Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23333
Title: ตัวประกอบที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพ ของโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพผู้บริหารการศึกษา ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ
Other Titles: Factors related to the efficiency of the development of educational administrators' competencies program in the Northern teachers college group
Authors: เชิญ วีระฉายา
Advisors: นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาหาตัวประกอบ (Factors) ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของโปรแกรม พัฒนาสมรรถภาพผู้บริหารการศึกษาในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ 2. เพื่อศึกษาตัวแปร (Variables) ที่ประกอบกันเป็นตัวประกอบที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพผู้บริหารการศึกษาในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการที่กำลังอบรมในโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพผู้บริหารการศึกษาในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ สุ่มตัวอย่างจากประชากรร้อยละ 50 ของแต่ละวิทยาลัย ด้วยวิธีสุ่มอย่างมีระบบ (Systematic Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 485 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามจัดลำดับคุณภาพ (Rating Scale) แบบช่วง 5 ช่วง จำนวน 72 ข้อกระทง ซึ่งครอบคลุมหลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกอบรม ในด้านหลักสูตร วิธีการให้การอบรม การประเมินการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการอบรม วิทยาการหรืออาจารย์ผู้สอนให้การอบรม และการบริหารการฝึกอบรม เมื่อนำแบบสอบถามไปทดลองใช้ คำนวณความเชื่อมั่นได้ .0914 ส่งแบบสอบถามไปทั้งสิ้น 485 ฉบับ ได้รับคืนมา 459 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 94.64 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้มาเข้าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (Statistical Package for the Social Science) หาค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmatic Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ของแต่ละข้อกระทง และวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis) ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของโปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพผู้บริหารการศึกษาว่ามีตัวประกอบสำคัญอะไรบ้าง โดยสะกัดตัวประกอบด้วยวิธีประกอบสำคัญ (Principal Factor Method) และหมุนแกนออร์โธกอนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax Rotation) สรุปผลการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ค้นพบตัวประกอบที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของโปรแกรมพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ 8 ตัวประกอบ ดังนี้ 1. วิธีการให้การอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ได้แก่ เชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์เฉพาะเรื่องมาบรรยายเป็นครั้งคราว มีการฝึก แก้ไข ปรับปรุงสมรรถภาพ ทางการบริหาร เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาวิชา นำผลการประเมินมาปรับปรุงการสอน เตรียมการสอนมาก่อนสอน มีกลวิธีเร้า กระตุ้นผู้เข้ารับการอบรม มีเอกสารประกอบคำบรรยาย อธิบายและยกตัวอย่างชัดเจน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายขณะสอน ประเมินสมรรถภาพทางการบริหารควบคู่การสอน สอนให้ค้นพบวิธีเรียนรู้ด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน สามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ และใช้การสอนหลาย ๆ วิธี 2. พฤติกรรมที่แสดงออกของผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้ารับการอบรม มีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่ม ฟังและยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ยอมรับในวัตถุประสงค์ของการอบรม และแสดงความคิดเห็นของตนในชั่วโมงเรียน 3. การจัดหลักสูตรการอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆได้แก่ เนื้อหาวิชา สามารถนำไปใช้ปรับปรุงและยกระดับสภาพสังคมได้ รายการวิชามีคุณค่าต่อการปฏิบัติงานเนื้อหาวิชาทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ เนื้อหาวิชามีลักษณะบูรณาการ วัตถุประสงค์ของรายวิชาชัดเจน เนื้อหาวิชามีความต่อเนื่องกัน หลักสูตรการอบรมทำให้เกิดความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารได้ หลักสูตรเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฎีเนื้อหาวิชาเน้นเรื่องการบริหารงานมากกว่าเรื่องทั่วๆไป การอบรมให้แนวคิดและวิธีปฏิบัติทางการบริหาร หลักสูตรมุ่งพัฒนาบุคลิกภาพ และจัดผู้สอนได้เหมาะสมกับวิชา 4. ลักษณะของอาจารย์ผู้ให้การอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ได้แก่มีความรู้กว้างขวาง แม่นยำและทันสมัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง ให้ความรู้ได้กว้างขวางกว่าที่มีในตำรา มีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นนักวิเคราะห์วิจารณ์เป็นผู้บรรยายที่ดี และสามารถเสนอแนะการแก้ปัญหาทางการบริหารให้แก่ผู้อบรมได้ 5. ภูมิหลังของผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆ ได้แก่ เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการบริหารมาก่อน มีพื้นความรู้ทางวิชาการดี มีเวลาเพียงพอในการศึกษาด้วยตนเอง มีเงินเดือนและรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย 6. การบริหารและบริการการอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่างๆได้ แก่ จัดห้องเรียนส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ มีตำราภาษาไทยใช้ในการอบรม มีความสะดวกในการใช้ห้องสมุด การประชาสัมพันธ์รวดเร็วและทั่วถึง การลงทะเบียนสะดวกและรวดเร็วจัดผู้สอนได้เหมาะสมกับวิชา และให้เสรีภาพทางวิชาการแก่อาจารย์ 7.การวัดผลและประเมินผลการอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ อาจารย์รู้เทคนิคการออกข้อสอบ ข้อสอบเน้นเนื้อหาที่สำคัญและครอบคลุม ข้อสอบวัดได้ตรงกับจุดประสงค์ของแต่ละวิชาและมีความยุติธรรมในการให้คะแนนและตัดเกรด 8. พฤติกรรมที่แสดงออกของอาจารย์ผู้สอนต่อผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ ได้แก่ ให้ความช่วยเหลือผู้เข้ารับการอบรม ทั้งนอกและในห้องเรียน รู้จักและเข้าใจผู้เข้ารับการอบรม รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรม และสามารถเสนอแนะการแก้ปัญหาทางบริหารแก่ผู้เข้ารับการอบรมได้
