Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23172
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ
dc.contributor.authorประทุม ฤกษ์กลาง
dc.date.accessioned2012-11-06T07:31:39Z
dc.date.available2012-11-06T07:31:39Z
dc.date.issued2527
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23172
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ 4 ประการคือ (ก) เพื่อทราบผลของการประสานสัมพันธ์การใช้รายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกรและการแพร่กระจายสารสนเทศระหว่างบุคคลที่มีต่อการยอมรับและการแพร่กระจายนวกรรมการเกษตร (ข) เพื่อเข้าใจถึงโครงสร้างการสื่อสารของกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกกะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร (ค) เพื่อทราบถึงตัวแปรดัชนีโครงสร้างการสื่อสารและปัจจัยทางการสื่อสารที่มีผลต่อการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกกลุ่มอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกร (ง) เพื่อทราบลักษณะของการแพร่กระจายนวกรรมการเกษตร จากสมาชิกกลุ่มอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกรไปสู่ระบบสังคม ตัวอย่างของการวิจัยได้แก่ สมาชิกทั้งหมดของกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้ อำเภอคง จำนวน 33 คน และสมาชิกทั้งหมดของกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 19 คน ตัวแปรอิสระในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ รูปแบบกลุ่มอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกร ดัชนีโครงสร้างการสื่อสาร และความเกี่ยวโยงทางการสื่อสาร ส่วนตัวแปรตามได้แก่ การยอมรับนวกรรม การแพร่กระจายนวกรรม ตลอดจนความคล้ายคลึงกันรวมทั้งความสัมพันธ์อย่างสนิทแน่นแฟ้นและปัจจัยพื้นที่ของคู่สื่อสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์รายบุคคล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น สมมติฐานของการวิจัยมี 7 ข้อคือ 1. ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร ในผลของการประสานสัมพันธ์การใช้รายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกรและการแพร่กระจายสารสนเทศระหว่างบุคคลที่ก่อให้เกิดการยอมรับนวกรรมการเกษตร 2. การสื่อสารระหว่างบุคคลก่อให้เกิดการยอมรับนวกรรมและก่อให้เกิดการแพร่กระจายนวกรรมการเกษตรมากกว่าสื่อวิทยุทั้งกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร 3. ลักษณะความเชื่อมโยงทางการสื่อสารระหว่างบุคคลภายในกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้ แตกต่างจากลักษณะความเชื่อมโยงทางการสื่อสารระหว่างบุคคลภายในกลุ่มยุวเกษตรโคกเพชร 4. ลักษณะการแพร่กระจายนวกรรมการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้ แตกต่างจากลักษณะการแพร่กระจายนวกรรมการเกษตรของกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร 5. ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร ในผลของสมาชิกที่มีความเกี่ยวโยงทางการสื่อสาร กล่าวคือสมาชิกจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันและมีสถานภาพทางสังคมคล้ายคลึงกัน 6. ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร ในผลของจำนวนความเกี่ยวโยงทางการสื่อสารที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับนวกรรมการเกษตร 7. ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร ในผลของสมาชิกที่จะแพร่กระจายนวกรรมการเกษตรไปยังบุคคลภายนอกที่มีความสัมพันธ์อย่างสนิทแน่นแฟ้นกับสมาชิกภายในกลุ่ม การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสารเป็นปัจจัยหลัก และใช้สถิติที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่า t (t-test) ค่าสหสัมพันธ์ (Pearson r) และค่าสหสัมพันธ์บางส่วน (Second-order partial correlation) จากการทดสอบสมมติฐานดังกล่าว ปรากฏว่าสมมติฐานข้อ 2, ข้อ 3, ข้อ 4 และข้อ 7 ได้รับการยอมรับ แต่สมมติฐานข้อ 1 พบว่ากลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้ยอมรับนวกรรมการเกษตรมากกว่ากลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร ส่วนสมมติฐานข้อ 5 พบว่าสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรทั้งสองแห่งที่มีความเกี่ยวโยงทางการสื่อสารจะตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันและมีอายุคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกันในด้านรายได้และการศึกษา สำหรับสมมติฐานข้อ 6 พบว่าการยอมรับนวกรรมการเกษตรของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชรมีความสัมพันธ์กับจำนวนครั้งที่เข้าฟังและร่วมอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกร ผลของการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. จากการวิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสารพบว่า โครงสร้างการสื่อสารของกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้มีกลุ่มย่อยเกิดขึ้น 2 กลุ่ม ส่วนโครงสร้างการสื่อสารของกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชรไม่มีกลุ่มย่อยเกิดขึ้นเลย นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชรมีการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกและมีการแพร่กระจายนวกรรมจากสมาชิกไปสู่สังคมมากกว่ากลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้ 2. กลุ่มอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกร ก่อให้เกิดการยอมรับและการแพร่กระจายนวกรรมการเกษตรทั้งกลุ่มยุวเกษตรโกรกตะใกล้และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร 3. กลุ่มอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกร สามารถทำหน้าที่ในการแพร่กระจายนวกรรมได้ 3 ประการคือ (ก) เป็นช่องสารในการถ่ายทอดแพร่กระจายนวกรรมจากสมาชิกของกลุ่มไปสู่บุคคลอื่น ๆ ในระบบสังคม (ข) ช่วยลดช่องว่างความแตกต่างในด้านความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ส่งเสริมนวกรรมกับผู้รับการเผยแพร่ (ค) ช่วยถ่ายทอดสารสนเทศจากสื่อมวลชนไปสู่สังคม จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนะกรมส่งเสริมการเกษตรให้สนับสนุนและส่งเสริมโครงการกลุ่มอภิปรายรายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกรต่อไป
