Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23552
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาสังคมศึกษาเรื่อง "การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร" สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า
Other Titles: Construction of a social studies programmed lesson on "election of members of the house of representatives" for prathom suksa five
Authors: ทรงศรี เนียวกุล
Advisors: วารี ถิระจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาสังคมศึกษาเรื่อง “การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร” สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า และหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามมาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) การดำเนินการวิจัย บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาสังคมศึกษาเรื่อง “การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร” นี้ประกอบด้วยกรอบจำนวน 372 กรอบ ตัวอย่างประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมปีที่ 4 ของโรงเรียนสวนอนันต์ ธนบุรี จำนวน 100 คน ผู้วิจัยได้สร้างบทเรียนแบบโปรแกรมชนิดเส้นตรง โดยยึดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรมเป็นหลัก และสร้างแบบสอบจำนวน 50 ข้อ เป็นแบบสอบที่มีความเที่ยง 0.85 เพื่อใช้สำหรับทดสอบนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนบทเรียนโปรแกรม แล้วนำบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นไปทดลอง โดยทำการทดลอง 3 ขั้น คือ ทดลองขั้นหนึ่งต่อหนึ่ง ทดลองขั้นกลุ่มเล็ก 10 คน และทดลองภาคสนาม 100 คน ผลการวิจัย บทเรียนแบบโปรแกรมวิชาสังคมศึกษาเรื่อง “การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร” มีประสิทธิภาพ 98.80/90.50 หมายความว่า นักเรียนโดยเฉลี่ยเรียนบทเรียนได้สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด และทำแบบสอบหลังบทเรียนได้พอดีกับมาตรฐานที่ตั้งไว้ และเมื่อนักเรียนเรียนบทเรียนโปรแกรมเรื่อง “การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร” แล้วนักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่า นักเรียนเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมนี้แล้วมีความรู้เพิ่มขึ้น
Other Abstract: The purpose of this research was to construct a Programmed Lesson on “Election of Members of the House of Representatives” for Prathom Suksa Five and to find out the effectiveness of this Programmed Lesson on the 90/90 standard. The Social Studies Programmed Lesson “Election of Members of the House of Representatives” for Prathom Suksa Five, consisted of 372 frames and fifty test items. The samples for the experiment were hundred students in Prathom Suksa Four of Suan Anun School, Dhonburi. The effectiveness of the Programmed Lesson on “Election of Members of the House of Representatives” is 98.80/90.5. This means that the students everage score is 98.80 percent on answering the question in Programmed Lesson and the average score of the post test is 90.5 percent. The effectiveness of this Programmed Lesson is higher than the 90/90 standard. The the arithmetic means ( ) of the pre-test and the post-test is significantly different at the level of .01. This shows that the Programmed Lesson has improved the knowledge of the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23552
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songsri_Ne_front.pdf414.29 kBAdobe PDFView/Open
Songsri_Ne_ch1.pdf815.76 kBAdobe PDFView/Open
Songsri_Ne_ch2.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Songsri_Ne_ch3.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Songsri_Ne_ch4.pdf407.72 kBAdobe PDFView/Open
Songsri_Ne_ch5.pdf338.61 kBAdobe PDFView/Open
Songsri_Ne_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.