature, Serials system, Library co-opperation9 Library instruction, Indexing and abstracting, and Seminar in public Librarianship. Librarians expressed that the administrators’ support in their continuing education was at low level which was constrasted to that at high level indicated by the administrators. Recommendations: The library schools should : 1. Offer formal professional training programs leading to certification for the public librarians.2. Provide informal continuing education such as seminars discussions and special lectures on indicated needed contents.3. Promote continuing education programs to be widely known among public librarians.4. fake into considerations on having more articles or special issues of professional journals geared particularly to public librarlanship.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23092
ISBN: 2527
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paradee_Ra_front.pdf664.58 kBAdobe PDFView/Open
Paradee_Ra_ch1.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Paradee_Ra_ch2.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open
Paradee_Ra_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Paradee_Ra_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Paradee_Ra_back.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.