Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23634
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพินธ์ ชาติอัปสร-
dc.contributor.authorภาวิณี ช้อยสุนิรชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-09T18:25:20Z-
dc.date.available2012-11-09T18:25:20Z-
dc.date.issued2526-
dc.identifier.isbn9745625345-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23634-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526en
dc.description.abstractภายใต้ภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบัน ภาวะเงินเฟ้อทั่วๆ ไปและการเปลี่ยนแปลงในราคาของสินทรัพย์เฉพาะอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ใช้งบการเงินไม่อาจแน่ใจว่างบการเงินซึ่งจัดทำตามวิธีการบัญชีระบบต้นทุนในอดีตสามารถแสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการที่แท้จริงตามสภาพเศรษฐกิจ และอาจเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้งบการเงินเท่าที่ควร ดังนั้น นักบัญชีจึงให้ความสนใจและพยายามหาวิธีการบัญชีที่จะสามารถสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในราคาเพื่อเปิดเผยข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน วิธีการบัญชีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคามีอยู่หลายวิธีในปัจจุบัน วิธีที่รู้จักกันแพร่หลาย ได้แก่ วิธีการบัญชีระบบเงินคงที่ และวิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบัน ซึ่งมีการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาทั่วไปหรือการเปลี่ยนแปลงในราคาสินทรัพย์เฉพาะอย่างเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น อันนับได้เป็นจุดอ่อนที่สำคัญของแต่ละวิธีการบัญชี ดังนั้น จึงมีนักบัญชีเสนอแนะให้นำวิธีการบัญชีระบบเงินคงที่และวิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบันมาใช้ร่วมกัน คือ วิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบันระบบเงินคงที่ ซึ่งเป็นวิธีการบัญชีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคาที่พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาทั่วไปและการเปลี่ยนแปลงในราคาสินทรัพย์เฉพาะอย่าง ลักษณะสำคัญของวิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบันระบบเงินคงที่ก็คือ การจัดทำงานการเงินด้วยราคาทุนปัจจุบันที่ปรับตามอำนาจซื้อทั่วไปของเงินตรา โดยอาศัยดัชนีราคาทั่วไปเป็นตัวปรับ ทั้งนี้จะแสดงให้ทราบถึงกำไรหรือขาดทุนในอำนาจซื้อทั่วไปของรายการที่เป็นตัวเงิน และการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในราคาทุนปัจจุบันของคงคลังทรัพย์สิน โรงงาน และอุปกรณ์ ซึ่งคำนึงถึงภาวะเงินเฟ้อแล้ว โดยถือเป็นเพียงงบประกอบงบการเงินเบื้องต้นที่จัดทำด้วยวิธีการบัญชีระบบต้นทุนในอดีต ในประเทศสหรัฐอเมริกา คณะกรรมการมาตรฐานบัญชีการเงินได้ออกแถลงการณ์มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 เรื่อง การรายงานทางการเงินกับการเปลี่ยนแปลงในราคา เมื่อเดือนกันยายน 1979 กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลเป็นรายการประกอบงบการเงินเบื้องต้นโดยแสดงข้อมูลประกอบ 2 ชุด ชุดหนึ่งแสดงถึงผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อทั่วๆ ไป อีกชุดหนึ่งแสดงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในราคาของทรัพยากรที่ใช้ในกิจการ ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการในด้านข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในราคา แม้ว่าแถลงการณ์ฉบับนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้สำหรับปีการเงินสิ้นสุด ณ หรือหลังวันที่ 25 ธันวาคม 1979 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคตเพื่อหาวิธีการบัญชีที่เหมาะสมที่สุด สำหรับประเทศไทย นักบัญชีเพิ่งเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับวิธีการบัญชีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคา สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยได้ออกร่างแถลงการณ์มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง การแสดงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงราคาในรายงานการเงิน เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2525 ซึ่งได้อ้างอิงแถลงการณ์มาตรฐานบัญชีการเงิน ฉบับที่ 33 ของคณะกรรมการมาตรฐานบัญชีการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างไรก็ตามร่างแถลงการณ์ ฉบับที่ 28 นี้ ยังเป็นเพียงการเสนอแนะเท่านั้น อนึ่ง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงความรู้ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการบัญชี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคา หลักทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีและขั้นตอนของการคำนวณ โดยเน้นเกี่ยวกับวิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบันระบบเงินคงที่และการเสนอข้อมูลประกอบตามข้อกำหนดของแถลงการณ์มาตรฐานบัญชีการเงิน ฉบับที่ 33 ดังกล่าว จากการศึกษาทำให้ทราบเกี่ยวกับข้อคิดเห็นในด้านประโยชน์และการปฏิบัติตามข้อกำหนดของแถลงการณ์ ฉบับที่ 33 ในประเทศสหรัฐอเมริกา อันเป็นผลจากการทดลองปฏิบัติมาแล้ว 2 ปี (ตั้งแต่ปี 1979 - 1980) ปรากฏส่วนใหญ่ต้องการเลือกแสดงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในราคาโดยอาศัยวิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบันตามข้อเสนอของแถลงการณ์ ฉบับที่ 33 นอกจากนี้จากการศึกษาทำให้ทราบถึงอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับการบัญชี เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคาสำหรับประเทศไทย อันเป็นผลสืบเนื่องจากผู้ใช้งบการเงินมีจำนวนจำกัดประกอบกับการขาดความรู้ความเข้าใจในวิธีการบัญชีและข้อจำกัดทางด้านกฎหมายภาษีอากร ฉะนั้น ถ้าอุปสรรคเหล่านี้ได้รับการแก้ไขย่อมเป็นผลดีต่อการพัฒนาทางการบัญชีสำหรับประเทศไทย ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางในการศึกษากันต่อไปอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวิธีการบัญชีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการบัญชีระบบราคาทุนปัจจุบันระบบเงินคงที่ และเป็นแนวทางในการรายงานผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในราคาที่มีต่อธุรกิจในประเทศไทย-