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (a) to study the effects of the combination of using radio youth programs and diffusion of information for agricultural innovation among interpersonal communicators, (b) to understand the communication structures of agricultural youth groups at Kroke-Ta-Klai and Kokpetch, (c) to know the indices of communication structures and the deterinants of network links, and (d) to know the patterns of diffusion of innovation from members of agricultural youth groups to other people in the society. A total of 52 members of agricultural youth groups (33 from Kroke-Ta-Klai and 19 from Kokpetch) comprised the sample for this research. The independent variables of this study were : the radio youth forums, the indices of communication structures, and the network links. The dependent variables were : the adoption and diffusion of innovation, including homophily, strong ties and housing distance of dyads. The data collected were based on the interviews with each individual member by using questionnaires prepared by the researcher. Seven hypotheses were formulated and tested in the study: 1. There is no significant difference between the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups in terms of the effect of a combination of using radio youth programs and diffusion of information among interpersonal communicators upon the adoption of agricultural innovation. 2. Interpersonal communication is more effective for the adoption and diffusion of agricultural innovation than those of radio programs for both the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups. 3. There is a significant difference in terms of the index of average system connectedness between those of the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups. 4. There is a significant difference in terms of the index of diffusion of agricultural innovation between those of the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups. 5. There is no significant difference between the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups in terms of housing distance including homophily in age, income, and education levels, in order to determine the network links. 6. There is no significant difference between the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups in terms of the number of links related to the adoption of agricultural innovation. 7. There is no significant difference between the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups in terms of the members who transmited agricultural information for innovation to other people who have strong ties with them in the society. This study was conducted by using communication network analysis with the following major statistical tests : t-test, Pearson r correlation, and Second-order partial correlation. According to the hypothesis testings, hypotheses 2, 3, 4, and 7 were accepted. However, hypothesis 1, indicated that the Kroke-Ta-Klai group tended to adopt the agricultural innovation more than those of Kokpetch. For hypothesis 5, it was found that the members of the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups who had links were close in housing distance and homophily in age, but they were different in income and education levels. Hypothesis 6, it was discovered that the adoption rates of agricultural innovation of members were related to the frequencies of listening and discussing radio youth forums for both members of the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups. The important findings were: 1. By using communication network analysis, there were two cliques occurred in the communication structure of the Kroke-Ta-Klai group, but no clique was shown in the communication structure of the Kokpetch group. Moreover, there were more average system connectedness and system openness in the indices of communication structure for the Kokpetch group than those of the Kroke-Ta-Klai group. 2. Radio youth forums were effective for the adoption and diffusion of agricultural innovation in both the Kroke-Ta-Klai and Kokpetch groups. 3. Radio youth forums contricuted three functions in diffusion of innovation : (a) to be a channel for diffusion of innovation from the members to other people in the society, (b) to reduce heterophily in terms of diffusion gap between sources and receivers, and (c) to transmit information from mass media to other people in the society. Based on the results of this study, the researcher suggested the Agricultural Extension to continue promoting the radio youth forum programs.
dc.format.extent1001018 bytes
dc.format.extent835044 bytes
dc.format.extent1427413 bytes
dc.format.extent1850107 bytes
dc.format.extent3527703 bytes
dc.format.extent634712 bytes
dc.format.extent1188271 bytes
dc.format.extent971475 bytes
dc.format.extent3220192 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการประสานสัมพันธ์การใช้รายการวิทยุเพื่อยุวเกษตรกร และการแพร่กระจายสารสนเทศระหว่างบุคคล เพื่อถ่ายทอดวิทยาการทางการเกษตร : ศึกษาเปรียบเทียบกลุ่มยุวเกษตรกรโกรกตะใกล้ อำเภอคง และกลุ่มยุวเกษตรกรโคกเพชร อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมาen
dc.title.alternativeThe combination of using radio youth programs and diffusion of information for agricultural innovation among interpersonal communicators : a comparative study of agricultural youth groups at Kroke-Ta-Klai, amphoe Khong and Kokpetch, amphoe Chum Phuang, Nakhon Ratchasimaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pratoom_Lo_front.pdf977.56 kBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch1.pdf815.47 kBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch3.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch4.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch5.pdf619.84 kBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch6.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_ch7.pdf948.71 kBAdobe PDFView/Open
Pratoom_Le_back.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.