Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23322
Title: การเกิดผลึกของไอโซแทกติกพอลิโพรพิลีนโดยสารก่อผลึกที่ได้จากการรีไซเคิลขวดเพทที่ใช้แล้วด้วยกระบวนการทางเคมี
Other Titles: Nucleation of isotactic polypropylene by nucleating agent based on chemical recycling waste bottles
Authors: นพดล เกิดดอนแฝก
Advisors: อรอุษา สรวารี
วรรณี ฉินศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้เป็นการเตรียมไดโซเดียมเทเรฟทาเลตและแคลเซียมเทเรฟทาเลตจากการนำขวดเพทที่ใช้แล้วมาย่อยสลายด้วยกระบวนการอัลคาไลดีคอมโพสิชัน นำเกลือเทเรฟทาเลตทั้งสองชนิดที่เตรียมได้มาตรวจสอบขนาดและรูปร่างของอนุภาคด้วยกล้องจุลทรรศนิ์อิเลกตรอนแบบส่องกราดและวิเคราะห์สมบัติทางความร้อน จากนั้น นำไปใช้เป็นสารก่อผลึกสำหรับไอโซแทกติกพอลิโพรพิลีน และตรวจสอบความสามารถในการเป็นสารก่อผลึกด้วยเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงคาลอริเมตรีและเทคนิคไวด์แองเกิลเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน โดยเปรียบเทียบกับการใช้ผงสีควินาคริโดน จากการทดลอง พบว่า ไดโซเดียมเทเรฟทาเลตมีรูปร่างของอนุภาคเป็นแท่งและมีขนาด 1-10 ไมโครเมตร ในขณะที่แคลเซียมเทเรฟทาเลตมีรูปร่างขออนุภาคค่อนข้างกลมรีและมีขนาด 1-5 ไมโครเมตร นอกจากนี้ เกลือเทเรฟทาเลตทั้งสองชนิดมีอุณหภูมิสลายตัวสูงกว่า 500o C ซึ่งสามารถนำมาใช้ในเป็นสารก่อนผลึกสำหรับไอโซแทกติกพอลิโพรพิลีนได้ โดยพบว่า เกลือเทเรฟทาเลตทั้งสองชนิดสามารถชักนำให้ไอโซแทกติกพอลิโพรพิลีนเกิดผลึกได้ทั้งแบบอัลฟา และเบตา และเมื่อเปรียบเทียบกับผงสีควินาคริโดน พบว่า เกลือเทเรฟทาเลตทั้งสองชนิดมี ประสิทธิภาพในการทำหน้าที่เป็นสารก่อผลึกแบบเบตาได้ต่ำกว่าผลสีควินาคริโดน จากการทดสอบสมบัติเชิงกล พบว่า เกลือเทเรฟทาเลตทั้งสองชนิดสามารถปรับปรุงความทนแรงกระแทกและความทนแรงดึงของไอโซแทกติกพอลิโพรพิลีนให้เพิ่มขึ้นได้
Other Abstract: Disodium terephthalate and calcium terephthalate were synthesized from waste PET bottles by alkali decomposition process. Structure and particle size of terephthalate salts were characterized by scanning electron microscope. Thermal characteristics of the salts were examined prior to use as nucleating agent for isotactic polypropylene. The nucleation effect of the terphthalate salts was also characterized by differential scanning calorimetry and wide angle x-ray diffraction technique. Comparison was made between nucleation effect of terephthalate salts and that of a widely used quinacridone pigment. Based on scanning electron microscopy results, disodium terephthalate particle tended to be rectangular rod in shape and its size was in a range of 1 – 10 µm. In contrast, calcium terephalate particle was rather round and its size was in a range of 1-5 µm. Due to thermal stability of both salts up to 500oC, they could be effectively used as nucleating agent for isotactic polypropylene. Differential scanning calorimeter studies revealed a nucleation effect of disodium terephthalate and calcium terephthalate on isotactic polypropylene. Wide angle x-ray diffraction measurements indicated that the β-nucleation effect of both salts was less than quinacridone pigment. However, the improvement of mechanical properties of isotactic polypropylene, in particular tensile and impact strength, was achieved by incorporating disodium terephthalate and calcium terephthalate into isotactic polypropylene.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23322
ISBN: 9740303927
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppadon_ke_front.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Noppadon_ke_ch1.pdf946.96 kBAdobe PDFView/Open
Noppadon_ke_ch2.pdf7.38 MBAdobe PDFView/Open
Noppadon_ke_ch3.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Noppadon_ke_ch4.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open
Noppadon_ke_ch5.pdf950.7 kBAdobe PDFView/Open
Noppadon_ke_back.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.