Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2327
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อังสนา บุณโยภาส | - |
dc.contributor.advisor | รุจิโรจน์ อนามบุตร | - |
dc.contributor.author | วิลาสินี สุขสว่าง, 2523- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคกลาง) | - |
dc.coverage.spatial | สุพรรณบุรี | - |
dc.date.accessioned | 2006-09-05T02:12:45Z | - |
dc.date.available | 2006-09-05T02:12:45Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741755651 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2327 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายในการวิเคราะห์และประเมินการรับรู้ทางสายตาและทัศนคติต่อภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรรณบุรีเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจในคุณค่าและความสำคัญของภูมิทัศน์ชนบทอันเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการวางแผนจัดการที่เกี่ยวข้องกับภูมิทัศน์ชนบท ในการวิจัยได้ทำการวิเคราะห์หาภาพตัวแทนที่แสดงถึงภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีจากการแบ่งหน่วยพื้นที่ตามลักษณะภูมิประเทศและลักษณะพืชพรรณ รวมทั้งองค์ประกอบทางภูมิทัศน์ชนบทแบบดั้งเดิมและจากการพัฒนาในปัจจุบัน โดยสรุปภาพตัวแทนได้ทั้งสิ้น 48 ภาพ จากนั้นจึงสร้างแบบสอบถามเพื่อใช้เก็บข้อมูลระดับความสวยและระดับความสอดคล้องกับลักษณะภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีของภาพตัวแทนด้วยวิธีการให้คะแนนภาพและวิธีการจัดกลุ่มภาพ รวมทั้งข้อมูลด้านทัศนคติต่อภูมิทัศน์ชนบททั่วไปและภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรี และข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยแบ่งผู้ตอบแบบสอบถามออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่ กลุ่มคนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มคนในจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มคนในจังหวัดอื่นๆ และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ จำนวนกลุ่มละ 50 คน รวมทั้งสิ้น 200 คน ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามถูกนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์วัดการกระจาย ค่าไคสแควร์ และ Multi-dimensional Scaling ผลการวิจัยพบว่าภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีมีลักษณะเป็นทิวทัศน์ของพื้นที่เกษตรกรรมที่หลากหลาย โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่าทิวทัศน์ของท้องทุ่งนาเป็นลักษณะที่สำคัญของภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งให้คุณค่าและความสำคัญกับภูมิทัศน์ชนบทในด้านความสวยงามของภูมิทัศน์ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวและพักผ่อนเป็นหลักด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าระดับความสวยและระดับความสอดคล้องกับลักษณะภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีของภาพตัวแทนนั้นมีความสอดคล้องกัน โดยมิติทางภูมิทัศน์ที่มีผลต่อระดับความสวยของภาพตัวแทนได้แก่ ระดับความสอดคล้องกับลักษณะภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรี ลักษณะสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ความน่าอยู่ ความโดดเด่นขององค์ประกอบในภูมิทัศน์ และบรรยากาศที่มีความเขียวชอุ่ม ส่วนมิติทางภูมิทัศน์ที่มีผลต่อระดับความสอดคล้องกับลักษณะภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีของภาพตัวแทนได้แก่ ลักษณะสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ รูปแบบของสิ่งก่อสร้างหรือสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม และภาพลักษณ์หรือเอกลักษณ์ของจังหวัดสุพรรณบุรี พื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่อการให้ค่าระดับความสวยและระดับความสอดคล้องกับลักษณะภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีนั้นค่อนข้างสอดคล้องกัน โดยมีอาชีพ อายุและภูมิลำเนาเป็นพื้นฐานส่วนบุคคลที่สำคัญต่อการให้ค่าระดับดังกล่าว ส่วนเพศและรายได้นั้นไม่ค่อยมีผลต่อการให้ค่าระดับดังกล่าวมากนัก และสามารถแบ่งกลุ่มลักษณะทัศนคติของบุคคลที่มีต่อภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรีออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้ชื่นชอบด้านความสวยงามของภูมิทัศน์ชนบท กลุ่มผู้ให้ความสำคัญกับภูมิทัศน์ชนบทในด้านประโยชน์ใช้สอย และกลุ่มผู้ไม่ชื่นชอบและไม่เล็งเห็นความสำคัญของภูมิทัศน์ชนบท | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to analyze and assess visual perception and attitudes of the countryside landscape of Suphan Buri in order to understand the value and significance of countryside landscape which may suggest directions for policy making and management actions. Methodologically, Suphan Buri area were classified into units of analysis according to predominant landforms and vegetation cover, including traditional countryside landscape elements and present development features. Forty-eight photographic images were chosen to construct a photo-questionnaire used to gather data. Respondents were asked to give ratings and sort pictures according to perceived beauty and compatibility with countryside landscape of Suphan Buri. Respondents' attitudes towards countryside landscape in general and specifically of Suphan Buri were recorded. Respondents were also asked to give their background information which may affect their attitudes. Four major groups of respondents were targeted; 1) Bangkok residents2) Suphan Buri residents 3) Residents of other provinces 4) Experts in related design fields. Two hundred respondents were selected, with 50 respondents in each group. Data were analyzed using frequency distributions, means, standard deviations, variances, Chi-square and Multi-dimensional Scaling. The findings revealed that countryside landscape of Suphan Buri is diverse with agricultural patterns. From the respondents' perceptions, the landscape of paddy fields appears to be predominant among the various types representing Suphan Buri landscape. Respondents also ascribe values and significance of landscape according to its aesthetic value which implies potentialities for tourism and recreation. The levels of beauty and compatibility with the countryside landscape of Suphan Buri assessed of the photographic images were positively correlated. Five landscape dimensions influencing the perceptions of beauty emerge; they are: the level of compatibility with the countryside landscape character of Suphan Buri, thenatural environment, the livability, the predominant landscape elements, and the verdancy of atmosphere. On the other hand, the emerged dimensions influencing the levels of compatibility are; the natural environment, the fertility, the traditional styles of building and architecture, and the image or identity of the place. Finally, personal backgrounds are found to be related similarly to the ratings of beauty and compatibility. Respondents' occupation, age, and place of residence play key roles in their assessments. On the contrary, gender and income level are insignificant. The individuals with difference in attitudes towards the countryside landscape of Suphan Buri could then be divided into three groups: ones who appreciate countryside for its beauty, ones who concentrate on its functions, and those who express dislike and do not value significance of countryside landscape. | en |
dc.format.extent | 5555719 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.950 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภูมิทัศน์--ไทย--สุพรรณบุรี | en |
dc.subject | การประเมินคุณภาพทางสายตา | en |
dc.title | การรับรู้ทางสายตาและทัศนคติต่อภูมิทัศน์ชนบทจังหวัดสุพรรณบุรี | en |
dc.title.alternative | Visual perception and attitudes of the countryside landscape in Suphan Buri Province | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | ภูมิสถาปัตยกรรม | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | angsana.b@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2003.950 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wilasinee.pdf | 5.95 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.