Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2354
Title: การจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลางในหมู่บ้านและอาคารชุดที่อยู่ในโครงการเดียวกันกรณีศึกษา โครงการจอมเทียนคอนโดเทลและหมู่บ้าน ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Collection of utilities and facilities maintenance fees for housing estate and condominiums in the same project : a case study of Jomthien Condotel and Housing, Tumbol Nongprue Banglamung district, Chon Buri province
Authors: สุรพล มนูญผล
Advisors: สุปรีชา หิรัญโร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: อาคารชุด
อาคารชุด--การบริหาร
อาคารชุด (สำนักงาน)
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของรูปแบบการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลางและศึกษาวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม เพื่อให้ทราบลักษณะและปัญหาของการจัดเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการที่มีลักษณะของการพักอาศัย 2 รูปแบบ กรณีศึกษาโครงการจอมเทียนคอนโดเทลและหมู่บ้าน ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี และเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบการบริหารโครงการที่เหมาะสม อันจะเป็นแนวทางในการกำหนดโครงสร้างการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมต่อไป กลุ่มประชากรของงานวิจัยฉบับนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มเจ้าของร่วมโดยใช้สูตรของ TARO YAMANE ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 261 กลุ่มตัวอย่าง และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามสำหรับเจ้าของร่วมที่พักอาศัยในโครงการ โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ และสัมภาษณ์สำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยพบว่าปัญหาของการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเกิดจากความไม่เป็นธรรมในส่วนของการขาดสภาพบังคับ สมาชิกของหมู่บ้านบางส่วนที่ค้างชำระค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลาง อันสืบเนื่องจากไม่ได้เป็นองค์กรที่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งแตกต่างจากคอนโดมิเนียมที่อยู่ในโครงการเดียวกัน ที่สามารถสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายได้ ประการที่หนึ่ง ประการที่สองโครงสร้างในการกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย จึงมุ่งเน้นไปให้อาคารชุดเป็นผู้รับผิดชอบโดยส่วนใหญ่ ซึ่งอาจเป็นเพราะสามารถจัดเก็บค่าใช้จ่ายได้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติอาคารชุด เป็นหลักในการปฏิบัติในการเร่งรัดติดตามทวงถาม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ซึ่งมุ่งเน้นที่จะศึกษาแนวทางการกำหนดลักษณะการจัดเก็บค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม กล่าวคือการกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บซึ่งสมาชิกส่วนมาก เห็นด้วยที่จะให้จัดเก็บค่าใช้จ่ายเป็นรายปี ในส่วนรูปแบบของการจัดเก็บค่าใช้จ่ายสมาชิกส่วนมาก เห็นว่าควรจัดเก็บโดยการคำนวณอัตราแบบที่คิดตามขนาดพื้นที่ และรองลงมาคือคิดตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ ในส่วนประเด็นเรื่องความเป็นธรรมในการจัดเก็บค่าใช้จ่าย สมาชิกส่วนมากยินดีที่จะชำระค่าใช้จ่ายตามอัตราที่คณะกรรมการได้กำหนด ยกเว้นสมาชิกของหมู่บ้านบางส่วนที่ติดค้างชำระ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งหมู่บ้านเป็นองค์กรเพื่อการบริหารโดยถูกต้องตามกฎหมาย และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการดูแลสาธารณูปโภคให้เกิดความเป็นระเบียบและสะดวกต่อการใช้สอยสืบไป การทำวิจัยในครั้งนี้ได้ค้นพบว่า ความเป็นธรรมในการจัดเก็บค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับประโยชน์ที่ได้รับจริงที่เกิดขึ้น ประการที่หนึ่ง และพบว่าอาคารชุดส่วนใหญ่จะมีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน อาทิ กฎหมายกำหนดไว้ว่าให้จัดเก็บตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ แต่อาคารชุดโดยส่วนใหญ่จัดเก็บโดยใช้อัตราพื้นที่ (ตารางเมตร) ซึ่งถือว่าขัดต่อกฎหมายเป็นประการที่ 2 และพบอีกว่าประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ปี พ.ศ. 2515 ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงในส่วนของการกำหนดให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลาง อย่างไรก็ดี ส่วนของผลการวิจัยและข้อค้นพบได้สรุปเป็นหัวข้อเสนอแนะเป็น 2 ส่วนคือ สำหรับผู้บริหาร และสำหรับการศึกษาในครั้งต่อไปไว้ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อประโยชน์ต่อการนำไปศึกษาในโอกาสต่อไป
Other Abstract: The objective of this research is to study the easting method of collection of utilities and facilities maintenance fees, and to propose a fair method of collection in light of the problems in the collection of fees for two different types of residences. A case study was made of the Jomthien Condotel and Village located at Tumbol Nong Prue, Ampur Bang Lamung of Chon Buri province. The study also aims to identify an efficient administration that would lead to a fair and to appropriate common facility expense collection in the future. The research has focused on the native residents, divided into 2 groups; the co-owner group under the formulae of "TARO YAMANE" at the confidential level of 95% forming a size of 261 community samples. The other community group comprises specialist residents. An opinion survey form was mailed to the co-owner group in the project whereas field interviews were applied to the specialist residents. The research firstly discloses that unfair collection is the root problem of collection concerns. The control of maintenance fee payment could not be regulated resulting in some outstanding payments on common facility expenses by a certain number of members of the Village or housing estate, which has not been constituted under the juristic person act. The legal identity of the Village is different from the nearby Condominium which is located in the same compound and the collection of which could not be fairly executed. Secondly, the expense rate structure was designed in the way that the Condominium's co-owners are paying a bigger part of the common expenses. The design concept may be because the collection is made easier due to the enforcement of the Condominium Act. To solve the above problems this thesis is focused on the setting of an appropriate collection strategy i.e. to set a collection period which, as concurred by the majority of the members, will be on a yearly basis. Calculation of the expense will be based on the unit size as a more preferable method. A less popular calculationis to be based on the ownership right ratio. Regarding the fairness issue, most of the members are willing to pay the expense based on the resolution made by the committee board. However, the minority of those who disagreed were found to be those village units owners who have not paid up their debts. It is necessary, therefore, that a juristic person status be constituted to the Village for a legal and fair administration and to create a just and discipline approach in the collection of utilities and facilities maintenance fees. The research disclosed that the fairness of collection depends on, firstly, the real benefit of the members paying the expenses. Secondly, the research unveiled that most condominiums employ different collection of common expense. According to the condominium act, expense must be calculated and collected based on ownership ratio, but the calculation method being used by many condominiums is based on square meter ratio which is in fact unlawful. Another fact that came to light from this research is that the announcement of the revolution group No. 286 B.E. 2515 is unable to put into practice on the part of common facility expense is the responsibility of the operator. Nevertheless the research results and findings have been summarized into 2 parts; the executive summary of the one part and the other part in this thesis will be helpful to any study in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.พ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2354
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1454
ISBN: 9741759231
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.1454
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surapol.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.