Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2352
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบัณฑิต จุลาสัย-
dc.contributor.authorชูรัช รุ่งทวีวุฒิ, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-05T12:30:50Z-
dc.date.available2006-09-05T12:30:50Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741766386-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2352-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กำหนดประเภทโครงการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่ ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งปรากฎว่าเกิดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายและระยะเวลา มีผลต่อการดำเนินโครงการ จึงมีวัตถุประสงค์ จะศึกษาสภาพและปัญหา กระบวนการพิจารณาเห็นชอบรายงานฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาจากรายงานฯ และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้จัดทำรายงานฯ และคณะกรรมการพิจารณารายงานฯ ของโครงการจัดสรรที่ดิน ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบ ระหว่างปี พ.ศ.2543 2547 จากการศึกษาพบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว มีโครงการจัดสรรที่ดินขนาดใหญ่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบ รวม 26 โครงการ ระยะเวลาในการพิจารณา มีตั้งแต่ 83 วัน จนถึง 573 วัน ซึ่งนานกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฯ เพียง 75 วันเท่านั้น ความล่าช้าดังกล่าวจึงส่งผลให้กับการดำเนินโครงการโดยตรง ทั้งนี้สาเหตุมาจากการแก้ไขเพิ่มเติมรายงานฯ เนื่องจากเนื้อหาในรายงานฯ ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม ในหัวข้อ การระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบน้ำใช้ ระบบกำจัดขยะมูลฝอย การจราจร การใช้ประโยชน์ที่ดิน สุนทรียภาพ เศรษฐกิจและสังคม รายละเอียดโครงการ และการดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้พบว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากผู้ประกอบการขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ใส่ใจ จึงไม่ได้จัดเตรียมข้อมูลที่จำเป็นให้แก่บริษัทจัดทำรายงานฯ ประกอบกับบริษัทจัดทำรายงานฯ ส่วนหนึ่งไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ด้วยขาดเจ้าหน้าที่ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ต้องมีการแก้ไขรายงานฯ สองถึงห้าครั้ง ขึ้นอยู่กับโครงการ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว มีข้อเสนอแนะให้ผู้ประกอบการทำความเข้าใจ และเห็นคุณประโยชน์ของกระบวนการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ให้ครบถ้วนและถูกต้อง และโดยการคัดเลือกและร่วมมือกับบริษัทจัดทำรายงานฯ ที่มีมาตรฐาน หากถือว่าการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทางด้านสิ่งแวดล้อม เป็นขั้นตอนหนึ่งในขบวนการวางแผนพัฒนาโครงการ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการพิจารณาเห็นชอบรายงานฯ ได้ในภายหลังen
dc.description.abstractalternativeCertain large-scale land allocation project categories are required to submit Environmental Impact Assessment (EIA) reports under the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act 1992 (NEQA1992) resulting in project delays and cost blowouts. This study explores current problems with the approval procedures of the EIA as reported to the Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning (ONEP). This study examines EIA reports, approval meeting minutes, related documents, and in-dept interviews with developers, EIA consulting firms, and expert review committees. Projects approved in Bangkok and its suburbs between 2000-2004 A.C. are selected. The research, investigated 26 approved projects. The actual procedure for these projects took 83 to 573 days while the NEQA1992 allowed for only 75 days. Consequently, the approval procedure for land allocation and project commencement was delayed and cost more than it should have. The causes of this delay include report revision or providing additional information to incomplete EIA reports, incorrect information, and inappropriate measures to prevent or to correct project impact on the environment particularly with regard to water flow systems, water treatment systems, water supply systems, garbage treatment systems, traffic systems, land use, aesthetics, social and economic factors, project details, and project construction specifies. There are 2 main causes of these problems. One is that the developers didn't prepare necessary information to their EIA consulting firms out of ignorance or lack of interest in EIA approving procedures. Another reason is the EIA consulting firms lack specialists in various necessary of related disciplines and fields. To mitigate the above problems, the researcher recommends that developers take some time to study and understand the benefits of the EIA approval procedures, and work hand in hand with EIA consulting firms by supplying them with complete and correct information. Developers should also study environmental impact assessments which form part of feasibility studies so as to set up appropriate alternatives to solve anticipated problems before project commencement. These measure should eliminate the need for reapproval and resultant delays.en
dc.format.extent6976733 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.14-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมen
dc.subjectการจัดสรรที่ดินen
dc.titleกระบวนการพิจารณาเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการประเภทจัดสรรที่ดินen
dc.title.alternativeApproval procedure of environmental impact assessment report for housing development projecten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineเคหการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorcbundit@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.14-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Churat.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.