dc.description.abstractalternativeUnder present economic situation, both general inflation and changes in the prices of certain specific types of assets frequently occur and have a strong tendency to increase. These have caused doubts among the users of financial statements whether the financial statements, based on historical cost accounting, can still present an enterprise’s financial position and the operation results according to the prevailing economic condition Failure in such respect may render financial statements useless to its users. Therefore, accountants have become much concerned and tried to find an accounting method which can reflect the price changes, in order to disclose more effective data to financial statement users. Nowadays there are several accounting methods for price changes and the most well-known ones are. Constant Dollar Accounting (or General Price-Level Accounting.) and Current Cost Accounting, which take into consideration either general price changes or specific price changes which is the main weak point of both the above mentioned accounting methods. Therefore, a number of accountants have recommended the combination of Constant Dollar Accounting with Current Cost Accounting, that is Current Cost/Constant Dollar Accounting, which takes into consideration both the general price changes and specific price changes. An-important feature of Current Cost/Constant Dollar Accounting is that a supplement to the historical cost financial statements will be prepared showing current cost, adjusted to the general purchasing power of money by using a general price index. Hence, the general purchaing power gain or loss on net monetary items will be reported as well as the increases or decreases ไท current cost amounts, of inventory and property, plant and equipment, net of inflation. In the United States of America , the Financial Accounting Standard Board issued the statement of Financial Accounting Standards No. 33, " Financial Reporting and Changing Prices" in September 1979, That Statement requires additional information to be presented as supplementary to the primary financial statements. It calls for two supplementaries, one dealing with the effect of general inflation, the other dealing with the effects of changes in the price of resources used by the enterprise. This statement was to meet an urgent need of information on the effects: of changing prices although it became effective for fiscal years ended on or after December 25, 1979. However, further research is still required to find out the most suitable and useful accounting methods. In Thailand, accountants have also been Interested in accounting for price changes:. The Institute of Certified Accountants and Auditors of Thailand Issued the Exposure Draft No. 28, "Reporting about the Effect of Price Changing in Financial statement'1 in January 30, 1982, which referred to the SFAS No. 33. However, this exposure draft is still .In an introductory stage. The contents of this Thesis cover the study of basic knowledge of accounting for price changes as well as the theoretical and practical sides of financial disclosure. This Thesis concentrates on the Current Cost/Constant Dollar Accounting practice and the requirement for supple¬mentary information by SFAS No. 33. Two Years after the statement became effective, a survey was made concerning the viewpoints of certain companies who had to conform to the requirement of the statement. The result of the survey revealed that the majority preferred the current cost method of reporting the effects of changing price in a supplementary statement. In Thailand, the major obstacles to the development of accounting concepts on price changes seem to be due to the limited number of financial statement users, the lack of knowledge and understanding in the concept and practice of accounting for price changes and income tax law based on historical cost data. It is the author’ร hope that this thesis will serve as a guideline for further more intensive study and research on accounting for price changes, especially the Current Cost/Constant Dollar Accounting method.-
dc.format.extent768705 bytes-
dc.format.extent549341 bytes-
dc.format.extent1391299 bytes-
dc.format.extent1267696 bytes-
dc.format.extent4029702 bytes-
dc.format.extent2180347 bytes-
dc.format.extent1096668 bytes-
dc.format.extent1161719 bytes-
dc.format.extent597119 bytes-
dc.format.extent1869668 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectราคา-
dc.subjectการบัญชีต้นทุน-
dc.subjectการบัญชี-
dc.subjectงบการเงิน-
dc.subjectPrices-
dc.subjectCost accounting-
dc.subjectAccounting-
dc.subjectFinancial statements-
dc.titleการบัญชีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในราคา-โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลง ในระดับราคาทั่วไปและการเปลี่ยนแปลงในราคาสินทรัพย์เฉพาะอย่างen
dc.title.alternativeAccounting for price changes-a consideration of general price level and specific price changesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavinee_Ch_front.pdf750.69 kBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch1.pdf536.47 kBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch2.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch3.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch4.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch5.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch6.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch7.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_ch8.pdf583.12 kBAdobe PDFView/Open
Pavinee_Ch_back.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.