Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23360
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉราภรณ์ เปี่ยมสมบูรณ์-
dc.contributor.authorพรเทพ พรรณรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialตรัง-
dc.coverage.spatialคลองปากเมง-
dc.date.accessioned2012-11-08T03:37:16Z-
dc.date.available2012-11-08T03:37:16Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745314579-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23360-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2547en
dc.description.abstractศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณชายล่งทะเล คลองปากเมง จังหวัดตรัง จำนวน 5 สถานี ในเดือนเมษายน 2546 และเดือนธันวาคม 2546 ซึ่งเป็นตัวแทนในช่วงก่อนและหลังมรสุม ตะวันดกเฉียงใต้ ตามลำดับ เก็บตัวอย่างโดยใช้ถุงแพลงก์ตอนลากในแนวดิ่งจำนวน 3 ครั้งในแต่ละสถานี วัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและเก็บตัวอย่างน้ำเพี่อวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารและคลอโรฟิลล์ เอ ผล การศึกษาพบแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่กว่า 100 ไมครอน หนาแน่นสูงในช่วงก่อนฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีค่าความหนาแน่นเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.52X10⁶ ถึง 3.68x10⁷ ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งสูงกว่า ในช่วงหลังฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พบความหนาแน่นเฉลี่ยเพียง 1.93x10⁵ถึง 3.01xl0⁶ ตัวต่อปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร โดยความเค็มและอุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พบความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในช่วง ก่อนฤดูมรสุมสูงกว่าช่วงหลังฤดูมรสุม ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดใหญ่กว่า 330 ไมครอน นั้นมีความหนาแน่น ใกล้เคียงกันทั้งสองช่วงเวลาคือ มีความหนาแน่นเฉลี่ย 6.53x10⁴ ถึง 1.59x10⁵ และ 7.30xl0⁴ ถึง 2.68xl0⁵ ตัวต่อ ปริมาตรน้ำ 100 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงก่อนและหลังฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับ ความหนาแน่นของ แพลงก์ตอนสัตว์มีค่าสูงในบริเวณใกล้ฝั่งและลดลงเมื่อห่างฝั่งออกไปสอดคล้องกับการผันแปรของปริมาณรวม ของคลอโรทิเลล์ เอ ของแพลงก์ตอนพืชซึ่งมีค่าสูงในบริเวณใกล้ฝั่งและลดลงเมื่อไกลฝั่งออกไป องค์ประกอบ ของแพลงก์ตอนสัตว์ในบริเวณใกล้ฝั่งมี Harpacticoid copepods และตัวอ่อนหอยสองฝาเป็นกลุ่มเด่นสอดคล้อง กับการที่พบองค์ประกอบหลักของคลอโรฟิลล์ เอในบริเวณใกล้ฝั่งเป็นกลุ่มไมโครแพลงก์ตอนซึ่งแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของอาหารสำหรับตัวอ่อนหอยสองฝา และเมื่อห่างฝั่งออกไปจะพบแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่ม Calanoid copepods Cyclopoid copepods Chaetognaths และ Larvaceans เป็นกลุ่มเด่นและพบองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มที่มีขนาดเล็กคือกลุ่มนาโนแพลงก์ตอนและพิโคแพลงก์ตอนซึ่งเป็นแหล่ง อาหารของ Larvaceans และแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กที่จะเป็นอาหารของ Chaetognaths ต่อไป Copepods เป็นแพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มเด่นและพบมีความหลากหลายของชนิดสูง โดยอันดับ Calanoida พบ 22 ชนิด จาก 10 ครอบครัว อันดับ Cyclopoida พบ 2 ชนิด จาก 1 ครอบครัว อันดับ Harpacticooida พบ 2 ชนิด จาก 2 ครอบครัว และอันดับ Poecilostomatoida พบ 7 ชนิด จาก 2 ครอบครัว ชนิดที่พบเป็นชนิดเด่นไต้แก่ Harpacticoid copepod ชนิด Microsetella norvegica และ Calanoid copepod ชนิด Acartia amboinensis นอกจากนี้ยังพบ Copepods 5 ชนิดเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทยคือ Pseudodiaptomus bowmani, Calanopia australica, Pontella forficula, Tortanus barbotus และ Corycaeus andrewsi ส่วน Chaetognaths เป็น แพลงก์ตอนสัตว์กลุ่มผู้ล่าที่สำคัญ พบทั้งสิ้น 4 ชนิดจาก 1 สกุล โดยชนิดเด่นคือ Sagitta enflata และ S. Neglecta.-
