Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2364
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorศักดา เชี่ยวนันทวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-09-06T02:18:58Z-
dc.date.available2006-09-06T02:18:58Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741765126-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2364-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์สำคัญของการทำวิจัยครั้งนี้ คือการหารูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารบ้านแถวที่มีสภาวะน่าสบายเหมาะกับการอยู่อาศัยและมีการใชัพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อมของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ได้แยกการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการสำรวจ, ประเมินและวิเคราะห์ทางด้านสภาวะน่าสบายภายในอาคาร เช่น เรื่องอุณหภูมิ, ความชื้น และแสงสว่างธรรมชาติภายใน และทางด้านการใช้พลังงานภายในอาคาร โดยทำการจำลองอาคารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาใช้เป็นตัวแทนของอาคารกรณีศึกษา เพื่อใช้ประเมินผลสภาวะน่าสบาย และการใช้พลังงานในอาคาร ส่วนที่สองเป็นการพิจารณาหาแนวทางการปรับปรุงองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคาร เพื่อหาแนวทางการออกแบบบ้านแถวที่ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัย พบว่าอาคารกรณีศึกษานี้มีระบบเปลือกอาคาร เช่น ผนังทึบ กระจกหน้าต่าง และวัสดุมุงหลังคา ที่มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพไม่เพียงพอในการต้านทานความร้อนจากภายนอก จึงทำให้ความร้อนจากภายนอกผ่านสามารถเข้ามาภายในอาคารได้มาก ซึ่งจะทำให้สภาวะน่าสบายภายในอาคารลดลงและทำให้การใชัพลังงานไฟฟ้าเพื่อทำความเย็นภายในอาคารมากขึ้น สำหรับการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบแสงสว่างจัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดไว้โดยยังมีค่าความส่องสว่างที่เหมาะสมกับการใช้งาน จากการศึกษาสามารถสรุปแนวทางการออกแบบบ้านแถวเพื่อสภาวะน่าสบายและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ 2 ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรกเป็นการออกแบบบ้านแถวเพื่อสร้างสภาวะน่าสบายในพื้นที่ที่ปรับอากาศด้วยวิธีธรรมชาติโดยจะมีแนวทางการออกแบบ 3 วิธี คือ การระบายอากาศในตอนกลางคืน การติดตั้งฉนวนกับความร้อนให้กับผนังทึบ และการติดตั้งแผงกันแดดภายนอกอาคาร ซึ่งจะช่วยเพิ่มระดับสภาวะน่าสบายภายในอาคารให้มากกว่าอาคารก่อนปรับปรุงประมาณ 10% ส่วนที่สองเป็นการออกแบบบ้านแถวเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่ที่ปรับอากาศด้วยระบบเครื่องกลโดยจะมีแนวทางการออกแบบ คือ การใช้กระจกสองชั้น ซึ่งจะทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารลดลงน้อยกว่าอาคารก่อนปรับปรุงประมาณ 17%en
dc.description.abstractalternativeThe aim of this study is to research an ideal architectural design for housing with an ambient environment and efficient use of energy in Thailand. The study is divided into 2 parts. The first dealt with survey, assessment and analysis of internal ambient environment such as temperature, humidity and natural internal light and internal use of energy. A building model on computer is used as a case study to assess the ambient environment and the use of energy. From this analysis, guidelines are proposed for improving architectural elements to be used in designing a townhouse using energy efficiently. It was found that the building envelope of the model, including walls, glass windows and roofing materials, could not resist external heat. As a result, a lot of heat penetrated into the building, reducing the ambient environment. In addition, more energy was used for internal cooling. The energy used for the lighting system was in line with the standard required by law and the lighting served its purpose. The guidelines for designing an ideal townhouse with ambient environment and efficient use of energy can be divided into 2 parts. The first part covers designing a townhouse with an ambient environment provided through natural air conditioning. This can be done in 3 ways: air ventilation at night, installation of insulation in walls and installation of shades outside the building. The 3 methods will increase the ambient environment level inside the building by 10%. The second part covers designing an energy - efficient townhouse with air-conditioning by installing double glass panes, resulting in a reduction in the use of energy by 17%.en
dc.format.extent5086450 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.361-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการใช้พลังงานen
dc.subjectการอนุรักษ์พลังงานen
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้างen
dc.subjectสถาปัตยกรรมกับการอนุรักษ์พลังงานen
dc.titleการออกแบบบ้านแถวเพื่อใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพen
dc.title.alternativeTownhouse design with energy efficiencyen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.361-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SakdaC.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.