Other Abstract: The Purposes of the Study 1. To study the factors related to the efficiency of the development of the Educational Administrators' Competencies Program in the Northern Teachers College Group. 2. To study the variables included in the factors related to the development of the Educational Administrators' Competencies Program in the Northern Teachers College Group. Methods and Procedures The sample used in the study included 485 teachers and educational personnel while they were taking courses in the In­ service Teacher Education Project in the Northern Teachers College Group. The sample included 50 percent of the population of each college selected by the systematic random sampling. The instrument used in this study was a questionnaire, with a five rating scale for each of 72 items covering the principles and concepts of the curriculum, the method of teaching, the evaluating of the programs, the lecturers or resource persons and the administration of the program. The reliability of the questionnaire after pre-test was 0.914. For this study, 485 questionnaires were sent out and 459; 94.64 percent were returned. The analysis of the Data The data were computed by SPSS. (Statistical Package for the Social Sciences) Arithmatic means and standard deviations for each item were calculated. Factor analysis was used to analyze the factors and variables by principal factor method and varimax rotation. Findings 1. The In-service Training Procedures consisted of the following variables: The following variables: The selecting of experienced guest lecturers, the improvement of administration competency, the selecting of educational media appropriate to the purpose and subject-matter, using result of evaluation to improve instruction, the preparation before teaching, techniques used in motivation, sheets and lecture notes, clear explanation, appropriate wording in lecture, evaluation of administration competency while undergoing in-service training, introduce the method of self instruction, the exchange of experiences among the teachers and educational personnel, the ability to analyze and solve problems and using a variety of methods of teaching. 2. The overt behavior of teachers and educational personnel consisted of the following variables: the relationship among the teachers and educational personnel, participation in group activities, the acceptance of others opinions and the purposes of the program and the expression of ideas in class. 3. The curriculum of the program consisted of the following variables: improving social mobility, appreciating the value of work performance, modernizing the curriculum, integrating the subject matter and continuity making the curriculum cumulatively progressive, stating clear purposes for each subject, promoting the ability to analyze and solve problems about administration, emphasizing practice rather than theory, stressing the subject-matter in area of the administration, developing the personality and selecting lecturers appropriate to the subject. 4. The characteristics of the lecturers consisted of the following variables: extensive knowledge, accurate and up-to date knowledge, creativity, self-confidence, leadership, good speaker, ability to analyze and to suggest solution to administrative problems. 5. The background of the teachers and educational personnel consisted of the following variables: past experiences in administration, background knowledge, time for self-study, sufficient salary and income. 6. The administration and service of the program consisted of the following variables: the classroom atmosphere, textsbooks in Thai for the learners, the service of library, the ease and speed of registration, good public relations, appropriate lecturers for each course and academic freedom of lecturers. 7. The evaluation of the program consisted of the following variables: the techniques used in test making, the validity and reliability of the test and the fairness in scoring and grading. 8. The overt behavior of the lecturer consisted of the following variables: helping the participants in and out class, the familiarity between the lecturer and the in-service trainees, accepting their opinions and ability to suggest method of solving administrative problems.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23333
ISBN: 9745610429
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chern_We_front.pdf556.28 kBAdobe PDFView/Open
Chern_We_ch1.pdf543.78 kBAdobe PDFView/Open
Chern_We_ch2.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Chern_We_ch3.pdf407.01 kBAdobe PDFView/Open
Chern_We_ch4.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Chern_We_ch5.pdf748.19 kBAdobe PDFView/Open
Chern_We_back.pdf869.5 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.