Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23649
Title: การเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า ที่มีรูปแบบคำตอบแตกต่างกัน
Other Titles: A comparison of reliabilities of rating scale questionnaire with different response formats
Authors: มัลลิกา ยุวนะเตมีย์
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แบบสอบถาม
การวัดผลทางการศึกษา
Questionnaires
Educational tests and measurements
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบถามประเภท มาตราส่วนประมาณค่า ที่มีรูปแบบคำตอบแตกต่างกัน 6 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 เป็นตัวอักษร, รูปแบบที่ 2 เป็นรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ, รูปแบบที่ 3 เป็นแบบบรรยาย, รูปแบบ ที่ 4 เป็นแบบตัวเลขที่กำหนดให้ 5 หมายถึงมากที่สุด จนถึง 1 หมายถึงน้อยที่สุด, รูปแบบ ที่ 5 เป็นแบบตัวเลข เช่นกัน แต่ให้ 1 หมายถึงมากที่สุด จนถึง 5 หมายถึงน้อยที่สุด, และรูปแบบที่ 6 เป็นแบบกราฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 624 คน จากโรงเรียนสหศึกษา ในสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า 2 ฉบับ คือ แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของครู และแบบสำรวจนิสัยและทัศนคติในการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความเที่ยงแบบสอบซ้ำด้วยสูตรสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าความเที่ยงด้วยการทดสอบไคสแควร์ และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยอัตราส่วนซี ผลการวิจัยพบว่า ความเที่ยงของแบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูที่มีรูปแบบคำตอบแตกต่างกัน 6 รูปแบบ ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 ส่วนแบบสำรวจนิสัยและทัศนคติใน การเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีรูปแบบคำตอบแตกต่างกัน 6 รูปแบบ พบว่ารูปแบบกราฟิกให้ค่าความเที่ยงสูงสุดและมีค่าความเที่ยงสูงกว่ารูปแบบอื่นๆทุกรูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare the reliabilities of rating scale questionnaires with six different response formats : 1. letter scale, 2. square scale, 3.descrip¬tive scale, 4. numerical scale with 5 for very high to 1 for very low, 5. numerical scale with 1 for very high to 5 for very low and 6. graphic scale. The sample included 624 Mathayom Suksa Five students from four public secondary schools in Bangkok. The Evaluation of Teaching Efficiency and The Survey of study Habit and Attitudes were two rating scales questionnaires which used in this research. The test - retest reliability of the scales of each format was estimated by the Pearson Product Moment Correlation Coefficient. A comparison of the reliability coefficients Was done by using the chi - square test and the Fisher's z test. Results indicated that no significant differences were found in the reliabilities among the six response formats of the Evaluation of Teaching Efficiency. For the Surway of study Habit and Attitude, the graphic rating scale had the highest reliability and was significantly different from each of response format at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23649
ISBN: 9745645966
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mallika_Yu_front.pdf404.88 kBAdobe PDFView/Open
Mallika_Yu_ch1.pdf550.41 kBAdobe PDFView/Open
Mallika_Yu_ch2.pdf799.67 kBAdobe PDFView/Open
Mallika_Yu_ch3.pdf398.52 kBAdobe PDFView/Open
Mallika_Yu_ch4.pdf354.38 kBAdobe PDFView/Open
Mallika_Yu_ch5.pdf381.37 kBAdobe PDFView/Open
Mallika_Yu_back.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.