dc.description.abstractalternativeBiodiversity of zooplankton in coastal area of Klong Pak-Meng, Trang Province was investigated in April and December 2003 representing the pre- and post-southwest monsoon periods, respectively. Zooplankton samples from 5 stations were collected by vertically towed nets with two mesh sizes, 100 and 330 µm. Environmental parameters were measured in situ and water samples were collected for analyses of nutrients and chlorophyll a. Average density of zooplankton larger than 100 micrometers in pre-southwest monsoon period was in the range of 4.52 X 10⁶ - 3.68 X 10⁷ inds/100 m³, which was higher than in the post-southwest monsoon where the density ranged from 1.93 X 10⁵ - 3.01 X 10⁶ inds/100 m³. Temperature and salinity were the most important factors affecting zooplankton in this season. Average densities of zooplankton larger than 330 micrometers were not significantly different between two seasons with the densities in the range of 6.53 X 10⁴- 1.59x10⁵ inds/100 m³ and 7.30xl0⁴- 1.59x10⁵ inds/100 m³ in pre- and post- southwest monsoon periods, respectively. High zooplankton densities were found in the near-shore stations and the densities decreased offshore which was coincided with the variations in chlorophyll a concentrations. Harpacticoid copepods and bivalve larvae were the most abundant zooplankton in the near-shore stations corresponding with microphytoplankton-dominated chlorophyll fractions in the near-shore stations. Calanoid copepods, cyclopoid copepods, chaetognaths and larvaceans were found in abundance in offshore stations which the contributions of chlorophyll a fractions from nanophytoplankton and picophytoplankton. Copepods population found in high densities and high diversity in this area comprised of 22 species from 10 Families of Order Calanoida, 2 species from 1 Family of Order Cyclopoida, 2 species from 2 Families of Order Harpacticoida and 7 species from 2 Families of Order Poecilostomatoida. Microsetella norvegica and Acartia amboinensis were the dominant species in this area. Five other copepod species; Pseudodiaptomus bowmani, Calanopia australica, Pontella forficula, Tortanus barbotus and Corycaeus andrewsi were first recorded in Thai waters. Only 4 species of chaetognaths, the most important carnivorous zooplankton, were found with Sagitta enflata and S. neglecta as dominant species.-
dc.format.extent4945075 bytes-
dc.format.extent11059722 bytes-
dc.format.extent2504312 bytes-
dc.format.extent30735047 bytes-
dc.format.extent9150908 bytes-
dc.format.extent1591981 bytes-
dc.format.extent9961886 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความหลากหลายทางชีวภาพชายฝั่งทะเล -- ไทย -- คลองปากเมง (ตรัง)-
dc.subjectCoastal biodiversity -- Thailand -- Klong Pak-Meng (Trang)-
dc.subjectZooplankton -- Thailand -- Klong Pak-Meng (Trang)-
dc.subjectแพลงค์ตอนสัตว์ -- ไทย -- คลองปากเมง (ตรัง)-
dc.titleความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนสัตว์บริเวณชายฝั่งทะเล คลองปากเมง จังหวัดตรังen
dc.title.alternativeBiodiversity of zooplankton in coastal area of Klong Pak-Meng, Trang Provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntep_pu_front.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Porntep_pu_ch1.pdf10.8 MBAdobe PDFView/Open
Porntep_pu_ch2.pdf2.45 MBAdobe PDFView/Open
Porntep_pu_ch3.pdf30.01 MBAdobe PDFView/Open
Porntep_pu_ch4.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Porntep_pu_ch5.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Porntep_pu_back.pdf9.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.