Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23448
Title: การนำกลับทองจากของเสียของการถลุงทองด้วยวิธีเคมีไฟฟ้ำ
Other Titles: Gold recovery from waste of gold refinery by electrochemical method
Authors: วาณี หมอดี
Advisors: เก็จวลี พฤกษาทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Kejvalee.P@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมทองคำ -- การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์
เคมีไฟฟ้า -- การใช้ในอุตสาหกรรม
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการชะละลายและการนำกลับทองจากของเสีย ของกระบวนการถลุงทองด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า ตัวแปรที่ศึกษามี 2 ส่วน คือ ตัวแปรที่มีผลต่อการ ชะละลาย ได้แก่ ชนิดของตัวทำละลาย (กรดซัลฟูริก กรดไนตริก ไทโอยูเรียและกรดกัดทอง) ความเข้มข้นของตัวทำละลาย (0.5 ถึง 4 M) และร้อยละตัวอย่างของเสียต่อตัวทำละลาย (0.25 - 3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร) และตัวแปรที่มีผลต่อการนำกลับทองด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า ได้แก่ ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้า (31.85 - 318.47 แอมแปร์ต่อตารางเมตร) และชนิดของขั้ว อิเล็กโทรด (ขั้วคาร์บอน ขั้วเหล็กกล้าไร้สนิม และขั้วทองแดง) พบว่า สารละลายกรดกัดทอง สามารถชะละลายทองได้สูงถึงร้อยละ 41 รองลงมาคือสารละลายกรดซัลฟูริกที่ความเข้มข้น 4 โมลต่อลิตร สามารถชะละลายทองได้ร้อยละ 30 ที่อัตราส่วนระหว่างของเสียต่อตัวทำ ละลายเท่ากับ 1 ต่อ 100 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร โดยร้อยละที่เหมาะสมระหว่างตัวอย่างของ เสียต่อตัวทำละลายเท่ากับ 0.25 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร สามารถชะละลายทองได้ทั้งหมด เมื่อนำสารละลายที่ได้จากการชะละลายมานำกลับทองด้วยวิธีเคมีไฟฟ้าพบว่า สารละลายที่ ได้จากการชะละลายด้วยกรดซัลฟูริกที่ความเข้มข้น 4 โมลต่อลิตรให้ค่าร้อยละการนำกลับ ทองสูงสุดที่ร้อยละ 89.87 ± 10.63 ด้วยขั้วคาร์บอนที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 31.85 แอม์แปร์ต่อตารางเมตร เปรียบเทียบกับสารละลายที่ได้จากการชะละลายด้วยกรดกัด ทองให้ค่าร้อยละการนำกลับทองร้อยละ 36.65 ± 5.08 ที่ความหนาแน่นกระแสไฟฟ้าเท่ากับ 63.70 แอม์แปร์ต่อตารางเมตร ทั้งนี้ขั้วคาร์บอนให้ค่าการนำกลับทองที่สูงที่สุด รองลงมาคือ ขั้วเหล็กกล้าไร้สนิมและขั้วทองแดง ตามลำดับ
Other Abstract: This work aims to determine the optimum condition to recovery gold from waste of gold refinery by electrochemical method. Parameter effects for leaching process were solvents type (H2SO4, HNO3, Thiourea and Aqua regia), solvent concentrations (0.5 - 4 M) and percentage of solid per solvent (0.25-3.0 %wt./vol). The effects of current density (31.85 A/m2 - 318.47 A/m2) and electrodes type (Carbon, Stainless steel and Copper) were also investigated in gold recovery by electrochemical method. The results showed that aqua regia and 4 M of H2SO4 could leach gold up to 41% wt. and 30% wt., respectively. At optimum condition, 0.25 %wt./vol could leach all of gold in waste. The solution was used to study in electrochemical part. The current density had an effect on gold recovery. In 4 M of H2SO4 electrolyte, the percentages of gold recovery was 89.87 ± 10.63 by carbon electrode while the used of aqua regia as an electrolyte, the percentages of gold recovery was 36.65 ± 5.08 at the current density of 31.85 and 63.70 A/m2 respectively. Moreover, carbon electrode showed higher efficiency than stainless steel electrode and copper electrode for gold recovery in this study.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23448
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1816
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1816
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vanee_mo.pdf3.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.