Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23576
Title: ศึกษาการใช้พรีฟิลเตอร์เพื่อลดปริมาณแอลจีในน้ำ ก่อนเข้าสู่ถังทรายกรองเร็ว
Other Titles: A study of prefilter to reduce algal populations for a rapid sand filter
Authors: ทนงศักดิ์ เลิศวงศ์คณากูล
Advisors: สุดใจ จำปา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการนำน้ำดิบที่มีแอลจีอยู่ในปริมาณมากมายผลิตเป็นน้ำประปาจะสร้างปัญหาต่อระบบผลิตน้ำ เช่น การอุดตันของถังทรายกรองเร็ว ในการศึกษาครั้งนี้ใช้พรีฟิลเตอร์ เพื่อลดปริมาณแอลจีก่อนนำน้ำเข้าสู่ถังทรายกรองเร็ว โดยใช้ระบบผลิตน้ำประปาต้นแบบที่เขื่อนศรีนครินทร์ พรีฟิลเตอร์ที่ใช้เป็นแบบให้น้ำไหลผ่านในแนวระนาบและใช้กรดเป็นสารกรอง ถังพรีฟิลเตอร์ที่ใช้มีขนาด 3.0×5.4×0.8 ม. โดยใส่กรวดสูง 0.5 ม. และแบ่งถังออกเป็น 3 ส่วนย่อย ขนาด 3×1.8×0.8 ม. แต่ละส่วนใส่กรวดขนาดต่างๆ และมีอัตราการไหลดังนี้ ส่วนที่ 1 ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. ตลอดทั้งถังมีอัตราการไหล 5.6 ม3./ชม. ส่วนที่ 2 ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. และ 4-12 มม. ร่วมกัน มีอัตราการไหล 5.6 ม3./ชม. ส่วนที่ 3 ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. และ 4-12 มม. ร่วมกัน มีอัตราการไหล 3.6 ม3./ชม. การศึกษาได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพการขจัดแอลจีในน้ำโดยวัดปริมาณในรูปของคลอโรฟิลล์ เอ. การขจัดความขุ่น การขจัดโคไลฟอร์บักเตรี ค่าระดับน้ำสูญเสีย และลักษณะสมบัติของน้ำที่ผ่านพรีฟิลเตอร์แต่ละส่วน นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งาน การบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของระบบด้วย จากการวิจัยได้ผลสรุปดังนี้ 1. ประสิทธิภาพในการลดปริมาณแอลจีของพรีฟิลเตอร์แต่ละส่วน มีค่าสูงสุดดังนี้คือ 80% 76% และ 78% ตามลำดับ โดยพรีฟิลเตอร์ส่วนที่ 1 มีประสิทธิภาพสูงสุด 2. การลดปริมาณแอลจีในน้ำ ใช้กรวดขนาด 9-20 มม. ตลอดทั้งถังจะเหมาะสมกว่าการใช้กรวขนาด 9-20 มม. และ 4-12 มม. ร่วมกันในถังพรีฟิลเตอร์ 3. การกำจัดความขุ่นของพรีฟิลเตอร์ทั้งสามส่วน มีค่าเฉลี่ยดังนี้คือ 31% 29% และ 34% ตามลำดับ พรีฟิลเตอร์ส่วนที่ 3 มีประสิทธิภาพสูงสุด 4. การกำจัดโคไลฟอร์มบักเตรีของพรีฟิลเตอร์มีประสิทธิภาพเฉลี่ยดังนี้ 58% 57% และ 56% ตามลำดับ อาจกล่าวได้ว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดโคไลฟอร์มบักเตรีใกล้เคียงกันคือ อยู่ในช่วง 56-58% 5. พรีฟิลเตอร์ส่วนที่ 2 มีแนวโน้มที่จะอุดตันก่อน สำหรับส่วนที่ 1 และส่วนที่ 3 มีค่าระดับน้ำสูญเสียใกล้เคียงกัน ส่วนที่ 1 มีค่าระดับน้ำสูญเสียสูงกว่าส่วนที่ 3 เล็กน้อย 6. ลักษณะสมบัติของน้ำโดยทั่วไปที่ผ่านพรีฟิลเตอร์มีค่าไม่เปลี่ยนแปลงนักนอกจากมีค่าพีเอช เหล็ก ลดลงเล็กน้อย สำหรับออกซิเจนละลายในบางช่วงมีค่าลดลงจนเห็นได้ชัด
Other Abstract: The prolific growths of algal in surface water causes many problems to water treatment plant, such as filter clogging. In this study, in order to reduce the problem mentioned above, a prefilter prior to a rapid sand filtration was applied in order to reduce algal populations and turbidity. The pilot plant for the study is at Srinakarind Dam, Kanchanaburi Province, about 200 km. from Bangkok. The prefilter was a horizontal flow type with gravel as filtering media. The dimension was 3.0×5.4×0.8 m. with 0.5 m filter media depth. The prefilter was divided into . compartmente with a dimension of .03×1.9×0.8 m. each. The first compartment was packed with gravel size 9-20 mm. while the other two were with gravel size 9-20 mm. and 4-12mm. The flow rate applied to the first and the second compartments was 5.6 m3./hr. but the third one was 3.6 m3./hr. The purpose of the study aimed on the efficiency of removal of algal populations in term of Cholorophyll., turbidity and Coliform bacteria. Also studied on head loss and characteristics of water after passing through each compartment of prefilter. Besides, the first cost, operation and maintenance costs were evaluated. The results of the study can be concluded as follows: 1. The maximum removal efficiency of algal population of each compartment in the prefilter was 80%, 76%, and 78% respectively. The first one had the highest efficiency. 2. Size of gravel range from 9-20 mm. was suitable than the mixed gravel media with 9-20 mm. and 4-12 mm. size, considering in term of algal population reduction. 3. The average of turbidity removal efficiency in each compartment was 31%, 29% and 34% respectively. The third compartment had slightly higher efficiency than the other two. 4. The average values of coliform bacteria removal efficiency from 3 compartments were 58, 57% and 56% respectively. The efficiency showed slightly different. 5. The tendency of prefilter run of the second compartment was shorter than the others. The head loss of the first and the third compartments was very closed, the first one was a little higher. 6. Water characteristics in general were not so different after passing through prefilter except the value of pH and iron were slightly decreased but D.O. sometimes was decreased obviously.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสุขาภิบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23576
ISSN: 9745645884
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tanongsak_Le_front.pdf529.64 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch1.pdf501.26 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch2.pdf427.37 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch3.pdf390.36 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch4.pdf556.61 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch5.pdf663.17 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch6.pdf274.54 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_ch7.pdf230.58 kBAdobe PDFView/Open
Tanongsak_Le_back.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.